Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กุมภาพันธ์ 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
16 กุมภาพันธ์ 2558

ศิลปะอยุธยา: รู้ใหม่ คิดใหม่ (ภาคก่อนออกเดินทาง 1)


มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์ ขอเชิญทุกท่านร่วมทัศนศึกษา
โดยมี ร.ศ. ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ อาจารย์ภูธร ภูมะธน เป็นวิทยากร
ในวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 07.30-18.00 น.
ณ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์
อีเมล์แอดเดรส piriyafoundation@gmail.com หรือ //www.piriyafoundation.com


IMG_3337


และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางตามหาประวัติศาสตร์ด้วยมุมมองใหม่
แล้วทำไมต้องคิดใหม่ด้วยล่ะ แล้วอะไรคือเก่า
เราคงต้องมาทำความเข้าใจพัฒนาการของประวัติศาสตร์ไทยกันก่อน

แหม ดูท่าทางจะเป็นซีรีย์ยาวอีกแล้วกระมัง

ประวัติศาสตร์ที่เราคุ้นชินกันในปัจจุบันมาจากจุดเริ่มต้นเมื่อ
วชิรญาณภิกขุ หรือรัชกาลที่ 4 ได้ทรงค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 1
หรือบางทีอาจจะย้อนไปได้ถึงในรัชกาลที่ 3 ช่วงที่คาดว่ามีเขียนหนังสือเรื่อง
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษ์ หรือที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อ ตำนานนางนพมาศ

ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้สัมพันธ์โดยตรงกับแนวคิดเรื่องรัฐแรกอยู่ที่สุโขทัย อาณาจักรที่เชื่อกันว่าเก่ากว่าอยุธยาที่เรามีบันทึกเป็นพงศาวดาร
ซึ่งในยุคก่อนหน้านี้คืออยุธยาหรือต้นรัตนโกสินทร์เราไม่เคยคิด
เพราะอยุธยาหรือกรุงเทพคือเมืองที่เป็นศูนย์กลางที่เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง

แต่การเข้ามาของชาติตะวันตกที่ให้ความสำคัญกับเรื่องประวัติศาสตร์
ต่างแข่งกันกันว่า บ้านเมืองใครเก่าแก่กว่ากัน มีอารยะธรรมมากกว่ากัน
ทำให้สยามในยามนั้นต้องตั้งหาจุดเริ่มต้นที่เก่าไปกว่าพระเจ้าอู่ทอง
ว่าแท้จริงคนไทยนั้นมาจากไหน และก่อร่างสร้างเมืองมาได้อย่างไร

การกล่าวถึงความรุ่งเรืองของสุโขทัยในตำรับของท้าวศรีจุฬาลักษ์
หรือการพยายามเผยแพร่คำแปลในศิลาจารึกหลักที่ 1 ออกไปก็ดี
คือพยายามครั้งแรกของไทยในการศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์
อันจะที่เกี่ยวข้องสิ่งก่อสร้าง และศิลปวัตถุที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน


IMG_3398


พ.ศ. 2447 สมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันขึ้น
ประกอบไปด้วยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
รวมถึงชนชั้นสูงเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันในนาม สยามสมาคม

พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าให้ตั้ง
วรรณคดีสโมสรในปี เพื่อสืบสวนประวัติศาสตร์ชนชาติสยาม
ในแง่มุมต่างๆ โดยชาวสยามเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2451 เจ้าฟ้าวชิราวุธก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง
ซึ่งเต็มไปด้วยคุณค่า และอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์
ในแบบตะวันตกเล่มแรกของไทย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า พระองค์สำเร็จการศึกษามาจากอังกฤษ

พ.ศ. 2461 ยอร์จ เซเดส์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสผู้เชี่ยวชาญอินโดจีน
ได้รับการว่าจ้างให้มาดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์ใหญ่ประจำหอสมุดพระนคร
ในช่วงเวลานี้นี่เองที่ได้สนิทสนมกับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พ.ศ. 2468 ทั้งสองร่วมกันเขียนหนังสือ ชื่อ ตำนานพุทธเจดีย์ในสยาม

พ.ศ. 2486 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ทำให้มีการเรียนการสอน
วิชาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรก บุคคลสำคัญที่เป็นเรี่ยวแรง
คือ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ทายาทของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทำให้แนวคิดสกุลดำรง – เซเดส์ ได้รับการถ่ายทอดจนเป็นแนวคิดหลัก

อะไรคือความสำคัญของหนังสือ ตำนานพุทธเจดีย์ในสยาม


IMG_3341


หนังสือเล่มนี้ได้แบ่งหมวดหมู่ศิลปะทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานอำนาจรัฐ
ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์
และในแต่ละยุคสมัยก็แบ่งย่อยออกไป เช่น อยุธยาก็แบ่งเป็น 4 ช่วงเวลา

ยุคแรก เริ่มจากพระเจ้าอู่ทอง จนถึงพระบรมไตรโลกนารถ
โบราณสถานสำคัญ เช่น วัดพุทไธสวรรย์ วัดราชบูรณะ วัดพระราม

ยุคที่สองเริ่มจากพระบรมไตรโลกนารถไปประทับที่เมืองเหนือ
จนถึงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โบราณสถานที่สำคัญ เช่น
เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล

ยุคที่สามเริ่มจากสมัยพระเจ้าปราสาททองจนถึงพระเจ้าท้ายสระ
โบราณสถานที่สำคัญคือ วัดไชยวัฒนาราม วัดชุมพลนิกายาราม

ยุคที่สี่เริ่มจากสมัยพระเจ้าบรมโกศจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา
โบราณสถานสำคัญได้แก่ วัดกุฏีดาว วัดมเหยงค์ เป็นต้น

ซึ่งเป็นสิ่งที่เราใช้อธิบายพัฒนาการประวัติศาสตร์ศิลปะไทยในปัจจุบัน
แม้จะมีบางคน เช่น น ณ. ปากน้ำ ไม่เห็นด้วยในการแบ่งยุคศิลปะอยุธยา
แต่แนวคิดนี้ก็เป็นเพียงสิ่งที่รับรู้กันในวงแคบๆ เท่านั้น

ในปัจจุบันแนวคิดนี้ได้รับการตั้งคำถาม เช่น ศิลปะเชียงแสนมีจริงหรือไม่
ส่วนใหญ่ก็เชื่อว่าไม่มี ทำให้ในปัจจุบันเราใช้คำว่า ศิลปะล้านนาแทน
ศิลปะลพบุรีคืออะไร มันก็คือศิลปะที่ถ่ายทอดมาจากเขมรนั่นเอง
และทำไมเราไม่เรียกตรงๆ ว่าศิลปะเขมร หรือว่ามันคือเรื่องชาตินิยม




 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2558
3 comments
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2558 12:43:37 น.
Counter : 1518 Pageviews.

 

ได้ความรู้เยอะแยะมากมายจากบล็อกแก๊งค์ รวมทั้งบล็อกนี้ด้วยค่ะ เข้ามาไม่เคยผิดหวัง

ขอบคุณค่ะ


คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ผู้ชายในสายลมหนาว เรียบร้อยแล้วนะคะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 17 กุมภาพันธ์ 2558 10:05:38 น.  

 

รออ่านต่อค่ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
sirivinit Hobby Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 18 กุมภาพันธ์ 2558 6:31:17 น.  

 

น่าคิดค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 18 กุมภาพันธ์ 2558 21:46:41 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]