Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
15 มิถุนายน 2558

แปร๋นท่องกรุง : ถอดรหัสความรู้เรื่องช้าง (ภาคผนวก 1)

Untitled



ตอนที่อยู่ในพระที่นั่งปฤษฎางคภิมุข ซึ่งจัดแสดง ช้างศึกและเครื่องอาวุธ
ผมถามผู้นำชมไปว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้นมีช้างเผือกขึ้นระวางหรือไม่
ผู้นำชมยิ้มแล้วตอบว่า มีซิ ประเทศไทยก็มีการพบช้างเผือกทุกรัชกาลล่ะ

ทำไมผมจึงได้สงสัยเรื่องนี้

นิตยสารศิลปะและวัฒนธรรมฉบับหนึ่งมีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้
ในการพยายามที่จะคลี่คลายว่า มงกุฎบนส่วนยอดของพระปรางค์วัดอรุณนั้น
แม้คนส่วนใหญ่เห็นคล้อยกันไปในทำนองว่า เป็นการบอกใบ้ถึงรัชกาลต่อไป
แต่ผ่านมาหลายสมัย นักวิชาการก็ยังมีความพยายามที่จะไขปริศนาเรื่องนี้

ศรีศักร วัลลิโภดมทำไม ร.๓ ไม่สวมมงกุฎ?

แรงจูงใจในการศึกษามาจากว่า ในรัชกาลนี้มีการสร้างวัดเยอะมาก ทำไม?
เหตุผลหนึ่งที่สามารถอธิบายได้คือ พระองค์มิใช้เป็นเจ้าฟ้ามาแต่กำเนิด
เมื่อขึ้นครองราชย์จึงมีพระราชประสงค์ที่จะแสดงพระบารมีผ่านสิ่งที่เรียกว่า
พระมหาธรรมราชา ราชาผู้เผยแผ่พุทธศาสนาออกไปอย่างกว้างขวาง

ในอีกมุมหนึ่งพระองค์ประสงค์จะแสดงความเป็นจักรพรรดิราช
อันประกอบไปด้วย 7 สิ่งสำคัญ แต่หนึ่งสิ่งที่ไม่สามารถแต่งตั้งขึ้นมาได้
จำเป็นต้องอาศัยบุญญาธิการนั่นก็คือ ช้างเผือกคู่ราชบัลลังก์

ในสมัยรัชกาลที่ 1 พบช้างเผือกตรี 1 ช้าง แต่เจ้าของนั้นกลัวจะโดนยึด
จึงตัดหางเสีย แต่เมื่อคนท้วงมากเข้า จึงจำต้องรายงานเข้าเมืองหลวง
พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าทรงพิโรธเป็นอย่างมากจึงไม่ประทานรางวัล
แต่ก็ยอมรับขึ้นระวางเป็นช้างต้น โปรดให้เอาหางโคมาต่อเป็นโคบุตร

ในสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นช่วงที่รุ่งโรจน์ที่สุดด้วยมีการพบช้างเผือกเอกถึง 3 ช้าง
จนรัชกาลที่ 2 ได้รับสมัญญานามว่า พระเจ้าช้างเผือก ทรงโปรดให้นำรูปช้างเผือก
ขึ้นไปใส่ไว้ในธงพื้นแดงเป็นธงชาติในยุคแรกเริ่มที่มีสัญลักษณ์บ่งชี้เฉพาะ

แล้วในสมัยรัชกาลที่ 3 ล่ะ จะมีการพบช้างเผือกเช่นช่วงเวลาก่อนหน้านี้หรือไม่
แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจว่าอะไรที่เรียกว่า ช้างเผือก

Untitled

ในพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่าพุทธศักราช 2464 มาตรา 4
สมัยรัชกาลที่ 6 กำหนดช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษไว้ 3 ชนิด ระบุไว้ว่า
ช้างสำคัญ มีคชลักษณะ 7 ประการ คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว
พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว อัณฑโกศขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่

ช้างสีประหลาด คือ ช้างที่มีมงคลลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน 7 อย่าง
ที่กำหนดไว้ในคชลักษณะของช้างสำคัญ
ช้างเนียม มีลักษณะ 3 ประการ คือ พื้นหนังดำ งามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย เล็บดำ

ดังนั้นพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พ.ศ. 2464 นี้ไม่มีชนิดใดเรียกว่า ช้างเผือก

ผมกล่าวไว้เสมอว่า เราไม่อาจจะใช้นิยามของคนยุคใหม่ไปตัดสินเรื่องเก่า
เราคงต้องย้อนกลับในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ว่า มีความคิดเรื่องช้างสำคัญอย่างไร

ช้างสำคัญอธิบายง่ายๆ คือช้างที่มีค่าควรเมือง ผู้ใดพบเห็นจำเป็นต้องรายงาน
เมื่อกรมช้างตรวจสอบแล้วมั่นใจว่าต้องตามคชลักษณ์ ก็จะนำขึ้นทูลเกล้าถวาย
เมื่อทำพระราชพิธีสมโภช และพระราชทานนามแล้วก็จะนับว่าเป็นช้างต้น
มีบรรดาศักดิ์เป็นพระหรือพระยา ยืนโรงอยู่ในพระบรมมหาราชวัง

ช้างสำคัญแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามนิยามที่ผมตั้งเพื่อให้สามารถเข้าใจง่ายๆ
1 ช้างคู่บารมี เป็นช้างที่มีมาแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ในตอนที่พระองค์ยังทรงเสด็จ
ไปราชการสงคราม เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ก็โปรดเกล้าให้ขึ้นระวางเป็นช้างต้น

2. ช้างประหลาด
หนึ่งคือสีประหลาด เช่น สีแดง สีฟ้า สีเขียว สีเนียม (ช้างสีดำที่มีเล็บสีดำ) ช้างกระ คือช้างที่มีสีขาวแซมแต่ไม่ถึงกับขาวทั้งตัว
สองคือช้างผิดธรรมชาติ เช่น มีงาเดียว มีงาสองข้างโค้งเข้าหากัน ช้างเล็บครบ
ซึ่งปรกติช้างนั้นมี 18 นิ้ว คือหน้า 4 หลัง 5 แต่ช้างใดมีเท้าหน้า 5 นิ้ว เรียกว่าช้างครบ

3. ช้างเผือก คือช้างสำคัญสูงสุด เป็นหนึ่งในสิ่งที่แสดงถึงจักรพรรดิราช
เพราะเชื่อว่า ช้างเผือกจะถือกำเนิดมาเพื่อเป็นช้างคู่บุญบารมีในรัชกาลนั้นๆ
ตำราคชลักษณ์กล่าวว่า การดูช้างเผือกให้พึงพิจารณาลักษณะ 10 ประการ
คือ ขน หาง จักษุ เล็บ อัณฑโกศ ช่องแมลงภู่ ขุมขน เพดาน สนับงา ข้างในไรเล็บ


Untitled


และสิ่งที่ใช้แยกประเภทประการที่ 11 ก็คือสีกายอันเป็นศุภลักษณะ
ช้างเผือกเอก ได้แก่ ช้างสีสังข์ ช้างทองเนื้อริน ช้างทั้งสองสีผิวกายนี้
อันมีลักษณะคชลักษณ์ตั้งแต่ 9 ถึง 11 ประการ ถือเป็นช้างมงคลคู่บ้านคู่เมือง
ช้างเผือกโท ได้แก่ ช้างสีบัวโรย มีลักษณะตามคชลักษณ์ตั้งแต่ 7 ถึง 9 ประการ
ช้างเผือกตรี ได้แก่ ช้างสียอดตองตากแห้ง ช้างสีแดงแก่ ช้างสีแดงอ่อน ช้างสีทองแดง
ช้างสีเมฆ ช้างสีดำ สีผิวกายนี้ มีลักษณะตามคชลักษณ์ ตั้งแต่ 5 ถึง 7 ประการ

นอกจากนี้ยังถูกแบ่งออกเป็นตระกูลต่างๆ ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์
ที่กล่าวถึงต้นกำเนิดของช้างว่า ในขณะที่พระวิษณุบรรทมอยู่ในเกษียรสมุทร
ได้ทรงแสดงเทวฤทธิ์อธิษฐาน ให้มีดอกบัวผุดขึ้นจากพระนาภี 1 ดอก
ดอกบัวนี้มี 8 กลีบ และมีเกสร 173 เกสร พระวิษณุได้ทรงนำดอกบัวนี้ไปถวายแด่พระศิวะ

ซึ่งพระองค์ได้ทรงแบ่งดอกบัวและเกสรดอกบัวนั้นออกเป็น 4 ส่วน
โดยให้กับพระวิษณุ พระพรหม และพระอัคนิ อีกส่วนพระอิศวรได้เก็บไว้เอง
ดังนั้นช้างเผือกจึงแบ่งออกเป็น 4 ตระกูล ตามระบบวรรณะของอินเดียโบราณ

อิศวรพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระอิศวรทรงสร้าง จัดเป็นช้างชาติกษัตริย์
พรหมพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระพรหมทรงสร้าง จัดเป็นช้างชาติพราหมณ์
วิษณุพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระวิษณุหรือพระนารายณ์ทรงสร้างจัดเป็นช้างชาติแพศย์
อัคนิพงศ์ เป็นช้างในตระกูที่พระอัคนิหรือพระเพลิงทรงสร้าง จัดเป็นช้างชาติศูทร


สรุปว่า ช้างเผือกเป็น subset ของช้างสำคัญ
ดังนั้นช้างต้นที่ยืนโรงในพระบรมมหาราชวังจึงไม่จำเป็นต้องเป็นช้างเผือก
ช้างเผือกทุกช้างไม่จำเป็นต้องมีคชลักษณ์ครบทั้ง 11 ประการ
เพราะมีการแบ่งเป็นเผือกเอก เผือกโท และเผือกตรี



Create Date : 15 มิถุนายน 2558
Last Update : 19 มิถุนายน 2558 9:55:06 น. 2 comments
Counter : 1716 Pageviews.  

 
ละเอียดมากเลย ขอบคุณค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 มิถุนายน 2558 เวลา:12:46:23 น.  

 
ปล.พาชมชนบทก็เพราะเลี้ยวผิดน่ะจิ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 มิถุนายน 2558 เวลา:14:34:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]