Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กุมภาพันธ์ 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
24 กุมภาพันธ์ 2558

ศิลปะอยุธยา: รู้ใหม่ คิดใหม่ (วัดราชบูรณะ )

IMG_5501


อ. พิริยะ อ้างถึงแผนที่ของ Iudea ที่ VOC จ้างโจฮานเนส วิงบูนเขียนขึ้นว่า
ในเวลานั้น คือ พ.ศ. 2208 ปรากฏวัดมหาธาตุในแผนที่อย่างชัดเจน
แต่กลับข้างๆ ที่ควรจะเป็นพื้นที่ของวัดราชบูรณะกลับว่างเปล่า

แต่แผนที่ของนายแพทย์แกมเฟอร์ที่เขียนขึ้นเมื่อพ.ศ. 2233 กลับมีวัดราชบูรณะ
ดังนั้นเป็นไปได้ว่า วัดราชบูรณะน่าจะสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
ด้วยเหตุผลความแตกต่างกันระหว่างแผนที่สองฉบับที่ต่างเวลากันนั่นเอง

ส่วนภาพจิตกรรมสีฝุ่นรูปชาวจีน พร้อมจารึกที่กล่าวถึงราชวงศ์หมิง
ส่วนกรุชั้นล่างเป็นภาพอดีตพุทธะ ภาพพุทธประวัติ และชาดกต่างๆ
เป็นจิตรกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์โดยเทียบกับภาพล้ายเส้นที่วัดศรีชุม
เพราะอ. พิริยะเชื่อว่าศิลปะสุโขทัยที่เห็นนั้น เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย

ส่วนการวาดภาพซุ้มของอดีตพระพุทธะ 24 องค์
เป็นรัศมีแบบลังกาสมัยแคนดี้ ซึ่งตรงกับช่วงอยุธยาตอนปลาย
อาจจะถึงสมัยพระเจ้าบรมโกศที่อยุธยาส่งพระภิกษุไปฟื้นพุทธศาสนา
นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึง เจดีย์ที่ประดับมุมนั้นเป็นแบบลังกา
และพระพุทธรูปในซุ้มจรนำก็มีประภามณฑลเหมือนกับที่ลังกา


Untitled


พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่า

ศักราช ๗๘๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๖๗) สมเด็จพระอินทราชาเจ้า ทรง (ประ) ชวร
นฤพาน ครั้งนั้นเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา พระราชกุมารท่านชนช้างด้วยกัน
ณ สะพานป่าถ่านเถิงพิราลัยทั้ง ๒ พระองค์ที่นั้น

จึงพระราชกุมารเจ้าสามพระยาได้เสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุ (ธยา
ทรงพระ) นามสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า และท่านจึงให้ก่อพระเจดีย์สองพระองค์
สวมที่เจ้าพระยาอ้ายและเจ้าพระยายี่ชนช้างด้วยกัน เถิง (อนิจ) ภาพ
ตำบลป่าถ่านนั้นใน ศักราชนั้นสถาปนาวัดราชบุณ


นั้นคือความเชื่อหลักตลอดมา โดยการใช้พงศาวดารกำหนดอายุสถานที่

ส่วนหลักฐานที่ใช้สนับสนุน นอกจากปรางค์ที่เราเชื่อว่าคลี่คลายมาจากขอม
ร่วมสมัยกับวัดมหาธาตุ วัดพระราม วัดพุทไธสวรรย์ โดยผังนั้นเป็นแบบเดียวกัน
คือทิศตะวันออกมีวิหาร เจดีย์ทรงปรางค์อยู่ตรงกลาง อุโบสถอยู่ทิศตะวันตก
มีระเบียงคตล้อมรอบ ที่สำคัญสมัยนั้นสร้างท้ายวิหารล้ำเข้าไปแนวระเบียงคต

จากการศึกษาลวดลายปูนปั้นยังสามารถกำหนดได้ว่า
มีการใช้ลวดลายที่ร่วมสมัยกับวัดอื่นๆ ที่มีศิลปะในสมัยอยุธยาตอนต้น
แต่ก็มีบางส่วนที่ถูกบูรณะ ทำให้มีลวดลายของสมัยอยุธยาตอนปลาย
นั่นอาจจะเป็นคำตอบว่า เหตุใดเจดีย์ประดับและประภามณฑลจึงเป็นลังกา

ส่วนแนวคิดเรื่อง ซุ้มล้อมรอบอดีตพระพุทธเจ้านั้น ถ้าเป็นแบบลังกา
ก็น่าจะน่าได้รับอิทธิพลมาจากลังกาโดยอาจผ่านมาจากสุโขทัย
ดังนั้นถ้าเชื่อว่าจิตรกรรมวัดศรีชุมเขียนขึ้นในสมัยสุโขทัยจริงแล้ว
ไม่น่าแปลกที่จิตรกรรมในกรุวัดราชบูรณะจะได้รับอิทธิพลมา


IMG_5500


มาถึงคำถามข้อสุดท้ายก็คือ แผนที่นั้นเป็นหลักฐานที่เชื่อได้มากกว่า
พงศาวดารที่เป็นตัวอักษร นอกจากนี้ผู้บันทึกยังเป็นชาวต่างชาติ
ที่ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันว่าจะต้องบิดเบือนว่าต้องเขียนอะไร
ดูเหมือนจะไม่มีข้อบกพร่องอะไรให้เราปฏิเสธ

แต่แล้วก็เหมือนสวรรค์เมตตาเมื่อได้อ่าน วารสารเมืองโบราณ 40.2
ที่กล่าวถึงการจัดทำแผนที่ Iudea ฉบับวิงบูนที่กล่าวกันว่า
ยังไม่แน่ชัดว่าอันไหนคือต้นฉบับที่แท้จริง แต่สิ่งสำคัญคือ
มีข้อผิดพลาดเรื่องตำแหน่งของวัดราชบูรณะอย่างแน่นอน

สังเกตจากมุมขวาบนของแผนที่ มีรูปของปรางค์ฝักข้าวโพด
วิหาร และปรางค์มุมทั้งสี่บนตำแหน่งซึ่งควรจะเป็นของวังหน้า
ในทางกลับกันที่ตำแหน่งวัดราชบูรณะกลับปรากฏภาพของ
ปราสาทจตุรมุขและพระที่นั่งมีซุ้มยอดอยู่แทน

ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า แผนที่นั้นเขียนสลับตำแหน่งกันอย่างแน่นอน
และที่สำคัญในแผนที่เดียวกันก็ไม่ปรากฏภาพของวัดพระราม
ซึ่งเป็นวัดที่เราจะไปต่อไป ทำให้สรุปได้ว่าการไม่ปรากฏภาพวัดในแผนที่
เป็นเรื่องของความผิดพลาด ไม่อาจจะสรุปว่าวัดทั้งสองสร้างในสมัยหลังได้




 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2558
2 comments
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2558 14:55:54 น.
Counter : 1731 Pageviews.

 

ขอบคุณค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ทองกาญจนา Travel Blog ดู Blog
ปรัซซี่ Food Blog ดู Blog
sirivinit Hobby Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Music Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 25 กุมภาพันธ์ 2558 17:41:42 น.  

 

 

โดย: tuk-tuk@korat 25 กุมภาพันธ์ 2558 22:46:17 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]