ส้มแขก ไม่ใช่ ส้มควาย
ส้มแขก ไม่ใช่ ส้มควาย มาทำเรื่องส้มแขกก็ประมาณเดียวกับทำเรื่องดอกไม้สีม่วงตระกูลตะแบก (วงศ์ Lythraceae) ทั้งหลาย เพราะจะมีพืชที่หน้าตาคล้าย ๆ กันอยู่ในตระกูลเดียวกัน คือ ส้มแขก และ ส้มควาย ที่คนมักสับสน ว่าไหน คือ ส้มแขก ไหน คือ ส้มควาย ???
https://goo.gl/DIxaif ส้มแขก และส้มควาย เป็นผลไม้ภาคใต้ ที่คนภาคอื่น ๆ หรือคนส่วนใหญ่มักเรียกชื่อสับสนกัน หรือบางท่านคิดว่าเป็นต้นเดียวกันด้วยซ้ำ ... ข้อมูลในเน็ตก็สับสนพอกัน พูดถึงส้มแขกแต่เอารูป ส้มควายมาใส่ สรรพคุณส้มแขกน่าสนใจมาก ใครสนใจก็ตามมาเลยค่ะ
https://goo.gl/HYdakS
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia cambogia Desr.Common name : Garcinia, Garcinia Cambogia, Malabar tamarindชื่ออื่น : ส้มควาย (ตรัง) ส้มมะวน ส้มพะงุน (ปัตตานี) ชะมวงช้าง ส้มมะอ้น (ใต้) อาแซกะลูโก Aa-sae ka-luu-ko (Malay-Yala)วงศ์ : Guttiferae หรือ Clusiaceae (วงศ์เดียวกับ มังคุด ชะมวง )ถิ่นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส้มควาย ไม้วงศ์มังคุด ตอนยังอ่อน ๆ ลักษณะก้นเหมือนกันมาก พันธุ์ไม้วงศ์มังคุดนี้ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้น พบน้อยมากที่เป็นไม้พุ่ม ลำต้นและส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ และ ผล เมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางเหนียวใส สีขาวขุ่น หรือสีเหลืองอ่อน (นึกถึงมังคุดจะเข้าใจได้) ค่อย ๆ ซึมออกมาเป็นเม็ด ๆ น้ำยางเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
https://goo.gl/OV9xUY Photo by : Tauʻolunga Garcinia sessilis ; flower; (heilala) national flower of Tonga
ส้มแขก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง วงศ์เดียวกับมังคุดและชะมวง เปลือกต้นเมื่ออ่อนสีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาลอมดำ ลักษณะต้นและใบคล้ายกับต้นมังคุด ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านนอกสีเขียว ด้านในสีแดง ก้านดอกยาวประมาณ 0.5-1.7 ซม. มีเกสรเพศผู้เรียงอยู่บนฐาน รองดอก ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยว แทงออกมาจากปลายกิ่งมีขนาดเล็กกว่าดอกตัวผู้ รังไข่รูปทรงกระบอก ดอกช่อ แยกเพศ แยกต้น เมื่ออ่อนมีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้ม
https://goo.gl/zHH1TX
ผล เป็นผลเดี่ยว ผลแก่มีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง ผลกว้างประมาณ 6-7 ซม. ยาวประมาณ 4-5 ซม. ขั้วผลยาวประมาณ 2 ซม. มีรกอยู่ตรงกลาง มีเมล็ด 11-12 เมล็ด เปลือกผลเป็นร่องตามแนวขั้วไปยัง ปลายผล มี 10-15 ร่องที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 2 ชั้น ๆ ละ 4 กลีบ ทั้งสองชั้นเรียงสลับกัน เมล็ดแข็ง สมบูรณ์ 2-3 เมล็ดต่อผล มีใบเลี้ยงอวบหนา เนื่องจากมีอาหารสะสมอยู่มาก
https://goo.gl/0BqT50 เนื้อมีรสเปรี้ยวจัด เมล็ดลีบแบน เนื้อส่วนที่แข็ง มี กรดซิตริก กรดทาทาร์ริก กรดมาลิก และ กรดแอสคอร์บิก กรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric acid: HCA) และ ฟลาโวนอยด์ [1] นำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหารเช่น แกงส้ม ผลส้มแขกสุกเป็นสีส้มเหลือง ส้มแขกที่หั่นเป็นชิ้นแล้วตากแดดให้แห้ง ในภาษามาเลย์เรียก อาซัมเกอปิง มีขายทางการค้า ใช้แต่งรสเปรี้ยวในสลัด แกง และต้มต่าง ๆhttps://goo.gl/3cPt2s ดอก ส้มแขก ออกตามปลายยอด ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านในสีแดง ด้านนอกมีสีเขียว มีเกสร เพศผู้เรียงอยู่บนฐานรองดอก ส่วนดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวแทงออกจากปลายกิ่งมีขนาดเล็ก กว่าดอกเพศผู้ รังไข่มีรูปทรงกระบอกhttps://goo.gl/3cPt2s
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ แผ่นใบเรียง ใบอ่อนสีน้ำตาลอมแดง ใบแคบค่อนข้างยาว ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ใบยาวประมาณ 10-20 ซม. กว้างประมาณ 4-5 ซม. ก้านใบยาว ประมาณ 1-2 ซม. ใบแห้งมีสีน้ำตาลการขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วย เมล็ด/หน่อ/ติดตา/ต่อยอด
ส้มแขก กับ ส้มควาย ลักษณะคล้ายกันมาก แต่ลักษณะผลของส้มแขกจะผลแป้นกว่า และมีขนาดเล็กกว่าส้มควายลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางทรงพุ่มใหญ่ สูงประมาณ 5-7 ม. (เตี้ยกว่าต้นส้มควาย) เปลือกสีน้ำตาลอมดำคล้ายต้นชะมวง เมื่อลำต้นเป็นแผลจะมียางสีเหลืองออกมา เนื้อไม้แข็ง
ส้มควาย ไม่ใช่ ส้มแขก ส้มควาย ที่คนมักสับสนว่าเป็นต้นเดียวกับ ส้มแขกhttps://goo.gl/RCyIkz ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia atroviridis Griff. ex T. Andersonลักษณะลำต้น : มีลักษณะทรงพุ่มกว้าง ลำต้นสูงใหญ่ประมาณ 20–25 เมตรใบ : เป็นพืชไม่ผลัดใบ ใบมีขนาดใหญ่โต ผิวมันคล้ายใบมังคุด แต่มีขนาดใหญ่ และสีจางกว่าใบมังคุดดอก : ดอกออกตามปลายยอด คล้ายดอกมังคุด
ผล : ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแก่ มีขนาดใกล้เคียงกับผลกระท้อน ขนาดผลจะมีขนาดใหญ่กว่าผลส้มแขก เนื้อมีรสเปรี้ยวจัด เมล็ดลีบแบนhttps://goo.gl/IIg8gJ ประโยชน์ของส้มควาย : 1. ใช้ปรุงอาหาร โดยนำผลส้มควายไปหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง เก็บไว้ปรุงรส แกงส้ม, แกงเลียง หรือต้มปลา เพื่อให้มีรสเปรี้ยว 2. ใช้เป็นยาสมุนไพรฟอกโลหิต และ ขับเสมหะ ส้มควายหรือบางคนเรียกว่าส้มแขก ชนิดนี้เป็นชนิดที่พบมากในประเทศไทย
https://goo.gl/Hcsm1E ผลส้มแขกมีรสเปรี้ยวนิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา เพื่อให้มีรส เปรี้ยว หรือใช้ทำน้ำแกงขนมจีน ทำเป็นเครื่องดื่มลดความอ้วน ไปเร่งระบบการเผาผลาญอาหาร ลดความอยากอาหารสรรพคุณและประโยชน์ของส้มแขก https://goo.gl/iCuNEZ
https://goo.gl/cTyaJJ ข้อจำกัดของส้มแขก คือ การยับยั้งไม่ให้เปลี่ยนน้ำตาลกูลโคสไปเป็นไขมัน แต่ไม่สามารถ ดักจับไขมันในอาหารได้ โดยน้ำตาลจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไกลโคเจน เก็บสะสมไว้สองที่คือ ในกล้ามเนื้อและในตับ เมื่อออกกำลัง ก็จะมีการดึงเอาไกลโคเจนมาแปลงเป็นพลังงาน หากรับประทานน้ำตาลหรืออาหารประเภทไขมันมากเกินไป สารสกัดส้มแขกก็ไม่สามารถ ช่วยอะไรได้เลย https://goo.gl/fKrJqm https://goo.gl/GUHLT0 สรรพคุณส้มแขก ตามตำราพื้นบ้าน :
ส้มแขก ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องในสตรีมีครรภ์ เป็นยาระบายอ่อนๆ ซึ่งสารในส้มแขกจะถูกขับออก ทางไตโดยไม่ถูกทำลาย (ไม่ผ่านตับ) และออกฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะด้วย ช่วยลดไขมันส่วนเกินได้
ส้มแขก มีสารสำคัญที่มีชื่อว่า Hydroxycitric Acid หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "HCA" ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติ ช่วยยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมันจากการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย์อื่น ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น กรดซิตริก (Citric Acid), กรดโดคีคาโนอิค (Dodecanoic Acid), กรดออคตาดีคาโนอิค (Octadecanoic acid) และกรดเพนตาดีคาโนอิค (Pentadecanoic acid)
https://goo.gl/VjjwRf
ผลการศึกษาวิจัยของสารสกัดผลส้มแขก
ผลการศึกษาวิจัย (ของนักวิทยาศาสตร์ไทย ซึ่งนำโดย ศาสตราจารย์ ดร.พิเชษฐ วิริยะจิตรา และคณะ) ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของสารสกัดจากผลส้มแขก (HCA) ว่าสามารถช่วยลดไขมันในร่างกายได้ดี โดยที่สาร HCA จะไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ที่จะเปลี่ยนแป้ง และน้ำตาลเป็นไขมันได้บางส่วน (ร้อยละ 40-70 ซึ่งจะเป็นกระบวนการหลังจากที่ร่างกายได้นำเอาพลังงานที่ควรได้รับจากแป้ง และน้ำตาลไปใช้อย่างเพียงพอแล้ว) ไขมันจึงถูกสร้างน้อยลง ร่างกายมีพลังงานมากขึ้น เพราะ ไกลโคเจนไม่ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันทั้งหมด เพราะฉะนั้นแหล่งสะสมพลังงานจึงเต็มนานขึ้น ผลคือ อิ่มนานขึ้น หิวช้าลง (กินได้น้อย) ลดความอยากอาหารระหว่างมื้อลงได้
https://goo.gl/0BqT50
กินส้มแขก ต้องระวังอะไร https://goo.gl/HYdakS เนื่องจากกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric หรือเรียกย่อๆว่า HCA) ในส้มแขกจะเข้าไปรบกวนการสร้าง acetyl coenzyme A, fatty acid และ cholesterol จึงอาจมีผลรบกวนต่อการสร้าง steroid hormone ดังนั้นสตรีมีครรภ์ และสตรีที่กำลังให้นมบุตร จึงไม่ควรรับประทานส้มแขกในช่วงนี้
อ้างอิง : https://goo.gl/3cPt2s https://goo.gl/phWKG4 https://goo.gl/Hcsm1E https://goo.gl/DIxaif บทเพลงบรรเลงชโลมใจ
Create Date : 25 พฤษภาคม 2558
38 comments
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2566 9:40:59 น.
Counter : 18472 Pageviews.
บ้านสวยด้วยมือเรา 2 คลิกที่นี่ค่ะ