Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2557
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
13 มิถุนายน 2557

การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง : พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (3)


IMG_1083


เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2557 ได้มีโอกาสไปฟังเรื่องจิตรกรรมฝีมือช่างวังหน้า
อ. สันติ เล็กสุขุมได้เพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า มีภาพหลายภาพที่คงเขียนขึ้น
ในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 ถึงต้นรัชกาลที่ 4 โดยเทียบจากการใช้สี
เมื่อนำไปเทียบกับภาพที่ทราบแน่ว่าเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1

ที่ยังคงอยู่มาถึงในปัจจุบัน ที่วัดราชสิทธาราม หอไตรวัดระฆัง
และบางส่วนของจิตรกรรมฝาผนังบนพระที่นั่งในบรมมหาราชวัง
ที่มีการใช้เส้นสินเทาเป็นตัวแบ่งภาพตามแบบอยุธยา
การใช้สีโทนอ่อนบางเบา ซึ่งแตกต่างไปจากสมัยปลายรัชกาลที่สาม
ที่เขียนภาพแบบตะวันตก ท้องฟ้าที่เห็นเป็นสีฟ้า พื้นดินที่เห็นเป็นสีคล้ำ

ส่วนตัวผมนั้นมีวิธีดูง่ายๆ ที่ยังไม่มีใครกล่าวถึงเพราะมันง่ายแสนง่าย
ก็คือการดูภาพกองทหารที่มักจะเขียนไว้เติมเติมช่องว่างในภาพนั่นเอง
ซึ่งที่พบเห็นนั้นมีการแต่งกายแบบตะวันตกซึ่งเป็นที่แน่นนอนว่า
ต้องเป็นการรับรู้โดยทั่วไปของครูช่างในสมัยต้นรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา

อ. สันติ เล็กสุขุมได้ความรู้เพิ่มเติมว่า เทพชุมนุมที่นี่นั้นแตกต่างไปที่อื่นๆ
เพราะความตั้งใจของกรมพระราชวงบวรๆ นั้นคือใช้เป็นสถานที่ประดิษฐาน
พระพุทธสิหิงค์ ส่วนแตกต่างกันอย่างไรนั้น แต่ท่านไม่ได้อธิบายเพิ่มเติม


Untitled


อีกจุดที่แตกต่างคือภาพพุทธประวัติ ที่โดยปรกติจะสัมพันธ์กับพระประธาน
ที่นี่จึงไม่มีภาพไตรภูมิหรือเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่ด้านหลัง
และภาพมารผจญที่อยู่ตรงหน้าพระประธานก็ถูกเขียนรวมเป็นเพียงตอนหนึ่ง
ของพุทธประวัติที่อยู่รวมกับภาพจิตรกรรมฝาผนังข้างช่องหน้าต่างเท่านั้น

การไปชมงานช่างฝีมือวังหน้ากับ อ. สันติ เล็กสุขุมก็ไม่ได้มีเวลามากนัก
ผมใช้เวลาไปกับการถ่ายภาพซ่อมที่เอาของเก่ามาดูแล้วยังงงๆ
เมื่อกลับไปดูอีกครั้งก็แก้ไขความสงสัยไปส่วน
เพราะบางภาพนั้นเจ้าหน้าที่วางคำบรรยายไว้ผิดที่

บางรูปนั้นก็อยู่ที่รักแร้ประตูโดยไม่มีป้ายคำอธิบาย
แต่อย่างไรก็ตามก็ได้ไปร่วมครั้งนี้ก็ได้ข้อคิดดีๆ กลับมาว่า
ไม่ควรเชื่อคำบรรยายไปเสียทั้งหมด ที่สำคัญควรไปอ่านหนังสือเพิ่มเติม
เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าเหตุใด แต่ละภาพช่างจึงจินตนาการไว้เช่นนั้น

และเราจะมาเริ่มต้นกันในบล็อกถัดไป
แต่ก่อนอื่นใดเรามารู้จักพุทธประวัติกันก่อนดีกว่า

หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วก็ได้มีการ
บันทึกเรื่องราวและคำสอนต่างๆ เกิดมาเป็นสิ่งที่เรียกว่าพระไตรปิฏก
และพุทธประวัตินั้นเป็นเพียงเศษเสี้ยวเดียวที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์นั้น
โดยเฉพาะหมวดพระวินัยปิฏก พระสุตตันปิฏกในลักษณะที่ไม่ต่อเนื่อง


Untitled


คัมภีร์ที่กล่าวถึงพุทธประวัติที่สำคัญนั้นเขียนในอินเดียเริ่มตั้งแต่
ราวพุทธศตวรรษที่ 5-8 เช่น พุทธจริตที่กล่าวถึงตอนประสูติถึงแบ่งพระธาตุ
ลลิตวิสตระ ที่กล่าวถึงตอนประบนสวรรค์ชั้นดุสิตถึงปฐมเทศนา
ต่อมาศาสนาพุทธในอินเดียก็เสื่อมทรามลง

ลังกาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาผ่านอินเดียตอนใต้
ราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 ก็ได้มีการเขียนคัมภีร์นิทานกถา
กล่าวถึงตั้งแต่สุเมธดาบส จนถึงสังคายนาพระไตรปิฏก

สยามในช่วงแกนั้นรับพุทธประวัติผ่านมาทางล้านนา
คัมภีร์แรกนั้นคือสมภารวิบากเขียนขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19
กล่าวถึงตอนพุทธพยากรณ์ถึงตอนปรินิพพาน
ส่วนอยุธยามีคัมภีร์สัมปิณฑิตแต่งขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22

แต่ที่รู้จักกันดีในหมู่คนไทยคือคัมภีร์ที่แต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์
ปฐมสมโพธิ์โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ซึ่งเป็นการรวบรวมเรื่องราวในคัมภีร์โบราณทั้งหมดมาแต่งขึ้นใหม่
เพื่อให้เนื้อหานั้นไล่เรียงตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนต่อมาสิ้นสุดใน 5000 ปี


Untitled


ดังนั้นสิ่งที่ช่างเขียนนั้นอาจจะไม่ตรงกับความเข้าใจเราทั้งหมด
เพราะปฐมสมโพธิ์ที่เรารู้จักแต่งขึ้นหลังจากเขียนจิตรกรรมราว 100 ปี
ซึ่งโดยรวมของเนื้อหานั้นไม่ได้มีความแตกต่างจากที่เรารับรู้ไปมาก
มีเพียงจุดเล็กๆ เท่านั้นที่เราต้องอ้างอิงไปยังคัมภีร์ที่เก่ากว่านั่นเอง

ภาพจิตรกรรมที่เราเห็นทั้งหมดเป็นเพียงเสี้ยวเศษของพุทธประวัติเท่านั้น
เพราะหากจะพูดถึงเรื่องนี้อย่างสมบูรณ์มันคงจะยืดยาวมากทีเดียว
จากชายหนุ่มผู้หนึ่งที่ได้ทำความดีอย่างที่สุดเป็นเวลาหลายภพหลายชาติ
และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ได้ถึงซึ่งพุทธภูมิ จนกระทั่งได้พบพระพุทธเจ้า

ซึ่งไม่ใช่เพียงพระองค์เดียวแต่ในอดีตนั้นมีพระพุทธเจ้ามากมายหลายพระองค์
ได้กล่าววาจาเพื่ออธิษฐานต่อหน้าจนกระทั่งได้รับพุทธพยากรณ์ในที่สุด
ชายหนุ่มยังต้องไปเกิดเพื่อทำความดีและได้รับพุทธพยากรณ์นี้วนเวียนไป
จนกระทั่งทำความดีจนถึงขนาด ที่เรามักจะรู้จักกันใน 10 พระชาติสุดท้าย

ในที่สุดชายหนุ่มนั้นหรือจะเรียกกันว่าพระโพธิสัตว์จึงจะได้ขึ้นไปประทับ
ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อรอเวลาการจุติมาเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อโปรดมนุษย์
และเรื่องราวทั้งหมดในจิตรกรรมของพระที่นั่งพุทไธสวรรค์เริ่มกันตรงจุดนี้



Create Date : 13 มิถุนายน 2557
Last Update : 10 กรกฎาคม 2557 16:48:36 น. 3 comments
Counter : 2952 Pageviews.  

 
จิตรกรรมฝาผนังสวยงามมากๆ เลยนะคะที่นี่


โดย: อุ้มสี วันที่: 13 มิถุนายน 2557 เวลา:13:55:41 น.  

 
ขอบคุณค่ะ ดูรู้เรื่องเลยค่ะคราวนี้


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 13 มิถุนายน 2557 เวลา:14:10:45 น.  

 
เคยคิดว่าน่าจะดูรู้เรื่อง พุทธประวัติ น่าจะพอเข้าใจได้ พอไปเห็นก็ยังงงล่ะค่ะ เพราะแบ่งเป็นห้องแล้ว ยังมีจากแนวบนลงล่างอีก


ขอบคุณค่ะ

*** ปลาย่างแห้งค่ะ อยู่บนตุ่ม เค้าอังไฟหรือไงไม่แน่ใจค่ะ

หนูชอบต้นตาล ชอบมากกว่ามะพร้าว ดูแล้วสบายตาทุกครั้ง ยิ่งมีทุ่งข้าวเขียวๆ อยู่ด้วยยิ่งชอบ จริงๆ ไม่มีอะไรกับเพชรนะคะ แต่ ผ่านทีไร ถ้าถ่ายรูปได้ เก็บกลับมาทุกรอบค่ะ จะมีบางช่วง สวยๆ เป็นดง แต่ติดสายไฟก็ไม่เอา

ภาพหน้าบัน พยายามเก็บกลับมาก่อนค่ะ ไม่ได้ทำการบ้านก่อนไป หลายที่ก็เป็นแบบนี้ ณ ตรงนั้นเลยพยายามเก็บภาพที่คิดว่าสำคัญมาให้เยอะที่สุด แล้วค่อยมาทำความเข้าใจ คงอีกนานล่ะค่ะ กว่าจะได้ไปอีกรอบ

เพื่อนหนูทำทัวร์อยู่แถวนี้ เธอบอกว่า ปราสาทหินพนมรุ้งบ้านเราสวยกว่า เขาพระวิหารตั้งเยอะ ก็ไม่เคยไป ก็อยากไปเนาะ สวยไม่สวยก็อยากเห็น แต่ตอนนี้คงไม่ได้แล้วมังคะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 13 มิถุนายน 2557 เวลา:17:30:43 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]