Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤศจิกายน 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
25 พฤศจิกายน 2557

นิทรรศการพิเศษ : ธรรมราชาธิราช

Untitled
จารึกขุนจิตขุนจอด พบคราวขุดแต่งวัดมหาธาตุ สุโขทัย


เคยเล่าแล้วว่า สงครามใหญ่ระหว่างอยุธยาและล้านนานั้นเกิดจาก
การทุรยศของพระยายุทธฐิระไปเข้ากับพระเจ้าติลกราช
ด้วยเหตุที่ว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถไม่แต่งตั้งให้เป็น
พระมหาธรรมราชาองค์ที่ 5 แห่งอาณาจักรสุโขทัย

เหตุใดเพียงนามอันเป็นคำเรียกขานจึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รบพุ่งครั้งใหญ่
เราจะมาติดตามกันใน นิทรรศการพิเศษ ธรรมราชาธิราช
จัดขึ้นที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร
ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2555

สถานที่นี้อยู่ที่ด้านหลังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์อันประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์
แตกต่างกันที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เข้าฟรี แต่ที่นี่ต้องซื้อบัตรผ่าน 20 บาท
แต่เราสามารถที่หลบหลีกสิ่งนี้ได้หากไปฟังงานเสวนาพิเศษประกอบนิทรรศการ
ซึ่งนอกจากจะมีการบรรยายถึงเรื่องราวอันเกี่ยวข้องยังมีการนำชมฟรีอีกด้วย

ชื่องานนี้มาจากคำสองคำมาเชื่อมกัน คำแรกคือ ธรรมราชา
คำที่สองคือ ราชาธิราช แล้วสองคำนี้แตกต่างกันเช่นไร

Untitled
หีบพระธรรมแสดงภาพพระเจ้าสิริจุฑามณี
พระโพธิสัตว์ผู้อุทิศร่างกายให้พราหมณ์พิการ ศิลปะล้านนา จากวัดบุญยืน อ. เวียงสา จ. น่าน



เมื่อย้อนกลับไปในสมัยก่อร่างอาณาจักรไทยในเขตภาคเหนือตอนล่าง
ผู้นำชุมชนที่ตั้งตนเป็นใหญ่ล้วนมีพระนามเพียงพ่อหรือขุนซึงเป็นคำไทยๆ
สื่อถึงผู้เป็นใหญ่หรือผู้นำที่เหนือกว่าสามัญชนผู้อยู่ใต้การปกครองเท่านั้น
ได้แก่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนบานเมือง พ่อขุนรามคำแหง

ต่อมาเมื่ออาณาจักรเริ่มกว้างไหญ่มีการใช้คำว่าพญา อันน่าจะมีที่มาจากภาษามอญ
ได้แก่ พญาไสสงคราม พญาเลอไท พญางั่วนำถม

แต่หลังจากกลุ่มอำนาจลุ่มเจ้าพระยาก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา
โดยพระเจ้าอู่ทอง สถาปนาตนเองเป็นสมเด็จพระรามาธิบดี
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ราชวงศ์อู่ทองนั้นสืบทอดความเจริญ
มาจากวัฒนธรรมขอม จึงสมมุติตนเองเป็นดั่งพระรามผู้เป็นใหญ่

ตรงกับรัชกาลของพระยาลิไทที่ครองอำนาจอยู่ที่สุโขทัย
ที่ได้ส่งส่งสมณทูตไปลังกาเพื่อขอคัดลอกพระไตรปิฏก
กลับมาเจริญพระพุทธศาสนาในอาณาจักรได้อย่างรุ่งเรือง
แต่ในทางโลกอำนาจกลับถูกสั่นคลอนจากการสถาปนากรุงศรีอยุธยา

ถ้าพระองค์ไม่แสดงความยิ่งใหญ่เทียบแข่งกับพระนารายณ์อวตารแล้ว
คงทำให้หัวเมืองในอาณาจักรแสดงความกระด้างกระเดื่อง
ด้วยผู้ปกครองนั้นเป็นเพียงพระยาหรือเจ้าเมืองผู้เป็นใหญ่
จึงเป็นเหตุผลที่พระยาลิไทสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นมหาธรรมราชา

Untitled
รอยพระพุทธบาท ศิลปะอยุธยา ขุดพบที่วัดพระราม


ธรรมราชานั้นแปลตรงตัวว่า ราชาแห่งพระธรรม
อันเหมายถึง องค์พระสัมมาพระพุทธเจ้านั่นเอง
เพราะพระองค์เป็นผู้สถาปนาพุทธศาสนาให้ยิ่งใหญ่
เป็นราชาเหนือใครในโลกแห่งศาสนา

พระผู้เป็นเจ้าผู้อวตารกลับมาปราบทุกข์เข็ญในโลกของฮินดู
เผชิญหน้ากับศาสดาผู้เป็นใหญ่ของศาสนาพุทธ
ฉะนั้นต่างคนต่างยิ่งใหญ่ไม่แตกต่างกัน

จะเห็นได้ว่า จุดประสงค์ของการใช้คำว่า ธรรมราชา
คือการประกาศว่าตัวพระองค์นั้นก็เป็นใหญ่เหนือใครทั้งปวง

ที่สุโขทัยพระยาลือไทได้สืบต่อความเป็นพระมหาธรรมราชา
ส่วนที่กรุงศรีอยุธยาขุนหลวงพระงั่วได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
เฉลิมพระนามเป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราช
แปลว่า ราชาผู้เป็นใหญ่เหนือพระราชาผู้อื่น

จะเห็นได้ว่าราชวงศ์สุพรรณภูมินั้นแตกต่างไปจากราชวงศ์อู่ทอง

แนวคิดนี้ได้มาจากอินเดียที่มีมหาราชผู้เป็นใหญ่เหนือกว่าราชาคนอื่น
ด้วยการแผ่เกียรติคุณทางอำนาจจากการทำสงครามปราบปราม
ซึ่งเป็นแนวคิดที่สามที่ต่อมาเราคุ้นเคยในนาม พระจักรพรรดิราช
ซึงประกอบไปด้วยแก้วสิบประการ เช่น ขุนพลแก้ว ช้างแก้ว เป็นต้น

พระมหากษัตริย์พระองค์ต่อๆ มาของอยุธยาได้เฉลิมพระนามซ้ำๆ
ระหว่างพระรามาธิบดีและพระบรมราชาธิราช

Untitled
พระยมทรงกระบือ พุทธศตวรรษที่ 18 จากโบราณสถานกู่พันนา สกลนคร


จนกระทั่งเมื่อพระเทียรราชาสถาปนาพระองค์ขึ้นพระมหากษัตริย์
ซึ่งในรัชกาลของพระองค์มีช้างเผือกในครอบครองเป็นจำนวนมาก
จึงเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แต่ในความหมายนั้น
ก็ไม่แตกต่างบรมราชาธิราช หรือราชาผู้อยู่เหนือราชาทั้งปวงเช่นกัน

ผู้ที่ร่วมมือในการชิงราชสมบัติให้แก่พระองค์ คือเจ้านายสุโขทัย
ผู้ถูกรวบอำนาจจนสูญสิ้นไปนับแต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ
ด้วยความดีความชอบจนถึงขนาดจึงได้พระราชทานนามเป็นที่
สมเด็จพระมหาธรรมราชา ตำแหน่งที่พระยายุทธฐิระเคยหมายปอง

แต่เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์กลับเลือกที่จะไม่ใช้พระนามนี้
พระองค์ได้สถาปนาพระองค์เป็นสมเด็จพระสรรเพชญ์
พระนามนี้แปลตรงตัวว่า ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างหรือผู้รู้ทั่ว
ซึ่งเป็นอีกพระนามในการเรียกขานถึง พระพุทธเจ้า

พ้องกับพระนามของพระศรีสรรเพชญดาญาณ
พระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองของกรุงศรีอยุธยา

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นพระนามที่เราจะพบในพระสุพรรณบัฏ
ที่ได้สูญหายไปในการสงครามเสียกรุงจนหมดสิ้น
ที่ตกทอดมาถึงในปัจจุบันมีเพียงพระนามที่กล่าวไว้ในกฎหมายฉบับต่างๆ
ที่ตราขึ้นในรัชกาลนั้นๆ เพราะคนโบราณจะไม่เอ่ยพระนามออกมาตรงๆ

Untitled
จารึกลานทองวัดส่องคบ พ.ศ. 1951 จากเจดีย์วัดส่องคบ ชัยนาท


ในจารึกขุนจิตขุนจอดที่เป็นการจารึกสบถระหว่างเมือง
ได้กล่าวถึงธรรมราชาอีกนามหนึ่งที่เป็นความเชื่อของคนในยุคสมัยนั้น
คือ พระยม ด้วยความเชื่อตามคติของอินเดียว่า
เป็นผู้ที่ตัดสินความดีความเลวของมนุษย์ในกาลเวลาสิ้นสุดแห่งชีวิต

นอกจากนี้ในจารึกยังเอ่ยนามของธรรมราชาอีกผู้หนึ่งให้มาเป็นสักขีพยาน
ผู้ที่เป็นลูกของพระยมตามวรรณคดีมหาภารตะ นั่นก็คือยุทธฐิระนั่นเอง
คราวนี้คงเข้าใจกันแล้วใช่ไหมว่า ชื่อนี้นั้นไม่ได้ตั้งขึ้นมาอย่างไร้เหตุผล
เพราะนามนี้ก็มีความสื่อถึงซึ่งความเป็นมหาธรรมราชาด้วยเช่นเดียวกัน

จากจารึกพระเยาที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปร่วมกัน
ของพระยายุทธฐิระกับพระยาธรรมาโศกราชในบล็อกก่อน
ผมตีความว่าน่าจะเป็นพระเจ้าติลกราชแต่เพ่งไปอ่านหนังสือมา
เค้าบอกว่าอาจจะเป็นน้องชายของพระยายุทธฐิระก็เป็นได้

นั่นยังไม่ใช่ข้อยุติ แต่ผมอยากจะกล่าวก็คือนามธรรมมาโศกราช
คำนี้ก็เป็นอีกหนึ่งชื่อที่ใช้กล่าวถึงความเป็นราชาธิราชเช่นกัน
โดยเป็นการนำพระนามของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ทั้งทางโลก
และทางธรรมของอินเดียคือพระเจ้าอโศกมหาราชมาใช้นั่นเอง


Untitled
เครื่องราชูปโภคถวายเป็นพุทธบูชา กรุวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา


ในนิทรรศการพิเศษนี้มีการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ อีกมากมาย
ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความเป็นราชาผู้อยู่เหนือราชา
และสิ่งของที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าในฐานะราชาผู้อยู่สูงสุด

พระมหาธรรมราชาจึงหมายถึงกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ทางธรรม
ราชาธิราชจึงหมายถึงกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในทางโลก
แต่ในสมัยโบราณนั้นแทบจะไม่มีการแยกกันระหว่าง
สงครามแห่งการชิงดินแดนหรือการบำรุงพระศาสนา

มาถึงตรงนี้เราคงเข้าใจได้ว่า การไม่แต่งตั้งพระยายุทธฐิระ
ขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชานั้นมีความหมายเพียงใด
และเหตุใดสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถจึงเลือกที่จะทำเช่นนั้น
เพราะในหนึ่งแผ่นดินย่อมมีราชาผู้ยิ่งใหญ่ได้เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น

และปฐพีอยโธยาก็มีเจ้าแห่งสามโลกานามบรมไตรโลกนารถอยู่แล้ว



Create Date : 25 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 12 มิถุนายน 2561 11:25:38 น. 5 comments
Counter : 2599 Pageviews.  

 
น่าสนใจมากๆ ค่ะ


โดย: sawkitty วันที่: 25 พฤศจิกายน 2557 เวลา:16:44:09 น.  

 
เข้าใจว่าคนที่ครองเมืองทางล้านนา ใช้ พญามาตลอดค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา:15:39:47 น.  

 
อ่านสนุก และ พยายามจะจำให้ได้ด้วยค่ะ (หวังว่านะคะ)


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog
lovereason Literature Blog ดู Blog
Close To Heaven Food Blog ดู Blog
เฉลิมลาภ ทราบแล้วเปลี่ยน Home & Garden Blog ดู Blog
ปลาทอง สมองน้อย Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น







โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา:19:51:28 น.  

 
โหวตหมวดความรู้ให้ค่า

ร้านทั้งสี่ร้านที่ไปเม้นท์ ไม่เคยกินสักร้านเลยค่ะ แหะๆ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 1 ธันวาคม 2557 เวลา:18:52:36 น.  

 
ภาพซ้ำ มุมซ้ำๆ มังคะ

สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ล้างเมืองเลย ก็ราบเรียบหมดสิคะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 1 ธันวาคม 2557 เวลา:20:40:58 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]