Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
เมษายน 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
1 เมษายน 2559

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น (2)




การคล้องหรือจับช้างนั้นมีหลายวิธีขึ้นกับวัตถุประสงค์และความชำนาญ
การแทรกโพนช้าง เป็นการคล้องในป่า โดยไล่ต้อนโขลงช้างลงมา
แล้วใช้ช้างต่อไล่คล้องโดยอาศัยบ่วงบาศ เลือกคล้องเป็นเชือกๆ ไป

การวังช้าง เป็นคำที่มักพบในพงศาวดารเป็นวิธีการของพระเจ้าแผ่นดิน
ในสมัยโบราณโดยการให้คนต้อนโขลงช้างเข้าไปในคอกที่สร้างไว้
เช่น คอกดิน แล้วล้อมจับ โดยมากเป็นการจับทั้งโขลง
เพื่อจะเพื่อนำมาคัดเลือกฝึกเป็นช้างศึก ช้างงานหรือนำไปขาย

การคล้องในเพนียด เป็นการจับช้างของหลวงตามพระราชพิธี
ทอดเชือกดามเชือก ซึ่งกรมคชบาลจะทำโดยการสร้างเพนียดขึ้น
แล้วต้อนโขลงลงมาเลือกคล้องเฉพาะช้างที่มีลักษณะที่ดี

ทั้งหมดลอกมาจากป้ายเขียนขึ้นโดยกรมศิลป์ซึ่งไม่เชื่อคงไม่ได้
แต่ส่วนตัว ผมเห็นแย้งในหลายจุด



การทอดเชือกดามเชือกเป็นหนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือน
ที่ทำกันในเมืองหลวงเพื่อตรวจสอบเชือกประกำ
ไม่เกี่ยวกับการคล้องช้างในเพนียด

การตีหนังวังช้างพบในพงศาวดารเฉพาะช่วงรัชกาลพระมหาจักรพรรดิ
จนท่านมุ้ยใช้เป็นฉากเปิดตัวของพระเยาราช เพราะในรัชกาลของพระองค์
ได้สมัญญานามว่าพระเจ้าช้างเผือกก็น่าจะเกี่ยวเนื่องกับพระปรีชาสามารถ
แต่ในประวัติศาสตร์เป็นที่ทราบกันดีว่า ช้างเป็นสินค้าส่งออกของอยุธยา

ดังนั้นการวังช้างจึงน่าจะเป็นกิจกรรมที่พระมหากษัตริย์รับสั่งให้ทำ
แต่ไม่จำเป็นที่พระองค์ต้องไปทำเอง เนื่องจากเป็นการต้องไปคล้องในป่า
แถวเมืองสระบุรีที่มีช้างจากรอยต่อของเขาใหญ่ซึ่งเป็นงานอันตราย
และการเสด็จออกจากพระราชวังเป็นสิ่งที่พระมหากษัตริย์มักจะไม่ทำ

แต่ในรัชกาลก่อนหน้า คือรัชกาลขุนวรวงศา มีการส่งข่าวว่าพบช้างเผือก
พระองค์เสด็จออกไปเพื่อจะคล้องช้างในเพนียดที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง
โดยออกไปทางคลองสระบัว ดังนั้นสองสิ่งนี้น่าจะต่างกันที่พื้นที่ในการจับ
หากเป็นการวังช้างจะอาศัยภูมิประเทศที่บีบแคบแทนการจับในเพนียดไม้



มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ละครเรื่องอ้ายเสมาโด่งดัง เรื่องการคล้องช้างก็เลยมีคำถามเยอะ
เราจะมาเปิดถุงย่ามของพ่อหมอเฒ่าคล้องช้างว่ามีของอาคมอะไรบ้าง
งาคุด เขาคุด ลูกสะกด หอยเบี้ย เหล็กไหล เขี้ยวเสือกลวง เขี้ยวหมูตัน

นอกจากเครื่องรางก็ต้องมีอุปกรณ์ในการคล้องช้าง
เสนง เขาควายที่ใช้เป่าให้สัญญาณในการออกไปคล้องช้าง
โว่ทำจากเรียก เช่น หามคอ อุปกรณ์ที่ใช้ยังชีพ เช่นย่ามใส่ของ
และที่สำคัญคือเชือกปะกำ ที่ทำจากกหนังควายหลายเส้นพันทบกัน

โบราณวัตถุศิลปวัตถุ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยช้าง เช่น ประติมากรรมพ่อหมอเฒ่า
หรือปฏิยายะ พระพิฆเณศเทพเจ้าที่เกี่ยวข้องกับการคชกรรม
น่าจะเป็นของเคารพบูชาที่ตกทอดมาแต่กรมช้างต้นกรุงรัตนโกสินทร์



พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ เป็นพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นเพื่อรับการน้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญ
เป็นพิธีทางพราหมณ์ที่จะอ่านโองการตามธรรมเนียม หัวใจของพระราชพิธี
คือพระมหากษัตริย์จะทรงพระราชทานอ้อยแดงที่จารึกชื่อช้างนั้นให้ช้างกิน

กระบวนแห่ช้างสำคัญเข้าสู่โรงพระราชพิธี พระราชทานน้ำพระพุทธมนต์
ด้วยพระมหาสังข์แด่ช้างสำคัญพระราชทานเครื่องคชาภรณ์(เครื่องแต่งตัว)
พราหมณ์อ่านฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ศิลปิน ขับไม้ ช้างสำคัญ อาบน้ำ
ผสมกับพิธีทางพุทธด้วยการตักบาตร เลี้ยงพระและเวียนเทียน

ช้างเผือกถือว่าเป็นสิ่งมงคล ดังนั้นขนของช้างจึงจะไม่ถูกนำไปทิ้ง
แต่ถูกเก็บรักษาไว้เพื่อนำมาเป็นแปรงและแส้สำหรับพระมหากษัตริย์
สิ่งจัดแสดงกลุ่มสุดท้าย คือ หนังช้างเผือกดองสีขาวในรัชกาลที่ 4
และงาช้างสำคัญที่ถูกเก็บรักษาไว้ตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์

ช้างต้นก็เหมือนช้างป่าหรือช้างบ้านที่จะมีงาที่ยาวเฉพาะช้างพลาย
มีเรื่องเล่าว่าบางช้างที่นำมาเดินนั้นงาจะครูดยาวไปกับถนนเลยทีเดียว
บางเชือกก็มีงาข้างเดียวเรียกว่า ช้างงาเอก แต่ถ้าไม่มีงาเรียกช้างสีดอ
งาสั้นๆ เหมือนช้างพังเรียกว่า ขนาย ถ้างาอ้วนสั้น เรียกว่า งาเนียม



เป็นที่รู้กันดีว่าเมื่องาช้างยาวเกินไป อาจทำให้ช้างนั้นกินอาหารไม่ได้
แต่ใครจะกล้าตัดงาช้างต้น เพราะถ้าช้างล้มถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ของบ้านเมือง
ถ้าช้างนั้นล้มจะถูกนำไปที่ไหน ไม่ได้มีการกล่าวไว้ในพงศาวดาร
แต่มีการขุดพบกระดูกช้างเป็นจำนวนมากที่วัดคันลัด จ. สมุทรปราการ
จึงเชื่อกันว่าเดิมบริเวณนี้น่าจะเป็นเป็นที่ฝังซากช้างหลวงมาก่อน

อาคารที่อยู่ข้างกันคืออาคารที่ 2 นั้นอยู่ในช่วงปิดปรับปรุง
เจ้าหน้าบอกว่าน่าจะเสร็จในราวปลายปี
แต่เมื่อไปอีกครั้งพบว่าก็ยังปรับปรุงไม่เสร็จ

ตามข้อมูลกล่าวว่าแสดงการจำลองพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือก
ช้างเผือกจำลองทรงเครื่องคชาภรณ์ เครื่องพานพุ่มดอกไม้
นิทรรศการถาวรพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือก
ศิลปวัตถุ พระชัยหลังช้าง ศาลพระเทวกรรม เครื่องประโคมได้แก่
แตรฝรั่ง แตรงอน บัณเฑาะว์ สังข์ และฆ้องจำลอง

เจ้าหน้าที่บอกว่าในอาคารนั้นมีลิงเผือก และกาเผือกที่ถือว่าเป็นสัตว์มงคล
แต่ว่าทำจากอีพอกซี่ น่าเสียดายที่กระนั้นเราก็ยังไม่ได้เข้าชม



Create Date : 01 เมษายน 2559
Last Update : 4 เมษายน 2559 9:34:22 น. 4 comments
Counter : 2475 Pageviews.  

 
เคยไปทำบุญเขาให้ขนช้างมาด้วยค่ะ
เราสงสารช้างอ่ะ

+


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 1 เมษายน 2559 เวลา:15:20:00 น.  

 
สวัสดีค่ะ...

ตามมาอ่าน ต่อจากตอนที่แล้วค่ะ

น่าภาคภูมิใจจัง



โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 1 เมษายน 2559 เวลา:15:53:57 น.  

 
มาชมต่อค่าาา

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ นะคะ


เราว่า ถ้ามาตัวเมืองเพชรก็มากินผัดไทสาขาตัวเมืองเถอะค่ะ อร่อยนะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 1 เมษายน 2559 เวลา:18:23:15 น.  

 
เคยอยู่สุรินทร์ที่ได้ชื่อว่าเมืองช้าง ตั้ง 7-8 ปี ไม่มีความรู้เรื่องช้างเลยค่ะ ทุกวันนี้นึกเสียดาย เพื่อนบอกว่าตอนนี้ มีหมู่บ้านช้างด้วย (น่าจะไม่เหมือนเพนียดช้างที่อยุธยา)

ช้างเผือก ลิงเผือก พอนึกภาพออก แต่กาเผือก ... อยากเห็นมากค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Music Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


*** พระตำหนัก สะพานอัษฎางค์ ไปถึงจะ 4 โมงเย็นแล้วค่ะ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ไม่น่าเชื่อว่า สองรอบแล้วยังไม่มีวาสนาได้เข้าไปชม

กลับเรือจากเกาะสีชัง รอบ 6 โมงเย็นค่ะ ไม่ได้แสงทไวไลท์เลย


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 3 เมษายน 2559 เวลา:17:20:40 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]