Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤศจิกายน 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
20 พฤศจิกายน 2557

วัดบวรสุทธาวาส : ตำนานพระพุทธสิหิงค์ (5)

Untitled
กระบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ ไม่ทราบตำแหน่งภาพ

ตำนานพระพุทธสิหิงค์เล่มที่ 3 เขียนโดยหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์
โดยได้เรียบเรียงใหม่เป็นตำนานย่อ และกล่าวข้อวิจารณ์ในทางโบราณคดี
เล่มที่ 4 เขียนขึ้นสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยหลวงวิจิตรวาทการ
ได้รวบรวมตำนานพระพุทธสิหิงค์ และได้กล่าวถึงพุทธานุภาพว่า

ผู้ใดมีความทุกข์ร้อนในใจท้อถอยหมดมานะด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
ถ้าได้มาจุดธูปเทียนบูชาและนั่งนิ่งๆ มองดูพระองค์สัก 10 นาที
ความทุกข์ร้อนในใจจะหายไป ดวงจิตที่เหี่ยวแห้งจะกลับมาสดชื่น

หัวใจที่ท้อถอยหมดมานะจะกลับเข้มแข็งมีความมานะพยายาม
ดวงจิตที่หวาดกลัวจะกลับกล้าหาญ ดวงจิตที่เกียจคร้านจะกลับขยัน
ผู้ที่หมดหวังจะกลับมีความหวัง

พ.ศ. 2485 คณะราษฏรได้สร้างวัดพระศรีมหาธาตุแล้วเสร็จ
แล้วได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นพระประธาน
ต่อมาได้อัญเชิญกลับไป โดยอัญเชิญพระศรีสัมพุทธมุนี
พระพุทธรูปสุโขทัยขนาดหน้าตัก 82 นิ้วมาประดิษฐานแทน

หลังจากนั้นพระพุทธสิหิงค์ได้ประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ตลอดมา

ปัญหาสำคัญหลังจากเขียนมา 40 กว่าตอนก็คือ
แล้วพระพุทธรูปองค์ไหนคือ พระพุทธสิหิงค์ในตำนาน
อันเป็นองค์พระต้นแบบที่ทำให้เกิดการทำจำลองต่อมามากมาย
ระหว่างพระพุทธสิหิงค์ที่เชียงใหม่ หรือที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

เรามาเริ่มหาคำตอบที่อาจะมีแต่คำถาม


Untitled
บูชาพระพุทธสิหิงค์ ไม่ทราบตำแหน่งภาพ

พระพุทธสิหิงค์จำลองที่พบจารึกที่ฐานที่เก่าที่สุดพบที่วัดพระเจ้าเม็งราย
ระบุปีที่สร้างคือ พ.ศ. 2012 ตรงกับรัชกาลพระเจ้าติโลกราช
เป็นพระพุทธรูปแบบขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์แสดงท่ามารวิชัย
และพระพุทธสิหิงค์จำลองทุกองค์ก็ยังคงรักษาพุทธลักษณะเช่นนี้

พระพุทธสิหิงค์ที่กรุงเทพ เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนชั้นหลัง
คล้ายพระพุทธรูปสุโขทัย คือ พระรัศมีเป็นเปลว ชายสังฆาฏิยาว เส้นพระศกละเอียด
มีรูปแบบตรงกับพระพุทธรูปลังกา คือนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทำสมาธิ

พระพุทธสิหิงค์ที่เชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนชั้นแรก
นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์มารวิชัย พระรัศมีเป็นต่อม พระพักตร์กลมสั้น
องค์พระอวบอ้วน พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวพระถัน

ดูกันแค่นี้ก็บอกได้ว่า พระพุทธสิหิงค์ที่เชียงใหม่นั้นเก่ากว่า
ที่สำคัญมีพุทธลักษณะตรงกันกับสิหิงคนิทาน และพระพุทธสิหิงค์จำลององค์อื่นๆ
แปลว่า พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานที่วัดพระสิหิงค์ควรจะเป็นพระในตำนาน
แล้วเหตุใดกรมพระราชวังบวรจึงไม่อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้มา?

เราจะย้อนกลับมาหาเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า ในตอนนั้นเจ้าเมืองเชียงใหม่
ได้ขอเวลาเพื่อหล่อพระพุทธสิหิงค์จำลองเพื่อประดิษฐานแทนองค์เดิม
แล้วเกิดการสับเปลี่ยนพระพุทธสิหิงค์ให้กรมพระราชวังบวร
คำอธิบายนี้ดูไม่เป็นเหตุเป็นผลหลายอย่าง


Untitled
อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์หลังสงคราม

1 การหล่อพระสำคัญต้องมีพิธีการมากมาย ไม่ทันเวลาที่จะยกทัพกลับมาแน่ๆ

2. แม้จะขับไล่พม่าออกไปจากลำปางและเชียงใหม่ได้ แต่ก็ยับเยินไปด้วยสงคราม
กำลังพลในเวลานั้นเหลือน้อยนิดไม่เพียงพอที่จะรักษาเมืองเชียงใหม่
สุดท้ายก็อพยพมาตั้งหลักรวมพลที่เมืองลำปาง ทิ้งเชียงใหม่ให้ร้างอยู่ 50 ปี
เชียงใหม่ต้องไม่อยากมีปัญหากับกองทัพกรุงเทพอย่างแน่นอน

3. พระพุทธรูปที่อัญเชิญลงมานั้นมีพุทธลักษณะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
และต่อให้เหมือนกันกันราวกับแกะ กรมพระราชวังบวรก็เคยรับราชการ
อยู่ในอยุธยา ทุกครั้งที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาก็ต้องผ่านหอพระพุทธสิหิงค์
พระองค์ต้องเคยเห็นองค์พระของจริงและจดจำได้อย่างไม่ต้องสงสัย

และจากรูปแบบพระสิงที่อยุธยาจำลองขึ้นล้วนเหมือนพระพุทธสิหิงค์ที่เชียงใหม่
แล้วเหตุใดกรมพระราชวังบวรจึงเลือกที่จะอัญเชิญองค์ที่ไม่คุ้นตามา

อ. พิริยะ ไกรฤกษ์ได้ให้ความเห็นว่า เหตุที่กรมพระราชวังบวร
เลือกที่จะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์องค์นี้มาก็เนื่องจากทรงเห็นว่า
มีพุทธลักษณะตรงกับพุทธศิลป์แบบลังกา อันเป็นตำนานว่าสร้างมาจากที่นั่น
แวบแรกที่อ่าน ผมปฏิเสธเหตุผลนี้ในทันที

ด้วยเหตุผลว่า ในสมัยนั้นความเชื่อย่อมอยู่เหนือความจริง
ถ้าองค์ในตำนานกล่าวไว้ว่าพุทธลักษณะเป็นเช่นไร คนทั่วไปก็ย่อมเชื่อนั้น
จนกระทั่งนึกถึงอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธสิหิงค์สมัยอยุธยา
ว่าด้วยบันทึกของทูตลังกาที่เข้ามาในสมัยพระเจ้าบรมโกศ


Untitled

ปากคลองบางกอกน้อยจากด้านหลังวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 4
มุมซ้ายบนคือโรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน เห็นความรกร้างของวังหลัง


"อนึ่ง ทูตานุทูต อำนาตย์ได้เห็นพระพุทธสิหิงค์ในมณฑปหน้า
มโนรมย์บรมพุทธารามวิหาร ประดับทองเงินรัตนงามวิจิตร
จึงพากันเจรจาเหตุที่ไม่ทราบเรื่องนั้นให้กันฟัง
ราชบุรุษจึงพากันเจรจาเหตุที่ไม่ทราบเรื่องนั้นให้กันฟัง....

ต่างพากันพูดว่าตำนานพระสิหิงคนิทานนี้ ในกรุงศิริวัฒนนครไม่มี
เราให้ราชบุรุษจาฤกส่งมาให้ ขอให้ทูลพระเจ้ากรุงศิริวัฒนแล้วทูลว่า
ขอให้ทรงหวงแหนพระตำนานนี้ไว้ในกรุงศิริวัฒนบุรีด้วย"


แปลเป็นไทยว่า ขุนนางไทยคงพาราชฑูตลังกาไปเที่ยวในพระบรมมหาราชวัง
พอถึงวัดพระศรีสรรเพขญ์ผ่านหอพระพุทธสิหิงค์ ขุนนางไทยเลยคุยอวดว่า
พระพุทธรูปองค์นี้เก่าแก่มากเลยนะ ได้มาจากเมืองลังกาของท่านนั่นเอง
ราชฑูตลังกาก็คงงงแล้วบอกว่า ทำไมที่บ้านเราไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน

เรื่องนี้ทราบถึงพระเจ้าบรมโกศ ก็คงสงสารนึกว่า
เรื่องนี้คงสาปสูญไป เพราะศาสนาพุทธในศรีลังกาเสื่อมความนิยมลงไปนาน
เลยให้ขุนนางเอาตำนานพระพุทธสิหงค์ให้ราชฑูตฝากไปถึงกษัตริย์ลังกา
เพื่อว่าจะได้เป็นประวัติศาสตร์เก็บรักษาไว้

อ. พิริยะ จึงนำส่วนนี้มาตีความว่า กรมพระราชวังบวรได้ทราบเรื่องนี้
เมื่อพระองค์ได้มีโอกาสที่จะอัญเชิญพระพุทธสำคัญลงมาที่กรุงเทพ
จึงเป็นไปได้ว่า พระองค์ได้ตัดสินที่จะละทิ้งตำนานโดยเลือกที่จะอัญเชิญ
องค์ที่ขัดสมาธิราบปางมารวิชัยอันตรงกับแบบพระพุทธรูปในลังกาลงมาแทน

หรือมีเหตุผลอีกอย่างที่ผมนึกได้คือ พระองค์ไม่พบพระพุทธสิหิงค์องค์นั้น
เนื่องด้วยสงครามที่มีมาอย่างยาวนานได้ทำให้พระในตำนานนั้นสูญหายไป

ถึงตรงนี้หลายคนคงได้รับทราบถึงตำนานอันเกี่ยวพันกับพระพุทธสิหิงค์
และอยากที่จะเข้าไปเยี่ยมชมด้วยตนเอง แต่เป็นที่ๆ ขึ้นชื่อว่าหาโอกาสเข้าได้ยาก
เมื่อวัดพระแก้ววังหน้าอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานราชการ
และเค้าเลือกที่จะปิดไม่ให้เข้าเยี่ยมชมไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

ก็เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะทำเช่นนั้น
ผมเองก็ต้องรอถึง 2 ปี กว่าจะได้มีโอกาสเข้าชม
ในยุคสมัยแห่งโลกอินเตอร์เน็ตที่ข้อมูลข่าวสารนั้นหลั่งไหล
ผมเชื่อว่าไม่ยากที่เราจะหาข้อมูลว่า เมื่อไหร่ที่เค้าจะเปิดให้เข้าชม


สามกษัตริย์ท่านสร้าง ปฏิมา
สานต่อพระศาสนา กู่ก้อง
ตำนานเล่าลังกา มาแด่ ขุนราม
หากแต่สามนามพ้อง เช่นนั้น องค์ใด



3/11/2565

วันนี้ได้ฟังบรรยายของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทาง facebook live
ก็ได้ยินเรื่องที่น่าสนใจ จึงขอเพิ่มเติมข้อมูลไว้ตรงนี้
เรื่องที่กรมพระราชาชวังบวรฯ เลือกที่นำพระพุทธสิหิงค์องค์นี้ลงมา
ด้วยหากว่าวันนี้เรามีโอกาสที่จะได้สัมผัสพระพุทธสิหิงค์แบบใกล้ๆ

จะเห็นได้ว่าพระพุทธสิหิงค์องค์นี้มีรอยการซ่อมพระหัตถ์ที่นิ้วโป้งขวา
ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่ว่า พระองค์เลือกพระพุทธสิหิงค์องค์นี้ลงมา
เพราะว่าอาจะเห็นว่านิ้วขององค์พระนั้นชำรุด ซึ่งตรงกับตำนาน
ว่าตอนสร้างนั้นมีตำหนิตรงส่วนนี้ 

และพระองค์ก็ปราถนาที่เป็นกษัตริย์ผู้มีบุญบารมีที่จะซ่อมพระอังคุฐนี้ได้
นั่นก็อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ตอบข้อขัดแย้งนี้ได้
และมีข้อสันนิษฐานอีกหนึ่งอย่าง ที่เพิ่งได้ยินมาเมื่อไม่นาน
จำที่มาไม่ค่อยได้ แต่เกี่ยวข้องกับการแข่งบุญบารมีเช่นกัน

เพราะหากถามถึงพระพุทธรูปสำคัญของวังหลวงหรือรัชกาลที่ 1
ก็คงต้องเป็นพระแก้วมรกตที่พระองค์ได้เป็นผู้อัญเชิญลงมา
แต่สมัยเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
จึงถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บุญของพระองค์

ลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากพระพุทธรูปที่นิยมกันมา
ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายก็คือพระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ
ทำให้เป็นพระราชนิยมที่สำคัญคือ วัดในรัชกาลที่ 1 ส่วนมาก
เลือกที่จะใช้พระประธานปางสมาธิเช่นเดียวกันกับพระแก้วมรกต

ในขณะที่ย้อนกลับในสมัยล้านนาตอนที่สร้างพระพุทธสิหิงค์
รวมถึงพระพุทธสิหิงค์ที่ทำจำลองในสมัยหลังทั้งหมด
ก็เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปางขัดสมาธิเพพชร

ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่จะพบพระพุทธสิหิงค์ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ
แต่กรมพระราชวังบวรฯ ก็หาเจอ เป็นพระพุทธสิหิงค์สกุลช่างสุโขทัย
ที่เข้ามาแพร่หลายในล้านนา ในช่วงเวลาที่เชียงใหม่รับอิทธิพล
พุทธศาสนาที่มาจากลังกาผ่านไปยังรัฐสุโขทัยแล้ว

ถึงตรงนี้เราน่าจะได้เห็นแรงจูงใจของกรมพระราชวังบวรฯ
ที่ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ แล้วรู็ว่าพระพุทธรูปสำคัญของล้านนา
ที่มีชื่อเสียงในระดับตำนานเช่นเดียวกับพระแก้วมรกตก็คือพระพุทธสิหิงค์

และพระพุทธสิหิงค์แบบใดที่พระองค์ควรจะอัญเชิญลงมา 
แล้วจะเป็นพระพุทธสิหิงค์ที่มีบูญญาบารมีทัดเทียมกับวังหลวง
หากรวมเรื่องพระอังคุฐที่ซ่อมแล้ว หรือชำรุดอยู่ที่ตรงกับตำนานด้วยละก็
คงต้องบอกว่า ก็ควรเป็นพระพุทธสิหิงค์ที่วังหน้าปัจจุบันนั่นเอง



Create Date : 20 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2565 13:59:34 น. 4 comments
Counter : 2207 Pageviews.  

 
"วัดพระแก้ววังหน้า" หวังว่าคงจะพอมีบุญได้ตามไปชมเองบ้างค่ะ




โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 21 พฤศจิกายน 2557 เวลา:17:34:48 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ปลาทอง สมองน้อย Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น




โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 22 พฤศจิกายน 2557 เวลา:17:18:01 น.  

 
นั่นซินะคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา:16:00:52 น.  

 
เคยฟังบรรยายเรื่องนี้ว่า
พระสิงห์มีถึงนครศรีธรรมราช มีจารึกด้วยว่าเป็นพระพุทธสิหิงส์

https://www.facebook.com/ArtHistoryClassroom/photos/a.1081006925324405/1169152333176530/?type=3

ไม่ทราบว่ามีวิชาการที่ใหม่กว่านี้แล้วหรือยังค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 8 พฤศจิกายน 2565 เวลา:15:04:35 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]