Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
12 เมษายน 2555

เชียงใหม่ : วัดสะตือเมือง



เรามาที่นี่เพื่อดูร่องรอยของอดีตที่ตั้งเสาอินทขิล ซึ่งเกี่ยวพันกับการสร้างเมือง
ตามตำนานกล่าวไว้ว่าพระอินทร์ได้ประทานให้ลัวะในสมัยการสร้างเวียงนพบุรี
ให้กุมภัณฑ์ 2 ตน เอาเสาอินทขีลใส่สาแหรกหามนำไปประดิษฐานไว้บนแท่นกลางเมือง
ให้ชาวเมืองของลัวะได้สักการะบูชา ก่อนที่ต่อมาจะกลายเป็นเมืองร้าง

พ.ศ. 1835 พญามังรายได้สุบินว่าไล่ตามกวางเผือกจนมาพบชัยภูมิที่ดี
จึงมีดำริจะสร้างเมืองขึ้นใหม่พระองค์ได้มาสำรวจพื้นที่บริเวณเมืองนพบุรีร้าง
ได้พบซากเสาอินทขิลและรูปกุมภัณฑ์ ณ ที่กลางเมืองนั้น จึงมีพระบรมราชโองการ
ให้เสนาชื่อสรีกัญชัย แต่งเครื่องบรรณาการไปหาพญาลัวะบนดอยสุเทพ

พญาลัวะจึงแนะนำว่า หากเจ้าพญามังรายจะสร้างเมืองขึ้นใหม่ให้อยู่เย็นเป็นสุข
ให้สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมือง และให้บูชากุมภัณฑ์และเสาอินทขีิล
เมื่อพญามังรายสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่แล้ว จึงโปรดให้สร้างวัดอินขิลขึ้น
แต่เนื่องจากว่าวัดนี้ตั้งอยู่บริเวณสะดือเมืองชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดสะดือเมือง

พ.ศ. 1854 พญามังรายทรงต้องอสุนีบาตถึงแก่พระชนมชีพกลางเมืองเชียงใหม่
เขื่อว่าสถานที่พระองค์สิ้นพระชนม์นั้นคือที่วัดสะตือเมืองแห่งนี้นี่เอง
วัดนี้เจริญรุ่งเรืองตลอดมา ด้วยถือเป็นวัดที่สำคัญเหมือนวัดพระมหาธาตุในภาคกลาง
จนกระทั่งเสาหลักเมืองได้ถูกย้ายไปอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง



แต่ช่วงเวลาที่ย้ายนั้นแบ่งออกเป็นสองความเชื่อ คือกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นในสมัย
ต้นกรุงศรีอยุธยาที่ต่างเข้าทำสงครามเพื่อแย่งชิงหัวเมืองสุโขทัย โดยฝ่ายอยุธยา
ได้ส่งพวกชาวจีนอิสลามมาทำคุณไสยฝังสิ่งอัปมงคลต่างๆ ภายในเมืองเชียงใหม่
เมื่อพระเจ้าติโลกราชทรงทราบความจริงจึงได้รับสั่งให้เหล่า พระเถระชั้นผู้ใหญ่
กระทำพิธีแก้ขีด โดยการย้ายและสร้างศูนย์กลางเมืองมาที่ใหม่คือพระธาตุเจดีย์หลวง

แต่นั่นเป็นเหมือนเรื่องเล่าราวกับนิทาน อีกกลุ่มหนึ่งจึงเชื่อว่าการย้ายเสาหลักเมืองนั้น
เกิดขึ้นหลังจากที่วัดสะตือเมืองถูกทิ้งร้างไปเป็นเวลานานจากการรุกรานของพม่า
โดยใน พ.ศ. 2343 พระเจ้ากาวิละขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนาสำเร็จ
และเข้ามาฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ ตอนนี้เองที่ได้ย้ายเสาอินทขิลไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง

และได้สร้างพระวิหารวัดสะดือเมืองขึ้นใหม่โดยอัญเชิญพระเจ้าอุ่นเมือง
หรือหลวงพ่อขาวมาประดิษฐานเป็นพระประธาน พร้อมกับบูรณะฟื้นฟูวัดอินทขีล
โดยได้สร้างวิหารคล่อมฐานเดิม วัดได้เจริญรุ่งเรืองมีพระสงฆ์จำพรรษาตลอดเรื่อยมา
จากเอกสารสำรวจวัดในพ.ศ. 2425 ยังปรากฏชื่อวัดอินทขีลอยู่



สันนิษฐานว่าได้กลายเป็นวัดร้างในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 ที่เริ่มมีการรวมศูนย์อำนาจของล้านนา
ให้เป็นส่วนหนึ่งของสยาม เจ้านายฝ่ายเหนือถูกลดบทบาทลงอย่างมาก
เงินภาษีอากรถูกส่งไปส่วนกลาง วัดจึงขาดการทำนุบำรุงตกอยู่ในสภาพร้าง

เกิดการตัดถนนผ่านวัด หลวงพ่อขาวอยู่ในเพิงริมถนน สร้างความหดหู่ใจ
จึงเกิดการถกเถียงกันว่าจะเวนคืนถนนมาสร้างวิหารใหม่ดีไหม
ส่วนหนึ่งก็คัดค้าน ในที่สุดก็สามารถสร้างสำเร็จอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ที่หลวงพ่อท่านได้กลับเข้าไปอยู่ในวิหารที่สร้างขึ้นใหม่อย่างสวยงาม

วิหารหันไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังมีเจดีย์ทรงทรงกลมฐานสี่เหลี่ยม อายุราว
พุทธศตวรรษที่ 20-21 ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นฐานหน้ากระดานสูงใหญ่
ถัดขึ้นไปเป็นฐานทรงกลมสามชั้น รองรับองค์ระฆัง ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์
ก้านฉัตร บัวฝาละมี และปล้องฉไน โดยมีเจดีย์องค์เล็กศิลปะหริภุญชัยอยู่ภายใน

อีกหนึ่งเจดีย์ที่ตั้งอยู่ในศาลากลางหลังเก่า ที่เชื่อว่าเคยเป็นสถานที่พญามังรายต้องอัสนีบาตร
พระยาไชยสงคราม ราชโอรสทรงสร้างเจดีย์บรรจุพระอัฐิไว้ เจดีย์ทรงกลมผสมเรือนธาตุ
แปดเหลี่ยม องค์ระฆังคว่ำ ศิลปะแบบหริภุญไชยพบที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
น่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันคือราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19

นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพิพธภัณฑ์จัดแสดงพระราชประวัติของพระเจ้าติโลกราช
มหาราชแห่งเมืองเชียงใหม่ ที่ปกครองเชียงในช่วง พ.ศ. 1952 – พ.ศ. 2030 อีกด้วย



Create Date : 12 เมษายน 2555
Last Update : 26 เมษายน 2559 13:43:37 น. 1 comments
Counter : 2620 Pageviews.  

 
เราเห็นตั้งแต่เด็กแล้วค่ะ ที่มีหลวงพ่อขาว
ก็มีแค่นั้นแหละ

และบริเวณด้านหน้า ดูเหมือนจะเป็นลานจอดรถ ถัดไปข้างในนั้นเป็นหอประชุมติโลกราช

ร้านค้าจะอยู่หลังหลวงพ่อขาว เอ! มีเจดีย์หลังหลวงพ่อขาวด้วยใช่ไหมคะ ก็หลังเจดีย์นี้เป็นต้นไปถึงจะมีร้านค้าค่ะ

ไปเห็นตอนที่เขาสร้างวัดขึ้นใหม่ที่เป็นตัววิหาร ทำถนนใหม่ เราแปลกตามากเลย

บางคนก็ว่าท่านพญามังรายต้องอสุนีบาตที่ข้างวัดดวงดี อยู่ในซอยตรงข้ามเยื้อง ๆ รูปสามกษัตริย์น่ะค่ะ

แต่เขาทำอนุสรณ์สถานไว้ที่สี่แยกกลางเวียงก็ว่าเป็นตรงนี้ที่ต้องอสุนีบาต เหมือนกัน


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 12 เมษายน 2555 เวลา:15:38:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]