Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2557
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
11 มิถุนายน 2557

การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง : พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (2)

Untitled


สิ่งต่อไปที่กล่าวถึงก็คือเมื่อมีโอกาสเข้าไปใกล้ชิดกับจิตรกรรมขนาดนั้น
จึงเกิดความพยายามที่จะถอดปริศนาว่าภาพนั้นถูกเขียนขึ้นมาในสมัยใด

เป็นที่รู้กันดีว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์นั้นสร้างโดยกรมพระราชวังบวรฯ
เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ที่ได้อัญเชิญมาแต่เมืองเชียงใหม่
หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่าคือหอพระของวังหน้านั่นเอง
โดยในอดีตนั้นพระที่นั่งองค์นี้เรียกว่า พระที่นั่งสุทธาสวรรย์

เพื่อให้นามนั้นคล้องจองกับพระที่นั่งองค์อื่นๆ ได้แก่ ศิวโมกวิมาน
พิมานดุสิตตา สุทธาสวรรย์ วสันตพิมาน วายุสถานอมเรศ พรหมเมศรังสรรค์

โดยมีจิตรกรรมฝาผนังภายในแบ่งเป็นด้านบนโดยรอบเขียนเทพชุมนุม
ผนังช่องว่างระหว่างหน้าต่าง เขียนพุทธประวัติ เป็นที่รู้กันดีว่าเมื่อ
กรมพระราชวังบวรเสด็จทิวงคต ข้าราชการก็จะย้ายกลับไปสังกัดวังหลวง
พระราชวังจึงถูกทิ้งร้างลงจนถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ

ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมพระราชวังศักดิพลเสพมหาศักดิพลเสพ
พระองค์ได้เสด็จมาประทับที่วังในสภาพที่เสื่อมโทรมจนต้องบูรณะครั้งใหญ่
สิ่งที่ยังหลงเหลือมาให้เห็นได้ในปัจจุบันก็คือการยกหลังคาขึ้นเป็นชั้นคอสอง
เอกลักลักษณ์ที่โดดเด่นของศิลปะที่จะยังคงพบได้อีกที่วัดบวรนิเวศ และวัดโพธิ์

การทำเช่นนี้หมายถึงว่าต้องมีการรื้อซ่อมหลังคาครั้งใหญ่ เมื่อด้านบนเปิดโล่ง
จึงเกิดคำถามว่า จะเป็นการทำลายจิตรกรรมก่อนหน้าไปจนหมดสิ้นหรือไม่
คำตอบนั้น ครู น ณ ปากน้ำได้เขียนไว้ว่าปัจจุบันยังพอจะเหลือฝีมือช่างยุคแรก
อยู่บ้างในภาพพุทธประวัติระหว่างช่องหน้าต่างบนผนังทางทิศใต้


Untitled


ดังนั้นโดยรวมเกือบทั้งหมดที่เราเห็นในปัจจุบันล้วนถูกเขียนขึ้นในรัชกาลที่ 3
หากจะเพ่งพิเคราะห์ให้ดี จะเห็นความแตกต่างไปจากภาพในสมัยรัชกาลที่ 1

การเขียนภาพในสมัยแรกนั้นยังคงเป็นคติที่สืบทอดมาจากช่วงกรุงศรีอยุธยา
มีการใช้เส้นสินเทาเป็นตัวแบ่งเหตุการณ์ในภาพ สีที่ใช้ก็ออกไปในโทนเข้ม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีแดง ภาพนั้นก็เขียนออกมาเรียบๆ แบบ 2 มิติ
ไม่มีระยะใกล้ไกล การเขียนต้นไม้ก็จะใช้วิธีการเขียนทีละใบขึ้นมา

กล่าวได้ว่าความงามในสมัยรัชกาลที่ 1 คือ ความคมชัด โดดเด่นตรงไปตรงมา
ในขณะที่งานสมัยรัชกาลที่ 3 เริ่มได้รับอิทธิพลจากตะวันตกค่อนข้างมาก
แต่หากจะลงลึกไปในรายละเอียดแบบฉากต่อฉาก ก็ยังคงมีความเห็นที่แย้งต่าง
ระหว่างผู้เชี่ยวชาญในแต่ละท่าน แต่สำหรับเรารู้เพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

การเปลี่ยนชื่อพระที่นั่งจากสุทธาสววรย์เป็นสุทไธสวรรย์เกิดขึ้นในสมัยนี้
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง พระที่นั่งสุทไธสวรรย์
ขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีชื่อที่ใกล้เคียงกับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
ดังนั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพจึงเปลี่ยนนามพระที่นั่งเพื่อให้ต่างไป

ยังมีการสร้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยขึ้นใหม่จึงได้เปลี่ยนชื่อเพื่อให้คล้องจองกัน
เป็นอิศราวินิจฉัย พุทไธสวรรย์ นอกจากนี้พระองค์ทรงให้ย้ายพระแท่นเศวตฉัตร
ซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ไปไว้ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย
เพื่อให้พระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังที่เคยเป็น


Untitled


ชื่อของพระที่นั่งไม่ว่าจะเป็นสุทธาสวรรย์หรือพุทไธสวรรย์นั้น
ล้วนแต่มีความหมายเดียวกันว่า สถานที่ซึ่งถึงอันพระนิพพาน
สองสามปีที่ผ่านมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทุกแห่ง
อนุญาตให้มีการการถ่ายภาพภายศิลปวัตถุในอาคารได้

เราจึงสามารถถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งได้แล้ว
วันนั้นเรามีเวลาไม่มาก จึงมุ่งความสนใจกับภาพจิตรกรรม
ทางผนังฝั่งทิศใต้ที่ได้กล่าวมาแล้วว่า น่าจะยังคงเป็นของเก่า
มีอยู่หนึ่งภาพที่น่าสนใจจนหลายคนได้กล่าวถึง

ภาพวัวสองตัวกำลังก้มกินน้ำโดยในบึงนั้นเห็นเงาวัวสะท้อนอยู่
เมื่อก่อนถูกกำหนดอายุโดยสิ่งที่อยู่ข้างกันคือภาพไม้ดัดที่ขึ้นอยู่ด้านข้างสระ
ซึ่งเขียนแบบบิดไปบิดมา ตัดเส้นชัดเจนอันเป็นแบบแผนรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ซึ่งกล่าวกันว่าสืบทอดงานฝีมือมาจากสมัยอยุธยาตอนปลายโดยตรง
ทำให้มีการกล่าวขานกันว่า ครูช่างท่านนี้มีวิสัยทัศน์เกินช่างยุคนั้น

แต่มีข้อย้อนแย้งว่า ในสระนั้นเขียนใบบัวแบบพระราชนิยม
อันหมายถึงภาพนี้อาจจะมีการเขียนซ่อมในครั้งรัชกาลที่ 3
ฉะนั้นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีแนวความคิดการเขียนภาพเหมือนจริง
ดังนั้นแม้เพียงภาพเพียงฉากเดียวก็ยังหาข้อยุติในทางเดียวกันยังไม่ได้

ดังนั้นการถกปัญหาว่า ภาพใดฉากใดเป็นสิ่งที่เขียนไว้แต่ครั้งรัชกาลที่ 1
ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์นั้นจึงยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อๆ ไป


IMG_1085


สิ่งแรกที่สร้างความตื่นตะลึงสำหรับทุกคนที่เข้าไป
คือเทพชุมนุมที่โดยปรกติจะมีเพียง 1 แถว มากที่สุดคือ 3 แถว
แต่ที่นี่มีมากถึง 5 แถว และแต่ละรูปนั้นมีขนาดที่ใหญ่มาก
โดยภาพที่อยู่ใกล้กันนั้น ช่างพยายามที่จะเขียนให้ไม่เหมือนกัน

เหล่าช่างที่ขึ้นไปซ่อมที่มีโอกาสได้ขึ้นไปดูจิตรกรรมชุดนี้ใกล้ๆ
จะได้เห็นเทคนิคของช่างที่เขียนลวดลายละเอียดมากในชุดด้านล่าง
ยิ่งสูงขึ้นไปใกล้เพดาน รายละเอียดของภาพจะถูกทอนให้น้อยลง
ด้วยหลักที่ว่ายิ่งไกลเท่าไหร่ผู้ชมจะเห็นรายละเอียดลดลง
จึงไม่ความจำเป็นที่จะต้องเขียนภาพที่อยู่สูงขึ้นไปให้มีรายละเอียดมาก

ที่นี่มีจิตรกรรมชุดเทพชุมนุมที่โดดเด่นจนทำให้นึกไปถึงวัดอีกแห่งหนึ่ง
นั่นก็คือวัดใหญ่สุวรรณารามที่มีภาพเทพชุมนุมทีงดงามเช่นกัน
แตกต่างกันที่พระอุโบสถนั้นเล็กกว่าจึงเขียนซ้อนกันตั้งแต่พื้นจรดเพดาน
ทำให้ทุกคนที่ไปวัดใหญ่สุวรรณารามจะเห็นความงามอย่างใกล้ชิด

เป็นกิจกรรมที่จัดแค่ครึ่งวัน ดังนั้นจึงไม่มีเวลาไม่มาก
เพียงแค่มีการบรรยายสั้นๆ ก่อนที่จะนำชมภาพที่สนใจกันว่า
มันน่าจะเป็นภาพที่หลงเหลือมาจากสมัยรัชกาลที่ 1 หรือไม่
ก็กินเวลาที่มีอยู่อย่างน้อยนิดไปจนหมดสิ้น

ต่อจากนี้ต้องเดินไปที่วัดบวรสุทธาวาสหรือวัดพระแก้ววังหน้า
จึงไม่มีเวลาที่จะถ่ายจิตรกรรมฝาผนังได้ครบเป็นแน่
แต่โชคดีที่เคยมาถ่ายไว้ก่อนหน้าคราวมากับชมรมพิพิธสยาม
จึงขอนำภาพที่มีมาลงไว้ เผื่อสำหรับบางคนที่อยู่ไกลอาจไม่เคยมา

การดูนั้นเริ่มจากผนังด้านหลังพระประธาน วนไปตามเข็มนาฬิกา
จากผนังฝั่งตะวันตกฝั่งเหนือ เหนือ ตะวันออก ใต้ จบที่ตะวันตกฝั่งใต้
เนื้อเรื่องก็ไม่ต่างจากพุทธประวัติทั่วไป เพียงแต่ที่นี่มีพื้นที่กว้างขวางกว่า
จึงขอคัดลอกคำบรรยายตามต้นฉบับที่ได้ติดไว้.ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์



Create Date : 11 มิถุนายน 2557
Last Update : 10 กรกฎาคม 2557 16:42:29 น. 5 comments
Counter : 2588 Pageviews.  

 
ยากค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 11 มิถุนายน 2557 เวลา:15:40:06 น.  

 

กด Like ให้เป็นคนที่ 1
เวลาไปไหนมาไหนที่วัดต่างๆ
ชอบไปนั่งมองจิตรกรรมฝาผนังมากเลยค่ะ
ชอบๆ


โดย: อุ้มสี วันที่: 11 มิถุนายน 2557 เวลา:16:13:02 น.  

 
เดี๋ยวไปทำกับข้าวแล้วเข้ามาอ่านใหม่ค่ะ

เพิ่งอ่านเจอว่า กลางเวียงเจ็ดรินมีตาน้ำ ที่ 7 ที่ไหลลงมาจากดอยสุเทพ มีรสชาติดีมาก ไปเชียงใหม่คราวหน้าว่าจะแวะไปหาดูค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 11 มิถุนายน 2557 เวลา:17:39:03 น.  

 
ขอบคุณค่ะ เข้าใจความแตกต่างแล้วค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 11 มิถุนายน 2557 เวลา:20:34:10 น.  

 
สรุปว่าก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ว่าภาพนั้น ทางผนังฝั่งทิศใต้ ใช่ภาพที่เขียนในรัชกาลที่ 1 หรือเปล่า ใช่ไหมคะ

หนูไม่มีความรู้ด้านนี้เลย แต่ไปเที่ยวหน้าจะลองไปสังเกตภาพวัวสองตัวค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 13 มิถุนายน 2557 เวลา:17:13:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]