Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
เมษายน 2558
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
10 เมษายน 2558

สืบหาทวารวดี : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ (6)

Untitled


จะเห็นว่ามีคำหนึ่งที่กล่าวถึงคือ อวาทานศตก มันคืออะไร

ย้อนกลับในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จปรินิพพาน
เหล่าพระอัครสาวกได้ดำริกันว่า เห็นควรจะต้องมีการสังคายนาพุทธวจนะ
แต่เหล่าสงฆ์ที่มาประชุมกันมีความเห็นแตกเป็นสองฝ่าย

ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ควรรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้อย่างเคร่งครัดเรียกว่า นิกายเถรวาท
แต่มีพระสงฆ์อีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่าพระธรรมนั้นสามารถปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
อีกกลุ่มหนึ่งก็ยึดว่าไม่เคยได้ฟังจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ดังนั้นจะเคารพในสิ่งที่อาจารย์ได้ถ่ายทอด

ซึ่งหากนับจำนวนแล้วฝ่ายหลังมีมากกว่าจึงเรียกนิกายนี้ว่า มหาสังฆิกะ
แต่ทั้งหมดยังคงเป็นหินยาน ที่เชื่อมั่นในการหลุดพ้นด้วยตนเอง
เมื่อเวลาผ่านไปพุทธศาสนาฝ่ายหินยานก็เกิดนิกายต่างๆ ถึง 18 นิกาย

พระไตรปิฏกของฝ่ายเถรวาทเป็นภาษาบาลี นอกจากจะบรรจุธรรมวินัยแล้ว
ยังมีชาดกต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสสั่งสอนไว้ ปัจจุบันนับได้ 547 เรื่อง
ในขณะที่นิกายอื่นเช่น สรวาสติวาทนั้นก็มีคัมภีร์ของตนเองในภาษาสันสกฤต
ประกอบไปด้วยประวัติพระพุทธเจ้าและนิทานประเภทอวทานเช่นเดียวกัน

เกษเมนทระมีชีวิตอยู่ในช่วง 1553-1613 เป็นปราชญ์ของแคว้นแคชเมียร์
พ.ศ. 1595 ได้รวบรวมพุทธศาสนาประเภทอวทาน จำนวน 107 เรื่อง
ซึ่งเดิมอยู่ในรูปแบบที่อ่านยากให้อยู่ในรูปแบบที่สั่นกระชับเข้าใจง่าย
เรียกว่า โพธิสัตตวาวทาน-กัลปลตา หรือ อวทาน-กัลปลตา

ต่อมาบุตรของเค้าได้เรียบเรียงเพิ่มขึ้นอีก 1 เรื่องเพื่อให้ครบ 108 เรื่อง


Untitled


นับเป็นการรวบรวมอวทานไว้มากที่สุดโดยมีที่มาจากหลายแหล่ง เช่น

อวทานศตก ที่เรียบเรียงไว้ในพุทธศตวรรษที่ 7 มีอวทานทั้งหมด 100 เรื่อง
ทิวยาวทาน ที่เรียบเรียงไว้ในพุทธศตวรรษที่ 7-9 มีอวทานทั้งหมด 38 เรื่อง
มหาวัสตุอวทาน ของนิกายโลโกตตรวาท
จะเห็นได้ว่านิทานประเภทอวทานนั้นถูกบรรจุอยู่ในหลายคัมภีร์

เนื้อเรื่องนั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นการเสียสละตนเองอย่างถึงขีดสุด
แม้กระทั่งชีวิตของตนของอดีตพระโพธิสัตว์เพื่อที่จะบรรลุธรรม

เมื่อเวลาผ่านไปอวทานต่างๆ ก็เผยแพร่เข้ามาสู่สุวรรณภูมิ
พระเถระชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมไว้ในชื่อ ปัญญาสชาดก
ที่น่าจะย้อนกลับไปได้ถึงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22
จึงเป็นชาดกที่ดูโหดร้ายจนแตกต่างไปจากชาดกที่เรารู้จักกัน

ด้วยมีที่มาจากอวทานของอินเดียในสมัยโบราณนั่นเอง

จากชาดก อ. พิริยะเชื่อว่าทวารวดีนับถือศาสนาพุทธนิกาย สรรวาสติวาท


Untitled



นันทนา ชุติวงศ์ นั้นเห็นต่างว่าภาพปูนปั้นนั้นเป็นชาดกที่ปรากฏในพระไตรปิฏก
โดยมีความคิดว่าพระพุทธศาสนานิกายต่างๆ ได้ใช้นิทานเหล่านี้ร่วมกัน
ทุกเรื่องเป็นเรื่องพระอดีตชาติของพระศรีศากยมุนี
มิใช่เรื่องราวของพระโพธิสัตว์อื่นใด นอกเหนือไปจากพระพุทธเจ้าในกัลป์นี้
ดังนั้นคนในสมัยทวารวดีจึงควรนับถือพุทศาสนา นิกายเถรวาท

ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุลได้แปล buddhist folk tales depicted at Chula Pathon cedi
ออกมาเป็นภาษาไทยในชื่อ พุทธศาสนานิทานที่เจดีย์จุลประโทน
โดยท่านนั้นเห็นด้วยกับการตีความของ อ.พิริยะ ไกรฤกษ์ ว่า
เรื่องราวบนปูนปั้น เป็นเรื่องราวอวทาน

แต่เมื่องลงไปที่ประชาชนท่านเห็นด้วยกับ นันทนา ชุติวงศ์ ว่าส่วนใหญ่
นับถือพุทธ นิกายเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลีเป็นหลัก ดังปรากฏที่พบในจารึก
แต่การนำอวทานศตกะ มาประดับลานประทักษิณของจุลประโทนเจดีย์
อาจจะเป็นความเชื่อของชนชั้นสูง ที่ใช้ภาษาสันสกฤตในทางราชการ



Create Date : 10 เมษายน 2558
Last Update : 16 เมษายน 2558 9:27:07 น. 3 comments
Counter : 1462 Pageviews.  

 
อ่านอดีตได้จากศาสนาค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 10 เมษายน 2558 เวลา:13:48:38 น.  

 
อ่านต่อค่ะ


*** ที่บ้านชอบขับรถเที่ยวค่ะ เลยไม่เคยพาลูกนั่งเครื่องบินเลย ข้อดีคือได้แวะเรื่อยเปื่อย ชอบภาพระหว่างทางทุกที่ ที่ไป ข้อเสีย คือเสียเวลา แต่น่าจะคุ้มค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 10 เมษายน 2558 เวลา:18:37:02 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 11 เมษายน 2558 เวลา:5:52:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]