Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
3 มิถุนายน 2553

พระนครศรีอยุธยา : วัดอโยธยา



เราไปนั่งกินก๋วยเดี๋ยวที่หลังวัดวัดอโยธยาหรือวัดเดิม งั้นมาฟังเรื่องความเชื่อ
เรื่องแนวความคิดเรื่องอยุธยาก่อนที่จะสถาปนาเป็นราชธานี้ก่อนกินข้าวกันดีกว่า
กลุ่มแรกนั้นเชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีความเจริญอยู่แล้วก่อนหน้าที่พระเจ้าอู่ทอง
จะสร้างกรุงศรีอยุธยาในปี 1893 โดยเป็นดินแดนของคนไทยในยุคอโยธยา
มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาไม่น้อยกว่า 10 พระองค์ ช่วงเวลาตั้งแต่ปี1625 - 1921

หลักฐานที่อ้างถึงคือพงศาวดารเหนือ ที่ระบุเรื่องพระราชวงศ์ของกษัตริย์สมัยอโยธยา
ว่าตั้งอยู่บริเวณวัดอโยธยา ซึ่งกำหนดเขตให้เป็นบริเวณอโยธยาเหนือ
ข้อความในพงศาวดารมีว่า พ.ศ. 1632 พระเจ้าหลวง กษัตริย์องค์ที่ 2
ได้ราชสมบัติทรงครองราชย์อยู่ถึง 9 ปี ให้ตั้งพิกัดอากรขนอนตลาดไว้ทุกตำบล
และยกวังให้เป็นวัด เรียกว่า วัดเดิม

มีรายละเอียดว่าที่พระเจ้าหลวงยกวังให้เป็นวัด เพราะเกิดจราจลรบแย่งชิงราชสมบัติ
ไพร่พลล้มตายเป็นอันมากจนเลือดนองแผ่นดิน ทรงเห็นว่าเป็นอัปมงคล
และได้ย้ายพระราชวังไปอยู่ ณ ปากแม่น้ำเบี้ย (บริเวณใกล้วัดพนัญเชิง)
ซึ่งกำหนดเขตเป็นอโยธยาใต้ ดังข้อความในพงศาวดารความว่า
พ.ศ. 1641 เสด็จลงมาสร้างเมืองใหม่ และสร้างตำหนักอยู่ท้ายเมือง

ถ้ายึดเอาเจดีย์วัดสามปลื้ม กลางถนนโรจนะเป็นหลัก ด้านขวามือไปจนถึงลำน้ำหันตรา
ซึ่งมีวัดกุฎีดาว วัดสมณโกฎ-ฐาราม วัดช้าง วัดมเหยงคณ์ วัดสีกาสมุด วัดประดู่ทรงธรรม
วัดอโยธยา วัดดุสิตาราม และวัดพระญาติการาม คืออโยธยาเหนือ
ส่วนด้านซ้ายมือตั้งแต่วัดใหญ่ชัยมงคล วัดดุสิต วัดพนัญเชิง วัดขอม คือ อโยธยาใต้

กษัตริย์องค์สุดท้ายของเมืองอโยธยาใต้ก็คือ พระวรเชษฐ หรือ พระเจ้าอู่ทอง
การย้ายพระราชวังจากตำบลเวียงเหล็ก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปอยู่ฝั่งเกาะเมืองปัจจุบัน
จึงเป็นการไปหาที่ตั้งเมืองที่เหมาะสมกับภูมิประเทศอันมีแม่น้ำสายสำคัญต่างๆ เป็นหลัก

กลุ่มที่ 2 ไม่เชื่อตามพงศาวดารเหนือ เห็นว่าเป็นเอกสารที่เน้นเรื่องอภินิหารมหัศจรรย์
คงยอมรับแต่เพียงว่า บริเวณอโยธยาเป็นชานเมืองกรุงศรีอยุธยา
และชุมชนนี้เติบโตในสมัยที่พระเจ้าอู่ทองหนีห่ามาตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นแล้ว

ส่วนชื่อวัดอโยธยานั้นได้มาตอนที่รัชกาลที่ 5 ทรงระบุว่า วัดเดิม
คือวัดโบราณที่มีมาแต่สมัยอโยธยา เป็นวัดคามวาสี ที่ตั้งอยู่กลางพระนครอโยธยา
จึงได้มีการเรียกขานนามใหม่ว่า วัดอโยธยา เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อนั่นเอง



วัดตั้งในแนวแกนตะวันออก-ตะวันตก เมื่อเดินเข้าไปจะพบวิหารเป็นอันดับแรก
เห็นไหมอ่านไปหลายๆ วัดจะเริ่มจำได้แล้วใช่ไหมว่า ศิลปะสุโขทัย จะเริ่มจากวิหาร
ที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งอยู่ ตามด้วยเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
และมีโบสถ์ขนาดเล็กอยู่ตอนท้าย หากเราเห็นรูปแบบนี้แสดงว่าเก่ากว่าสมัยอยุธยานั่นเอง

ตัววิหารปัจจุบันเหลือเป็นเพียงเนินดินสูงประมาณ 1 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างสมัยกับ
ตัวโบสถ์หลังเดิม เนื่องจากจากการขุดค้นพบกระเบื้องดินเผา 8 เหลี่ยม แบบเดียวกัน
เจดีย์ประธาน มีฐานล่างสุดเป็นรูปสี่เหลี่ยมสูง 1 เมตร ถัดไปเป็นทักษิณสูง 7 เมตร
ฐานเจดีย์ทรง 8 เหลี่ยม ตัวเจดีย์เป็นทรงระฆังทรงกลมความสูงราว 30เมตรเศษ

มีลักษณะคล้ายๆ กับเจดีย์ที่วัดพระมหาธาตุ อำเภอสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาทที่ทักษิณสูง
ซึ่งอาจารย์ น ณ ปากน้ำเล่าว่าเป็นเจดียืสมัยก่อนอยุธยาที่งามที่สุด แต่ไม่ต้องไปดูกันหรอก
เพราะกรมศิลปากรได้ทำการบูรณะโดยการโบกปูนทับซะจนไม่หลงเหลือความงามเสียแล้ว
ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้พบเจดีย์แบบเดียวกันที่วัดแม่นางปลื้ม ต่างกันที่ตรงที่องค์ระฆัง
ทำเป็นกลีบบัวหงายขนาดใหญ่ ประดับอยู่รอบองค์ระฆัง ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงบางส่วนเท่านั้น

พระปรางค์เป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองทักษิณ มีบัวคว่ำบัวหงายสองชั้น
ระหว่างบัวคว่ำบัวหงายชั้นที่สองมีช่องเป็นรูปกากบาทด้านละ 7 ช่อง
ปัจจุบันยังเหลือสูงจากฐานทักษิณขึ้นไปประมาณ 3 เมตร ยอดพระปรางค์หักลงมา
ฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย หากยังจำได้ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองพบที่ที่วัดไชยวัฒนาราม
ซึ่งก็สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั่นเอง

พระอุโบสถ สร้างขึ้นใหม่ตามรากฐานเดิม แปลกแยกตัดกับโบราณวัตถุอื่นในวัด
มีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 15 เมตร ภายในมีพระประธานปูนปั้นปางมารวิชัย
ที่รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จมาปิดทองแต่เพราะอุโบสถเดิมไม่มีหลังคา ขาดผู้เอาใจใส่
จึงชำรุดทรุดโทรมใกล้จะร้าง ปัจจุบันพระประธานและตัวโบสถ์ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในประดิษฐานพระรูปของสมเด็จพระนเรศวร
ที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และถูกค้นพบภายหลังกรุงแตก
ซึ่งในขณะนั้นพบเพียงครึ่งองค์แต่ในปัจจุบันได้รับการบูรณะจนเต็มองค์
วัดนี้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2486


วัดนี้มิใช่วัดร้าง ปัจจุบันมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา มีการปลูกสร้างกุฏิและศาลาการเปรียญ
เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวบ้านบริเวณนั้น ทำให้สภาพของวัดเปลี่ยนไป
สิ่งที่ทำให้เรารำลึกและจินตนาการได้ คงมีพียงเจดีย์ประธานที่ถูกทิ้งร้างไปเท่านั้น



Create Date : 03 มิถุนายน 2553
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 16:07:03 น. 5 comments
Counter : 2040 Pageviews.  

 
ถ้าหนังสือเรียน อ่านแล้วสนุกแบบนี้คงจะเรียนประวัติศาสตร์สนุกกว่าที่เคยเรียนแน่นอน


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 3 มิถุนายน 2553 เวลา:13:02:32 น.  

 
เห็นด้วยกับคุณ tuk-tuk ค่ะ ^-^
อยุธยาตอนนี้เล็งๆ ว่าจะไปเที่ยวตลาดน้ำอโยธยาค่ะ ตั้งหลักมาเป้นเดือนละ ยังไม่ได้ไปซักที


โดย: kaew (kosak ) วันที่: 3 มิถุนายน 2553 เวลา:13:28:18 น.  

 
ตามมาเที่ยวด้วยคนนะคะ ไม่ได้ไปนานแล้ว อยากไปอีกจังค่ะ


โดย: auau_py วันที่: 3 มิถุนายน 2553 เวลา:18:24:15 น.  

 
ไม่ค่อยได้ยินชื่อวัดนี้เท่าไหร่
ก็เลยไปเปิดกูเกิ้ลแมป
เป็นวัดนอกเมืองจริงๆ ค่ะ

ขอบคุณที่อธิบายประวัติวัดให้ทราบค่ะ



โดย: addsiripun วันที่: 3 มิถุนายน 2553 เวลา:19:02:52 น.  

 
เข้ามาอ่านต่อค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 4 มิถุนายน 2553 เวลา:10:06:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]