Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2559
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
17 มิถุนายน 2559

วันสงกรานต์ : วัดเสาธงทอง







เดินต่อไปจนสุดเส้นทางของร้านค้าก็จะถึงวัดเสาธงทอง
เดิมชื่อวัดสวนหมาก ส่วนคนมอญเรียกว่า เพ๊ยะอาล๊าต
อาล๊าต น่าจะหมายถึงหมากหรือเปล่า เพราะรู้แต่ ฮะปลู แปลว่า พลู 
เพราะนอดจากคนไทยแล้ว ชาติอื่นเค้าจะพูดว่ากินพลู ไม่ใช่กินหมาก 

ปลายรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาอำภา ซึ่งเป็นเจ้าจอมในสมัยรัชกาลที่ 2   พร้อมด้วยกรมหมื่นภูบาลกรมขุนวรจักรกรีได้เสด็จมาบูรณะวัด           ซึ่งกำลังทรุดโทรมและทรงเห็นว่า ต้นหมากก็หมดไปแล้ว             จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดเสาธงทอง”

ภายในพระอุโบสถกำลังปิดทองพระประธาน ดูดาวเพดานไปพลางก่อนๆ
ทางทิศตะวันตกของโบสถ์มีเจดีย์ย่อมุมสิบสองแสดงว่าวัดนี้ถูกบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3
ทางทิศตะวันออกมีเจดีย์ทรงระฆังแสดงว่าการบูรณะยาวนานมาจนกระทั่งรัชกาลที่ 4-5
มีต้นยางนาขนาดใหญ่ ใต้ร่มไม้นั้นมีเจดีย์ทรงประหลาดแปลกตา คนชอบมาถ่ายรูป
เรียกว่าเจดีย์ทรงกลีบมะเฟืองซึ่งไม่พบที่อื่น และยังไม่มีใครรู้ว่าแนวคิดมาจากไหน

เดาว่าช่างก็อาจทำเลียนแบบอะไรสักอย่าง อาจจะเป็นภาชนะก็เป็นได้
แต่ในทางประวัติศาสตร์ศิลป์เราใช้เรียกชื่อเจดีย์จำนวนหนึ่งพบที่วัดมหาธาตุลพบุรี
วัดมหาธาตุ สรรคบุรีที่มีการผสมผสานระหว่างเจดีย์ทรงลังกากับพระปรางค์แบบขอม
ทำให้เกิดศิลปะเฉพาะกับกลุ่มเจดีย์ที่มีไม่เกิน 5 องค์นี้ว่า เจดีย์ทรงกลีบมะเฟือง

ลพบุรี : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

สรรคบุรี : วัดมหาธาตุ



แม้มอญจะได้รับอิสรภาพหลังกุบไลข่านตีเมืองพุกามแตก
แต่ก็ตกอยู่ในสภาวะเป็นรัฐเล็กๆ ตามปากแม่น้ำ
พ.ศ. 1927พระเจ้าราชาธิราชได้เอาชนะแคว้นต่างๆ และสถาปนากรุงหงสาวดี

หลังเมืองพุกามแตก ชาวพม่าส่วนใหญ่ก็ถอยมารวมกันที่เมืองอังวะ
เมื่อมอญก้าวมีอำนาจ พม่าเริ่มสงครามโดยการการนำของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
ต่อมาพระเจ้าราชาธิราชก็ยกทัพไปตีเมืองอังวะเป็นการตอบแทน


สงครามในช่วงเวลา 40 ปี ระหว่างหงสาวดีและอังวะถูกเขียนไว้ในพงศาวดีมอญ
ที่เป็นเพียงเอกสารบันทึกของชนชาติมอญที่หลงเหลืออยู่เพียงหนึ่งเดียว
ต่อมาได้กลายเป็นวรรณกรรมที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อ ราชาธิราช

พ.ศ. 2078 พระเจ้าตะเบงชเวตี้สถาปนาอาณาจักรตองอูและบุกลงใต้
เพียง 7 ปี แว่นแคว้นมอญปากแม่น้ำอิรวดี สะโตง สาละวินก็ถูกพิชิตจนหมด
เป็นการอพยพครั้งแรกของชาวมอญที่เข้ามยังกรุงศรีอยุธยา
หลังจากนั้นมอญก็ไม่เคยมีกษัตริย์ที่มีความเข้มแข็งอีกเลย



การขุดคลองลัดเกร็ดเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าท้ายสระ พงศาวดารว่า

ในปีขาล จัตวาศกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้พระธนบุรีเป็นแม่กองเกณฑ์ไพร่พล
คนหัวเมืองปากใต้ให้ได้คนหมื่นเศษให้ขุดคลองเกร็ดน้อยลัดคุ้งบางบัวทองนั้นอ้อมนัก
ขุดลัดให้ตรง พระธนบุรีรับสั่งแล้วถวายบังคมลามาให้เกณฑ์คนไพร่พล
ในบรรดาหัวเมืองปากใต้ได้คนหมื่นเศษ ให้ขุดคลองเกร็ดน้อยนั้นลึก ๖ ศอก
กว้าง ๖ วา ทางไกลได้ ๒๙ เส้นเศษ ขุดเดือนเศษจึงแล้ว

เหตุผลที่ถูกขุดหลังสุดคือ บริเวณนี้โค้งน้ำนั้นมีความกว้างน้อย
จึงมีความสำคัญด้อยกว่าโค้งน้ำขนาดใหญ่ที่ทำให้สิ้นเปลืองเวลาในการเดินทาง
ดังเช่นการขุดคลองลัดคลองบางกอกใหญ่ในสมัยพระไชยราชา
หรือการขุดคลองลัดคลองอ้อมนนท์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

ทุกครั้งที่ชาวมอญพ่ายแพ้ให้แก่ชาวพม่า ก็อพยพมายังกรุงศรีอยุธยา
เริ่มแรกในสมัยอยุธยาก็จะโรปดตั้งบ้านเรือนอยู่ชานพระนคร
ด้วยความคล้ายกันในศาสนาจึงผสมกลมกลืนกับคนไทยไปในที่สุด

หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เข้าสู่ยุคธนบุรีก็มีการอพยพมาอีกครั้ง
คราวนี้ก็โปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ทางเหนือน้ำแถวปากเกร็ดและปทุมธานี
แตกต่างกับมอญเก่าที่อยู่มาแต่สมัยอยุธยานั้นถือว่าเป็นคนไทยไปแล้ว
หลังจากนั้นมีการอพยพต่อมาอีกหลายครั้งก็จะโปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนรวมกัน

ชาวมอญเป็นคนต่างชาติกลุ่มใหญ่ที่เข้ามาอยู่อาศัยอยู่ในรัฐไทยแต่โบราณ
และเป็นกำลังสำคัญสำคัญในการรบป้องกันและขยายดินแดนไทยตลอดมา
แต่พวกเขาก็ไม่เคยละทิ้งความฝัน ที่ในวันหนึ่ง

ธงหงส์นั้นจะได้โบกสะพัดบนดินแดนของชนชาติตนเองอีกครั้ง




Create Date : 17 มิถุนายน 2559
Last Update : 21 มิถุนายน 2559 10:38:02 น. 5 comments
Counter : 1507 Pageviews.  

 
ได้ยินว่า หงส์ หมายถึงหงสาวดี

เจดีย์วัดทุงยูน่าจะเป็นทรงปราสาท แบบล้านนา
อุโบสถสร้างใหม่ โบสถ์เดิมอาจมีหน้าบันเป็นรูปหงส์จึงใช้อันเดิม เพราะพม่าเข้ามามีอิทธิพลในเชียงใหม่ 200 ปี น่ะค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 มิถุนายน 2559 เวลา:15:20:59 น.  

 
ไม่เคยไปที่นี่อีกแล้ว จขบ.นี่เที่ยวที่ที่เราไม่ได้ไปเยอะจัง แฮ่...

ลูกค้ากลุ่มหลักที่นี่ญี่ปุ่นค่ะ เห็นแต่คนญี่ปุ่นง่ะ ส่วนใหญ่เป็นครอบครัว ไม่ก็มาเป็นคู่ๆ ค่ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 17 มิถุนายน 2559 เวลา:15:59:13 น.  

 
วัดทุงยู ... จาก ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ และ ศูนย์วัฒนธรรมราชภัฎ เชียงใหม่ ค่ะ อิอิ

มีเจดียทรงกลม เดิมเปนแบบลานนาตั้งบนเรือนธาตุตอมา
ไดรับการบูรณะโดยเปนรปแบบอิทธิพลทรงพมา - มอญ

สมกับทีงงเนาะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 มิถุนายน 2559 เวลา:16:33:14 น.  

 
ดาวเพดานวัดนี้สวยดีค่ะ ส่วนมากเห็นพื้นเป็นสีแดง ดาวสีทอง วัดนี้พื้นสีอ่อน ตอนไปไม่ได้สังเกตเลยค่ะ หรือจะลืมแล้วมังคะ ไม่คุ้นเลย

เจดีย์ทรงกลีบมะเฟือง ที่ลพบุรี ไม่เหมือนแบบนี้เนาะคะ

ว่ากันว่า มอญไม่เคยมีแผ่นดินอยู่เป็นปึกแผ่นเดียวกัน แตกกระสานซ่านเซ็น แต่ยังสามารถรักษารากเหง้าและขนบประเพณีตัวเองไว้ได้


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog
praewa cute Parenting Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 17 มิถุนายน 2559 เวลา:20:19:09 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ตุ๊กจ้ะ Food Blog ดู Blog
เรียวรุ้ง Literature Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Hobby Blog ดู Blog
FreakGirL Diarist ดู Blog
เกศสุริยง Education Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

แวะมาโหวตให้ค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 21 มิถุนายน 2559 เวลา:7:42:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]