Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มกราคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
19 มกราคม 2558

สักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน พ.ศ. 2558 (1)

Untitled



องค์ที่ 1 พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปหลัก เพราะตั้งอยู่ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
เนื้อหาขี้เกียจพิมพ์เพราะเราเคยถกกันไปครั้งใหญ่เพื่อหาที่มาของพระพุทธรูปนี้แล้ว


Untitled


องค์ที่ 2 พระพุทธรัตนมหามุนี (พระแก้วน้อย) เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร
จำหลักจากอัญมนีเนื้ออ่อนสีเขียวแตงกวา พุทธศิลป์แบบล้านนายุคหลัง
อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 เดิมพระพุทธรูปชำรุดแตกเป็น 2 ส่วน
เจ้าของเดิมได้มาคนละคราว แต่นำมาต่อได้เป็นเนื้อเดียวกันอย่างน่าอัศจรรย์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รับถวายจาก พ.ต.อ. อานนท์ อาชูบุตร
พระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเมื่อ พ.ศ. 2534

ที่น่าสนใจคือเป็นพระที่เพิ่งพบมาเมื่อไม่กี่ปีนี่เอง
เห็นแล้วนึกถึงพระแก้วมรกต แต่ความจริงพระแก้วมรกตนี่องค์ใหญ่มากนะ
พระพุทธรูปสำคัญอีกองค์ที่ทำจากแก้วผลึกสีขาว แต่เราไม่มีโอกาสได้เห็น
คือ พระพุทธบุษยรัตน์จักรพรรดิพิมลมณีมัย อยู่ที่หอพระในพระที่นั่งอัมพรสถาน


Untitled


องค์ที่ 3-5 พระพุทธรูปปางประทานพร ได้มาจากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย
สมัยราชวงศ์ปาละ พุทธศตวรรษที่ 14 พระหัตถ์ขวาอยู่ในกริยาประทานพร
โดยการแบพระหัตถ์ขวาห้อยออกไปข้างหน้า พระหัตถ์ขวาออกไปข้างหน้า
พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น กำชายจีวรไว้ ปางประทานพร หรือวรมุทรา

จะเห็นได้ว่าพระพุทธรูปปางประทานพรที่นำมาจัดแสดงนี้มี 4 องค์
แต่สองชุดนี้แตกต่างกัน โดยชุด 3 องค์ล่างเก่ากว่าเป็นศิลปะอินเดีย
ปางประทานพรนั้นจำง่ายๆ ว่ามือขวาแบออก ในขณะที่มือซ้ายยกจับชายจีวร

ในขณะที่พระแก้วน้อยเป็นประปางประทานพรศิลปะล้านนา
มือขวาแบออก แต่กลับไม่ยกมือซ้ายขึ้นกำจีวรเหมือนของอินเดีย
นั่นอาจะเป็นไปได้ว่า มีความคลาดเคลื่อนจากกาลเวลาและระยะทาง



Untitled



องค์ที่ 6 พระพุทธรูปแสดงธรรม ศิลปะอินเดียแบบอมราวดีตอนปลาย
หรือศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระตอนปลาย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-12
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้มาจากเมืองนครราชสีมา

เป็นพระพุทธรูปยืนแสดง วิตรรกมุทรา หัตถ์ขวาจีบนิ้วพระอังคุฐ (นิ้วโป้ง)
และพระดัชนี (นิ้วชี้) จนเป็นรูปเป็นวงกลมแทนธรรมจักร
พระพุทธรูปมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สันนิษฐานว่า พ่อค้าชาวเรือ
หรือนักบวชได้นำติดตัวมาจากอินเดียหรือลังกามายังดินแดนสุวรรณภูมิ

นับเป็นพระพุทธรูปรุ่นแรกในดินแดนชมพูทวีปหรือลังกาทวีป
ที่มาสู่ดินแดนประเทศไทยเมื่อ 1400-1500 ปีก่อน

พระพุทธรูปรุ่นแรกๆ น่าจะล้อกับสัญลักษณ์ที่เคยมีมาก่อน คือธรรมจักร
ดังนั้นในกรณีนี้พระพุทธรูปแสดงมุทราหรือท่าทางของมือ โดยจีบเป็นวงกลม
ที่น่าสนใจคือยังเห็นริ้วจีวรแบบพระพุทธรูปแบบคันธาระอยู่
ก่อนที่จะคลี่คลายและสูญหายไปในศิลปะยุคหลัง



Untitled


องค์ที่ 7 พระพุทธรูปปางแสดงธรรมศิลปะทวารวดี อายุพุทธศตวรรษที่ 14-15
พบที่เจดีย์องค์ใหญ่ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ซึ่งในสมัยทวารวดีปางนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของคาถาอริยสัจ หรือเย ธรรมมา ฯ

ซึ่งแปลใจความว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ (ทุกข์)
พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น (สมุทัย)
และความดับแห่งธรรมนั้น (นิโรธ)
พระมหาสมณะมีปรกติทรงสั่งสอนอย่างนี้ (มรรค)

แม้ว่าจะเป็นปางแสดงธรรมเหมือนกัน แต่จะเห็นได้ถึงความแตกต่างที่ริ้วจีวร
เพราะว่าเป็นของที่ทำในไทย ย่อมแตกต่างไปจากต้นฉบับของอินเดีย



Untitled


องค์ที่ 8 พระพุทธรูปปางประทานอภัย เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนตรง
ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างตั้งเสมอพระอุระ หันพระหัตถ์ออก

(อภยมุทรา) อ- คือไม่ ภย คือภัย มุทราคือท่าทาง ดังนั้น พระปางประทานอภัย
จึงไม่ได้หมายความว่า มีคนไปทำร้ายพระพุทธเจ้าแล้วพระองค์ประทานอภัย
แต่หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงประทานพรให้ว่า จงไม่มีภัยอันตรายใดๆ
ซึ่งเราอาจจะสับสนในท่าทางเพราะ การทำมือเช่นนี้ในอินเดียคือการให้พร

พระพุทธรูปปางนี้ในอินเดียที่เป็นต้นฉบับจะยกมือขวาเพียงข้างเดียว
แต่เมื่อมาถึงเขมรกลายเป็นท่ายกสองมือ ซึ่งสืบต่อมาถึงพระพุทธรูปลพบุรี
พระพุทธรูปปางนี้ถ้ายกมือข้างเดียว จะคล้ายกับปางประทานพร
แต่เป็นตรงข้ามกัน มือซ้ายนั้นยกขึ้นแบออก ในขณะที่มือขวาก้มจับชายจีวร



Untitled


องค์ที่ 9 พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย
สองพระหัตถ์ ศิลปะอยุธยา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22
ซึ่งเป็นปางที่เกิดขึ้นในยุคนี้ส่งต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์
เป็นพระพุทธรูปสำคัญของประเพณี 12 เดือน
ในพระราชพิธีไล่เรือเดือนอ้าย เพื่อให้น้ำลดลง ป้องกันมิให้ไร่นาเสียหาย

นอกจากนี้ยังใช้พระราชพิธีขจัดภัยอันตรายต่างๆ เช่น พิธีอาพาศพระนคร
โดยเป็นการผูกพุทธประวัติถึงตอนที่พระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์ห้ามน้ำฝน
ไม่ให้หลากท่วมถึงที่ประทับ และเสด็จทรงจงกลมในภายในวงล้อมที่มีน้ำเป็นกำแพง
เป็นเหตุให้อุรุเวลกัสสป และเหล่าชฏิลทั้ง 500 ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ


Untitled


องค์ที่ 10 พระทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะอยุธยา
พุทธศตวรรษที่ 23ย้ามาจากห้องกลางกระทรวงมหาดไทย ได้มาจากเมืองนครราชสีมา

สร้างขึ้นตามคติ ชมพูบดีสูตร หรือปางทรงทรมานพระยาชมพู
โดยทรงบันดาลเวฬุวันวิหารประดุจเมืองสวรรค์ และเนรมิตพระองค์ทรงเครื่อง
พระจักรพรรดิราชแสดงบุญญานุภาพเหนือพระยาชมพู
และทรงแสดงธรรมจนพระยาชมพูสิ้นมานะ ขอบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา

พระปางห้ามสมุทรเป็นการนำพระปางประทานอภัยยกสองมือแบบลพบุรี
มาใส่เครื่องทรงกษัตริย์ และแนวคิดของช่างก็ย้อนกลับไปว่า
ควรทำปางที่ยกมือข้างเดียวบ้าง ซึ่งทำให้กลับไปคล้ายกับต้นฉบับของอินเดีย



Untitled


องค์ที่ 11 พระพุทธรูปคันธารราฐ เป็นพระพุทธรูปปางขอฝน
สำหรับใช้ใน
พระราชพิธีพิรุณศาสตร์และพระราชพิธีพืชมงคล พระราชพิธีสำคัญของบ้านเมือง
อันเอื้ออำนวยความอุดมสมบูรณ์แก่พระราชอาณาจักร และอาณาประชาราษฏร์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้นายอัลฟองโซ ทอร์นาลี
นายช่างอิตาเลี่ยนปั้นพระพุทธปฏิมายืนปางของฝน
เลียนแบบศิลปะอินเดียแบบคันธาระเมื่อ พ.ศ. 2453

จะเห็นได้ว่าหลังรัชกาลที่ 4 เริ่มมีแนวคิดแบบ realistic ว่าพระพุทธรูปควรคล้ายจริง
โดยกลับมาทำลายจีวรแบบอินเดียในยุคแรก ที่ได้รับอิทธิพลจากกรีกนั่นเอง




Create Date : 19 มกราคม 2558
Last Update : 20 มกราคม 2558 16:23:03 น. 3 comments
Counter : 3114 Pageviews.  

 
องค์เล็กๆ ถ่ายยากมากค่ะ เพ่งแล้วเพ่งอีก ยิ่งมือสั่นเลยทีนี้

หนูถ่ายมาเยอะนะคะ แต่ภาพไหวก็เยอะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 19 มกราคม 2558 เวลา:19:17:36 น.  

 
เมื่อวานได้ไปวัดป่าแดงหลวง
พบพระพุทธนั่งรูปปางประทานพรสวยและเก่ามากไม่แน่ใจว่ามาจากลังกาหรือเปล่า เพราะวัดนี้เป็นวัดที่สร้างให้พระสงฆ์จากลังกามาอยู่สมัยพระเจ้าติโลก ... พระท่านเล่ายังไม่ได้หาอ่านเพิ่มเติม ตอนนี้กำลังอยู่เชียงใหม่

เรื่องวัดพนัญเชิงที่ทักว่าเห็นอะไรแปลกไหม
ไปดูในกูเกิลสิ่งที่แวปเข้ามาในหัวคือ เจดีย์อยู่ไหน

ขอบคุณเรื่องชาดกค่ะ ... บางเรื่องก็คิดออกเช่นพระอินทร์หักฉัตร แต่ไม่แน่ใจต้องได้ท่านผู้รู้ช่วยคอนเฟริม



โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 20 มกราคม 2558 เวลา:8:56:51 น.  

 
สวัสดีอีกรอบค่ะ

มาอ่านเอาความรู้แล้วก็มาคุยเรื่องที่ไปเม้นท์นะคะ


เรากลับคิดว่าการที่คนญี่ปุ่นบางส่วนพยายามพูดภาษาไทยกับคนไทยกลับเป็นเสน่ห์นะคะ เหมือนเค้าพยายามที่จะสร้างความสนิทสนมกับเรา

อารมณ์ประมาณเค้ามาไทยแล้วมีคนพูดภาษาญี่ปุ่นได้น่ะค่ะ

แต่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็ยังพูดญี่ปุ่นอยู่นะคะ ส่วนน้อยจริงๆ ที่พยายามพูดไทย และพูดได้ ส่วนมากก็จะเป็นพวกร้านอาหาร ร้านขายของที่คนไทยไปเยอะๆ นี่แหละค่ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 20 มกราคม 2558 เวลา:10:00:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]