Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ธันวาคม 2566
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
12 ธันวาคม 2566

อยุธยา : บ้านฮอลันดา



หากพูดถึงเหตุการณ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เราคงคิดถึงความขัดแย้งกับชาติตะวันตกอย่างฝรั่งเศส
แต่มีชนชาติหนึ่งที่ไม่เคยออกหน้าในความขัดแย้งทางการเมืองภายใน
ของกรุงศรีอยุธยา แต่น่าจะเป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลังนั่นคือ ฮอลันดา
 
ซึ่งหมดที่ท่านจะได้อ่านต่อจากนี้
คือข้อมูลที่ได้มาจากส่วนจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์

รัชกาลสมเด็จพระนเรศวร (พ.ศ. 2133- 2148)
พ.ศ. 2144 Admiral Jacob van Neck มาถึงเมืองปัตตานี
พ.ศ. 2145 พ่อค้าฮอลันดา ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท VOC
พ.ศ. 2147 Lambert Jacobsz Heijn เป็นหัวหน้าสถานีการค้า VOC สยาม
และปีนั้น Cornelis Specx  มาถึงอยุธยา เข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร

รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148- 2153)
พ.ศ. 2150 เมื่อผู้แทนบริษัทฮอลันดาหมดวาระ และจะเดินทางกลับฮอลแลนด์ 
สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงขอให้นำคณะข้าราชการไทยจำนวน 20 นาย 
ไปดูงานที่ฮอลแลนด์ ได้เข้าเฝ้า Prince  Maurits แห่งออเรนจ์
และผู้รั้งเมืองแห่งสาธารณรัฐดัตช์ คณะทูตได้ทดลองใช้กล้องส่องทางไกล
และปีนั้น VOC ก่อตั้งสถานีการค้าในเกาะเมืองอยุธยา
 
รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2154- 2171)
พ.ศ. 2160 Cornelis van Neijenrodes  เป็นหัวหน้าสถานีการค้า VOC สยาม
และได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2171 Prince Federik Hendrik แห่งออเรนจ์ และผู้รั้งเมืองแห่ง
สาธารณรัฐดัตช์ ถวายพระราชสาส์น และของบรรณาการแก่กษัตริย์สยาม
 


รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  (พ.ศ. 2173- 2199)
พ.ศ. 2176  Joost Schoufen เป็นหัวหน้าสถานีการค้า VOC สยาม
ได้ตีพิมพ์หนังสือ การพรรณนาเรื่องราชอาณาจักรสยาม 
ที่ได้รับการไปเผยแพร่ทั่วยุโรป ข้อความตอนหนึ่งบรรยายว่า
 

สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงทอดพระเนตรพวกเราด้วยความสนใจ
ขณะที่พวกเราถวายบังคมตามแบบแผนประเพณี
และทรงแสดงพระพักตร์ที่พึงพอใจ

ความอลังการของขบวนพยุหยาตรานี้
ช่างยิ่งใหญ่อย่างวิเศษด้วยขบวนช้างลักษณะงาม ม้าทรงเครื่อง 
คนพร้อมอาวุธ และกลุ่มขุนนางที่สวมเครื่องประดับศีรษะหลากหลาย

เรายังเห็นด้วยว่าดาบที่เจ้าชายแห่งออเรนจ์ได้ถวายในปีนี้
ได้ถูกอัญเชิญนำหน้าพระองค์โดยขุนนาง

แสดงถึงมิตรภาพที่พิเศษต่อชนชาติฮอลันดา
 
ในปีนั้นสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ส่งพระราชสาส์น
และของบรรณาการไปให้ Prince of Orange ผ่าน VOC

พ.ศ. 2177 บริษัท VOC ส่งเรือไปช่วยสยามรบกับปัตตานี
ได้รับรางวัลเป็นสิทธิผูกขาดการค้าหนังกวางกับอยุธยาเป็นเวลาหนึ่งปี
และได้พื้นที่สร้างสถานีการค้าบริเวณปากน้ำเจ้าพระยา 
พวกเค้าตั้งชื่อที่นี่ว่า New Amsterdam


 
 พ.ศ. 2178 โชกุนโตกุกาวะ ได้ออกคำสั่งปิดประเทศญี่ปุ่นอย่างสมบูรณ์
อนุญาตให้เพียงจีนและดัชต์เข้ามาค้าขายผ่านเมืองนางาซากิเท่านั้น
ทำให้เกิดการผูกขาดสินค้าที่สำคัญคือหนังกวางที่ใช้สำหรับทำเสื้อเกราะ
ซึ่งสิ่งนี้มีอยู่มากในป่าทางตอนเหนือของสยาม
 
พ.ศ. 2179 Jeramias van Vliet (เยเรเมียส ฟัน ฟลีต) เป็นหัวหน้า
สถานีการค้า VOC สยาม และเกิดเหตุลูกจ้าง VOC เมาสุราทะเลาะ
กับขุนนางสยาม สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงพิโรธ
และสั่งให้ประหารชีวิตโดยการให้ช้างเหยียบ
 
เยเรเมียส ฟัน ฟลีต ได้ทูลขออภัยโทษไว้และสัญญาว่า
ต่อจากนี้คนฮอลันดาจะปฏิบัติตามกฎหมายของสยาม
เรื่องนี้นำมาซึ่งความไม่พอใจแก่ VOC เป็นอย่างมาก
เรื่องสิทธิภาพนอกอาณาเขตของฮอลันดา ทั้งคน เรือ และสถานีการค้า
จะเป็นหนึ่งข้อเรียกร้องในสนธิสัญญาการค้ากับสยามในเวลาต่อมา
 
พ.ศ. 2179 พระเจ้าปราสาททองขอเปิดการค้ากับญี่ปุ่น แต่ได้รับการปฏิเสธ (1)
พ.ศ. 2180 พระเจ้าปราสาททองขอเปิดการค้ากับญี่ปุ่น แต่ได้รับการปฏิเสธ (2)
พ.ศ. 2181 เยเรเมียส ฟัน ฟลีต ออกหนังสือการพรรณนาเรื่องราชอาณาจักรสยาม 
พ.ศ. 2183 ออกหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (จดหมายเหตุวันวลิต)

พ.ศ. 2186 พระเจ้าปราสาททองขอเปิดการค้ากับญี่ปุ่น แต่ได้รับการปฏิเสธ (3)

พ.ศ. 2190 VOC ได้รับสิทธิ์ผูกขาดการส่งออกหนังกวาง โค และกระบือ
พ.ศ. 2197 พระเจ้าปราสาททองขอเปิดการค้ากับญี่ปุ่น แต่ได้รับการปฏิเสธ (4)
พ.ศ. 2198 Gijsbert Heeck แพทย์ประจำ VOC เขียนบันทึกการเดินทางมาเยือนอยุธยา
 


รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  (พ.ศ. 2199- 2231)
พ.ศ. 2203 VOC ยึดเรือสำเภาหลวงของอยุธยาในทะเลจีนใต้
เพราะอยุธยาแอบส่งเรือไปค้าขายกับญี่ปุ่นโดยใช้ลูกเรือชาวจีน
พ.ศ. 2204 หมู่บ้านฮอลันดาถูกชาวจีนล้อม ต้องปิดสถานีการค้าชั่วคราว

พ.ศ. 2207 ลงนามสนธิสัญญาโดยฮอลันนดาได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
และห้ามสยามใช้ลูกเรือชาวจีนในการเดินทางไปทางตะวันนออก
พ.ศ. 2214 VOC ได้รับสิทธิผูกขาดการส่งออกดีบุกที่นครศรีธรรมราช
  
พ.ศ. 2221 คอนสแตนติน ฟอลคอน มาถึงกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2223 ฟอลคอน ได้รับการแต่งตั้งเป็นออกหลวงสุรสาคร
พ.ศ. 2228 ฟอลคอน ได้รับการแต่งตั้งเป็นออกพระกำแหงภักดี 

พ.ศ. 2228 คณะฑูตฝรั่งเศสนำโดยเดอโชมง เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2229  คณะฑูตไทยนำโดยโกษาปาน เดินทางมาถึงเมืองแบร็สต์ ฝรั่งเศส
พ.ศ. 2230 ฟอลคอน ได้รับการแต่งตั้งเป็น ออกญาวิไชเยนทร์ 
คณะฑูตไทยกลับมาถึงอยุธยาพร้อมฑูตฝรั่งเศสชุดที่ 2 นำโดยเดอ ลา ลูแบร์
 
รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231- 2246)
พ.ศ. 2231 สนสัญญาการค้าฉบับใหม่กับ VOC เพิ่มการผูกขาดการค้าดีบุก
พ.ศ. 2233 Engelbert Kaempffer แพทย์ชาวเยอรมัน ประจำ VOC
มาถึงอยุธยา และได้เขียนบันทึกการเดินทางในสยาม (หมอแกมเฟอร์)

 


รัชกาลพระเจ้าท้ายสระ (พ.ศ. 2251- 2275)
พ.ศ. 2258 ญี่ปุ่นกำหนดให้เรือสินค้าแต่ละชาติเทียบท่าได้เพียงปีละ 2 ลำ
ทำให้  VOC เริ่มขาดทุน อยุธยาหันไปพึ่งการค้าจีนมากขึ้น
พ.ศ. 2265 ชิงสือลู่กล่าวว่า เกิดเหตุการณ์อุทกภัยทางตอนใต้ของจีน
ข้าวอยุธยานั้นราคาถูก จึงขอให้นำข้าวไปขายโดยการยกเว้นภาษีให้
 
ดังจะเห็นได้จากละครเรื่องพรหมลิขิต ที่แสดงถึงอิทธิพลของพระคลังจีน
การค้าที่ซบเซานำไปสู่การปิดสถานีการค้า VOC ที่นครศรีธรรมราช
และสุดท้ายการสงครามระหว่างพม่าในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศทั้งสองครั้ง
ทำให้การค้าของดัชต์ผ่านสถานีการค้าที่อยุธยาโดยตรง จบลงในที่สุด
 
ทำให้นักวิชการกลุ่มหนึ่งสร้างทฤษฎีว่า การค้าหนังกวางของอยุธยา
ที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ไปตั้งเมืองลพบุรีเพื่อที่จะเป็นคลังสินค้า
ของป่าที่ยังมีมากในป่าทางเหนือ ศิลปะสุโขทัยที่เห็นในปัจจุบันนั้น
จึงอาจจะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์นี่เอง
 
ถ้าใช้ทฤษฎีนี้ ก็อาจจะใช้อธิบายสองบล็อกก่อนหน้า
เรื่องการสร้างวัดครุฑรา และการซ่อมวัดพระยาแมนได้ว่า
เมืองนั้นขยายตัวจากการค้ากับทางหัวเมืองเหนือนั่นเอง
และอาจจะแก้ปริศนาว่า ทำไมสุโขทัยจึงเต็มไปด้วยพระสำริด
ทั้งที่ดูแล้วไม่น่าจะร่ำรวยมาก กระทั่งถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย



แต่เหตุผลที่ผมจะใช้อธิบาย มาจากแผนที่แผ่นหนึ่งในบ้านฮอลันดา
หากเริ่มต้นที่ประวัติการสร้างกรุงศรีอยุธยา ที่พระเจ้าอู่ทองมาตั้งเมือง
บริเวณตรงข้ามเกาะอยุธยา หรือวัดพุทไธสวรรย์ จะเห็นในแผนที่
มุมซ้ายล่าง เขียนว่า cochinchainas ไม่ว่าที่มาชื่อนี้จะมากจากไหน
 
แต่ทุกคนเข้าใจตรงกันว่า หมายถึงดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง
ของชนชาติพ่อค้าโบราณ ชาวจามปาที่อยู่ทางเวียดนามตอนใต้
และอาจจะรวมถึงชนชาติขอม เพราะเป็นชนชาติที่เข้าไปโจมตีแถบนี้
ในสมัยพระรามราชา พระองค์จะถูกให้มาครองเมืองนี้ที่ชื่อ ปทาคูจาม
 
ในสมัยพระอินทราชา ที่เชื่อว่าคือพระร่วงที่เสด็จไปเมืองจีน
นั่นน่าจะนำพาชาวจีนน่าเข้ามาที่นี่เป็นจำนวนมาก  ในแผนที่คือ chinois
สมัยพระบรมไตรโลกนารถปรากฏหลักฐานในพงศาวดารว่าไปตีมะละกา
แม้บันทึกอื่นจะบอกว่าไม่ชนะ แต่น่าจะมีการเทครัวลงมา
 
ซึ่งจะเห็นได้ในแผนที่มุมล่างซ้ายต่อจาก chochaina คือ Malais
แต่หลักฐานอื่นที่น่าเชื่อถือบอกว่า นั่นเป็นเป็นสงครามเพื่อปรากบฏ
เพราะอยุธยาอ้างสิทธิ์เหนือมะละกา มาก่อนหน้านั้นแล้ว
ดังที่มีการร้องเรียนไปที่ราชสำนักจีน เพื่อขอให้สั่งอยุธยาเลิกการรุกราน
 


สมัยพระไชยราชาชาวโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารรับจ้าง
ทรงพระราชทานพื้นที่สร้างบ้าน ในแผนที่กลางล่างระบุว่า protugals
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรบุกถึงหงสาวดีได้ น่าจะมีการเทครัวมอญลงมา
ซึ่งมุมซ้ายกลางของแผนที่เขียนว่า paguans หรือชาวพะโค 
  
สมัยพระเอกาทศรถชาติตะวันตกที่เข้ามาต่อจากโปรตุเกสคือฮอลันดา
ก็ได้พื้นที่สร้างบ้านอยู่ทางตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากับบ้านโปรตุเกส
สมัยพระเจ้าทรงธรรม โรนินญี่ปุ่นหนีมาที่อยุธยาเข้ามาจำนวนมาก
จากฝ่ายที่พ่ายแพ้สงครามในการรวมประเทศ โปรดให้สร้างบ้าน
ถัดลงมาจากชาวฮอลันดาในแผนที่เขียนว่า Japponois
 
หากจะถามถึงชนชาติที่บทบาทสำคัญในสมัยพระนารายณ์ ก็คือฝรั่งเศส
พวกเค้าคงอยู่เพียงชั่วหนึ่งรัชกาล ไม่ได้ลงหลักปักฐานทางการค้า
หลักฐานที่ปรากฏในแผนที่นี้มีเพียงบ้านราชทูตฝรั่งเศสในเกาะเมือง
ที่อยู่ตรงข้ามวัดพุทไธสวรรย์
 
และภาพไม้กางเขนตรง cochinchinas ที่ต่อมากลายเป็นวัดนักบุญยอเซฟ
สัมพันธ์กับการที่ฝรั่งเศสเริ่มเข้าไปเผยแผ่ศาสนาในดินแดนอันนัม
จะเห็นได้ว่า ชาวต่างชาตินั้นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของเกาะเมือง
สัมพันธ์กับเส้นทางการค้า ที่ต้องอาศัยแม่น้ำเจ้าพระยาออกอ่าวไทย

แล้วคนสยามอาศัยอยู่ที่ไหน บันทึกกล่าวว่าพวกเค้าตั้งเรือนแพ
กันอยู่อย่างหนาแน่นบริเวณแม่น้ำลพบุรี ในแผนที่จะปรากฏคำว่า
Siamois อยู่สองแห่ง นั่นคือทางซ้ายและด้านบนของแผนที่
สัมพันธ์กับการค้า ที่ลำเลียงของลงมาจากตอนบนของแผนที่
 


ถึงตรงนี้ แผนที่ให้คำตอบว่าอยุธยาคือเมืองท่าของชาวต่างชาติ
พวกเค้าถูกกำหนดให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของเกาะเมือง
ในขณะที่พระราชวังหลวงอยุธยา จะอยู่ชิดกับแม่น้ำลพบุรี
อันเป็นสถานที่ตั้งบ้านเรือนชาวสยาม 
 
เวลาผ่านไปจนถึงสมัยปลายอยุธยาตามอายุที่เห็นในแผนที่
ในเกาะเมืองล้วนเต็มไปด้วยตลาดและวัดวาอาราม 
ไม่เหลือพื้นที่ให้สร้างวัดใหม่ๆ ได้อีกแล้ว
ราชวงศ์บ้านพลูหลวงจึงต้องไปสร้างวัดทางเหนือของเกาะเมือง
 
รวมถึงการไปบูรณะวัดในฝั่งตะวันออก ที่นักวิชาการเรียกว่าเมืองอโยธยา
คือวัดกุฎีดาวและวัดมเหยงค์ จนเป็นวัดขนาดใหญ่ในสมัยปลายอยุธยา
ซึ่งในแผนที่ฉบับนี้จะเห็นได้ว่า คือที่ว่างอยู่ทางตอนขวา
มีเพียงตารางสีเหลี่ยม ไม่ปรากฏชื่อการตั้งบ้านเรือนของชนชาติใด
 
ทำให้เห็นว่าน่าจะมีอะไรบางอย่าง เหตุผลที่จะอธิบายได้นั้นเป็นไปได้สองทาง
หนึ่งอาจจะเป็นเมืองเก่าที่เต็มไปด้วยโบราณสถานจนชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปอยู่
ก็จะสอดคล้องกับนักวิชาการที่ออกมาเรียกร้องให้แก้ไขเส้นทางรถไฟความเร็วสูง
เพราะเชื่อว่านี่คือเมืองอโยธยาที่มีความเก่ามากกว่ากรุงศรีอยุธยาเป็นร้อยปี
 
หรือสองเหตุผลคือตามที่เห็นในแผนที่ที่บอกว่าน่าจะเป็นนาหลวง
และขอสนับสนุนเหตุผลนี้ด้วยหลักฐานช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาว่า
ชาวจีนใช้คลองสวนพลูนี้ขึ้นไปลอกทองที่พระพุทธบาท
และพระเจ้าตากก็ใช้เส้นทางนี้ฝ่าพวกพม่าออกไป

 กล่าวกันว่าพม่าเลือกตั้งทัพตามวัดที่อยู่นอกเกาะเมืองเพราะเป็นโคกสูง
ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่พม่าที่ยกทัพมาเรือนเสนจะเปิดเส้นทางฝั่งนี้ไว้
เว้นเสียแต่ในทางชัยภูมิเองที่ทำให้ทิศนี้ไม่เหมาะสมต่อการตั้งกองทัพ
เมืองเก่าอโยธยาจะมีจริงหรือไม่ สักวันเราคงจะมาไขปริศนาเรื่องนี้กัน



Create Date : 12 ธันวาคม 2566
Last Update : 19 ธันวาคม 2566 9:33:53 น. 7 comments
Counter : 571 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณtuk-tuk@korat, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณhaiku, คุณอุ้มสี, คุณเจ้าหญิงไอดิน


 
แวะมาส่งกำลังใจเรียบร้อย



โดย: หอมกร วันที่: 12 ธันวาคม 2566 เวลา:14:25:41 น.  

 
ต้องขุดค้นอีกเยอะนะคะ
ทำไมไม่คิดว่าพระพุทธรูปสุโขทัยอาจได้อิทธิพลมาจากล้านนาบ้างเนาะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 12 ธันวาคม 2566 เวลา:14:29:53 น.  

 
ปล. ไปเที่ยวนครสวรรค์กันค่ะ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tuk-tukatkorat&month=09-12-2023&group=78&gblog=1


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 12 ธันวาคม 2566 เวลา:14:30:59 น.  

 
พอดีฟังยูทูป เรื่องสุโขทัยคดี
ว่าสุโขทัย เป็นชนชาวเรือง
หลักฐานจากต่างชาติเช่นจีน เรียกกลุ่มคนบริเวณที่ตำแหน่งสุโขทัยนี้ว่า เสียม
จากจารึก ภาษาหลายคำ คล้ายไทกะได เช่นคำว่า ปก
(ใจเราถ้าเป็นคำเมืองจะคิดถึงคำว่าเปาะ แปลว่ามารวมกัน เพิ่มเติม หรือบวก )
และอีกหลายคำที่เราคนเหนือจะรู้ความหมายว่าเป็นภาษา คำเมืองจริง ๆ
สุโขทัยมีรากสัมพันธ์กับลาวกาว - น่าน
หากเป็นเช่นนั้นได้ การรับศิลปะพระพุทธรูปมาจากล้านนาก็ไม่ใช่เรื่องยาก
เราก็ว่าไปตามที่เที่ยวมา อ่านมา ฟังมานะคะ
เพราะพระพักตร์พระพุทธรูปจากยุดยาก็แข็ง ๆ จะเอามาจากศิลปะยุโรปหรือ ก็ต้องหาหลักฐานกันละว่ามาได้แต่ตอนไหน นะคะ



โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 13 ธันวาคม 2566 เวลา:8:47:31 น.  

 


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 13 ธันวาคม 2566 เวลา:10:53:13 น.  

 
ตามมาเที่ยวด้วยคนค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 14 ธันวาคม 2566 เวลา:8:15:30 น.  

 
น่าไปเที่ยวนะคะ


โดย: เจ้าหญิงไอดิน วันที่: 14 ธันวาคม 2566 เวลา:18:15:24 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]