Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กุมภาพันธ์ 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
18 กุมภาพันธ์ 2558

ศิลปะอยุธยา: รู้ใหม่ คิดใหม่ (ภาคก่อนออกเดินทาง 2)

IMG_3339



จากที่กล่าวมาในบล็อกก่อนว่า แนวคิดสกุลดำรง – เซเดส์ คือกระแสหลัก
ที่คนส่วนใหญ่เชื่อถือ แต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมด มีบางคนเลือกที่จะคิดต่าง
และที่สร้างชื่อเสียงสั่นสะท้านวงการประวัติศาสตร์มากที่สุดก็คือ
การออกมาตั้งคำถามถึงความจริงแท้ของหลักศิลาจารึกหลักที่ 1

ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาจิตรกรรมจาก
Oskar Kokoschha’s School of Vision เมืองซาลสเบอร์ก ประเทศออสเตรีย
และประกาศนียบัตรวิชาประติมากรรมจาก Royal Colege of Art กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

หลังจากนั้นได้หันความสนใจไปในการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ

พ.ศ. 2518 สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา
ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางประวัติศาสตร์ศิลปะ
เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2520 ย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

และนั่นคือประวัติคร่าวๆ ที่ทำให้เรารู้จักตัวตนของท่าน
ผู้ที่กล้านำเสนอแนวความคิดใหม่ๆ ให้กับวงการประวัติศาสตร์
ดังนั้นการเดินทางครั้งนี้จึงน่าสนใจที่จะมองอยุธยาด้วยมุมมองใหม่
แต่กระนั้นนี่ก็ไม่ใช่การนำเสนอแนวคิดนี้เป็นครั้งแรก

เรื่องนี้ได้นำเสนอมาก่อนหน้าผ่านบทความในหนังสือหลายครั้ง
หนึ่งในนั้นคือ การปรับเปลี่ยนและอายุเวลาของสถาปัตยกรรมอยุธยา
สยามอารยะ ๒: ๙ (มิถุนายน) ๒๕๓๖, หน้า ๒๙-๔๕


IMG_3338


ผู้เขียนเสนอแนะว่าการกำหนดอายุเวลาของสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา
ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในเรื่อง
“ตำนานพุทธเจดีย์สยาม” ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ (ค.ศ. ๑๙๒๖) นั้น
ควรมีการพิจารณาใหม่ เนื่องจากมีความบกพร่องของระเบียบวิธีศึกษาในชั้นต้น

เพราะการศึกษาในยุคนั้นใช้การเปรียบเทียบโบราณสถานที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน
กับพุทธสถานที่กล่าวถึงในหนังสือพระราชพงศาวดารว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
โดยมิได้วิเคราะห์ว่าโบราณสถานที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น
เป็นของเดิมหรือถูกสร้างขึ้นใหม่ภายหลัง

เมื่อผู้เขียนเปรียบเทียบโบราณสถานที่อยุธยากับเอกสารประเภทต่าง ๆ ของชาวต่างชาติ
จึงแสดงให้เห็นว่า มีการกำหนดอายุเวลาโบราณสถานที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
และมิใช่รูปแบบสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยายุคแรก (พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๐๓๑)
ซึ่งตรงกับรัชสมัยที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองโปรดฯ ให้สร้างกรุงศรีอยุธยา
จนถึงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ดังที่ ตำนานพุทธเจดีย์สยามจำแนกไว้

ทั้งนี้ผู้เขียนพิจารณาว่าโบราณสถานอันได้แก่ พระปรางค์วัดพุทไธสวรรค์
พระปรางค์วัดมหาธาตุ พระปรางค์วัดราชบูรณะ และ พระปรางค์วัดพระราม
เกิดขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗)
ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘)
ดังนั้นผู้เขียนจึงมิอาจยอมรับได้ในความเชื่อหรือการรับรู้แต่เดิมที่ว่า

สถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยายุคแรกนิยมสร้างปรางค์แบบสมัยลพบุรี


IMG_3342


แนวคิดนี้เรียกได้ว่า เหมือนฟ้าถล่ม สิ่งที่เราเคยเชื่อมาตลอดว่า
พระปรางค์ต่างๆ ในอยุธยานั้นเป็นโบราณสถานยุคเก่าที่สุด
โดยได้แนวคิดทางศิลปะมาจากศาสนสถานแบบเขมรนั้นไม่จริง
ถ้าเป็นการพูดลอยๆ ในวงการวิชาการคงไม่มีใครเชื่อถือ

สิ่งที่ อ. พิริยะใช้หักล้างนั้นมีอยู่ 2 ประการ หนึ่งคือแผนที่
ที่ชาวต่างชาติได้จัดทำขึ้นเมื่อเดินทางเข้ามาที่กรุงศรีอยุธยา
เช่น แผนที่ของนายแพทย์แกมเฟอร์ (พ.ศ. 2233)
แผนที่ที่จัดทำโดยบาทหลวงฝรั่งเศส (พ.ศ. 2230

และแผนที่ Iudea จัดทำโดย VOC หรือสำนักงานการค้าฮอลันดา
ร่วมกับ WIC ( West india company) ที่มีรายละเอียดชัดเจน
นอกจากนี้ยังใช้วิวัฒนาการทางศิลปะ เช่น รูปแบบการก่ออิฐ
หรือลวดลายของเครื่องทองในกรุที่ถูกฝังไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา

โดยเนื้อหาหลักของการเดินทางในครั้งนี้คือ การชี้ให้เห็นว่า
เจดีย์หรือพระปรางค์ต่างๆ ที่สำคัญอันเรียกได้ว่ามหาธาตุนั้น
ล้วนแล้วแต่สร้างขึ้นในสมัยหลังสมเด็จพระนารายณ์เป็นต้นมา

แล้วเราควรจะเชื่อถือแนวความคิดนี้หรือไม่
อะไรคือจุดบกพร่องของแนวคิดแบบเก่าๆ
ถ้าคุณพร้อมแล้ว เราจะมาเดินทางรอยภาคสนามกัน

ในซีรีย์ชุดใหม่ที่ชื่อว่า ศิลปะอยุธยา : รู้ใหม่ คิดใหม่



Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2558 11:35:01 น. 6 comments
Counter : 1757 Pageviews.  

 
อุ้มแวะมาโหวตท่องเที่ยวให้ค่ะ
ผ่านมือถือ
อุ้มชอบภาพแรก
เคยเห็นหน้าต่างของวัดแบบนี้
ที่อุทยานฯ ศรีสัชนาลัย
แล้วชอบ
อุ้มสามารถอยู่กับโบราณสถานได้เช้าจนถึงเย็น
ชอบมองมาก
แหล่มค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:17:04:31 น.  

 
ค่ะ

เดี๋ยวย้อนอ่านตอนแรกค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:21:43:24 น.  

 
มาโหวตค่ะ
เห็นว่าวัดราชบูรณะสร้างทับอโรคยาศาลา
แสดงว่าต้องมีชุมชนอยู่ก่อน
อาจแบบวัตภาคกลางสมัยนี้ชอบติดกระจกแก้ว เหมือนวัดท่าซุง
วัดทางเหนือนิยมทำแบบแหลม ๆ แบบวัดร่องขุ่นก็ได้นะคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:10:35:53 น.  

 
แล้วเรื่องแม่น้ำท่าจีนจากหัวรอ (ทหารพม่าถมดินเพื่อเพื่อทำเรือกเข้าตีอยุธยา)
มาถึงหน้าวัดพนันเชิงเป็นคลองขุด อันนี้เคยอ่านมาไหมคะ

เดิมอยุธยาย้ายจากเมืองเก่า ตะวันออกเฉียงใต้ของแม่น้ำป่าสักมาอยู่ที่คุ้งน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วขุดคลองจากแม่น้ำลพบุรี ผ่านป่าสักมาถึงวัดพนันเชิงเป็นคูขื่อหน้า
ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็มีคลองเก่าที่อาจเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาเก่า แต่ยังไม่มีเวลาตามเส้นทางของสายน้ำค่ะ

เรื่องวัดราชบูรณะ อ่านจากไหน เดี๋ยวค้นก่อนนะคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:14:06:27 น.  

 
เข้าไปอ่านใหม่ คิดกันคนละอายุ อิอิ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:14:28:29 น.  

 
โหวตหมวดความรู้ให้นะคะ


ที่เสียมเรียบรร.ดีๆ เยอะค่ะ โซฟิเทลเอย เลอเมอริเดียนเอย ไม่ต่างจากบ้านเราจริงๆ ค่ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:8:57:34 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]