|
 เข้าสู่ตอนที่ 20 แล้วนะคะ นับเป็นการตะลอนทัวร์ที่จังหวัดตรังที่ยาวนาน แต่ประทับใจเจ้าค่ะ เรียกว่ามาจังหวัดตรังทีไร ก็ได้ความประทับใจแตกต่างกันไป งวดนี้มากับ ททท. สำนักงานตรังอบอุ่นดีค่ะ
 BLOG นี้เป็นหมายที่คิดกันเอง ตั้งใจไปเดินเล่นยามเช้าชมดึกโบราณค่ะ ตื่นกันตั้งแต่ตี 5 ครึ่ง โดยมีน้องสาว sawkitty ไปด้วยกับย่าดา ดา จึงมีบรรยากาศพระสงฆ์ออกมาบิณฑบาตร แต่ไม่กล้าถ่ายภาพใกล้เจ้าค่ะ
 จังหวัดตรังเป็นจังหวัดหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตก ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงไม่มีประวัติในสมัยโบราณก่อนหน้านั้น และเข้าใจว่า ในแผ่นดินพระบรมไตรโลกนารถ รัชสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองตรังยังไม่มี ดังนั้นเมืองตรังแต่เดิมมา น่าจะเป็นเพียงทางผ่านไปยังเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองพัทลุงเท่านั้น ต่อมาเมื่อผู้คนตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนมากขึ้น จึงเกิดเมืองในตอนหลัง
 ในพงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าวไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 1493 พระยากุมารกับนางเลือดขาวไปลังกา ทั้งขาไปและขากลับได้มาแวะที่เมืองตรัง เพราะเป็นเมืองท่า โดยนางเลือดขาวได้สร้างพระพุทธรูป และวัดพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่เมืองตรัง
 ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อปีพ.ศ. 2433 ทรงเห็นเมืองตรังมีสภาพทรุดโทรม จึงโปรดฯ ให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) มาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง และสร้างความเจริญให้แก่เมืองตรังมากมาย และได้ย้ายเมืองตรังมาตั้งที่อำเภอกันตัง ปากแม่น้ำตรัง โดยรวมเอาเมืองตรังและปะเหลียนเข้าด้วยกัน จนพัฒนาเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญ และนี่เองจึงได้เกิดตึกรามบ้านช่องที่สวยงามค่ะ
 ตึกเก่าแบบชิโน-โปรตุกีส ได้ผสมผสานนำความเป็นศิลปะตะวันตกและตะวันออก เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างกลมกลืน ตึกเก่าเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วตัวเมือง สามารถเดินชมความงามได้อย่างเพลิดเพลินค่ะ
 สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส แบ่งเป็นสองประเภท คือ ตึกแถว หรือ เตี้ยมฉู่ และคฤหาสน์ หรือ อั่งม้อหลาว
 คำว่า อั่งม้อหลาว เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน อั่งม้อ แปลว่า ฝรั่ง หรือชาวต่างชาติ ส่วนคำว่า หลาว แปลว่า ตึกคอนกรีต ดังนั้นคำว่า อั่งม้อหลาว ก็คือคฤหาสน์แบบฝรั่งที่นายหัวเหมืองแร่ สร้างเป็นที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น
 โดยตึกแบบชิโน-โปรตุกีสนั้น เป็นตึกแถวเป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค้ากึ่งที่อยู่อาศัย ลักษณะลึกและแคบ
 โดยที่ชั้นล่างของตึก จะแบ่งพื้นที่ใช้สอยไปตามความลึกได้ถึงห้าส่วน ด้านหน้าเป็นร้านค้าหรือสำนักงาน ถัดไปเป็นห้องรับแขก ห้องพักผ่อน ห้องอาหาร ห้องครัว ภายในอาคารมักมีฉิ่มแจ้ หรือบ่อน้ำบาดาลหนึ่งบ่อ และเจาะช่องให้อากาศถ่ายเทและแสงส่องเข้าอาคาร ตึกแถวแบบนี้จึงเย็นสบายค่ะ
 โปรดสังเกตว่าที่ชั้นสองมักเป็นห้องนอน และหน้าตึกแถวมีทางเดินเท้า ทำเป็นช่องซุ้มโค้งเชื่อมกันไปตลอดทั้งแนวตึกแถว เรียกว่า อาเขต (arcade)
 และที่ชั้นบนมักจะยื่นล้ำออกมา ทำเป็นหลังคากันแดดกันฝนตก นับเป็นสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังให้ผู้สัญจรได้เดินไปได้โดยไม่เปียกฝนค่ะ
 และที่ชั้นสองด้านหน้าอาคาร จะมีการเน้นเป็นอย่างยิ่ง โดยเจาะช่องหน้าต่างเป็นซุ้มโค้ง ขนาบข้างด้วยเสาค่ะ
 และที่บนพื้นผนังนั้น มักตกแต่งด้วยลายปูนปั้นทั้งแบบจีนและตะวันตก ได้อย่างผสมผสานอย่างลงตัว สามารถเดินชมได้ทั่วเมืองเลยค่ะ
 ย่าดา ดา ภูมิใจนำเสนอสถาปัตยกรรมที่สวยงาม นับว่าเป็นคฤหาสน์หลังใหญ่ที่งดงามจริงๆ เน๊าะ
 ภาพนี้น่ารักอ่ะ
 ชอบภาพรูปโค้งครึ่งวงกลมตกแต่งได้แหล่ม
 คิดว่าด้านหลังย่าดาเป็นบ่อน้ำบาดาลค่ะ
 ภาพ set นี้ออกแบบท่าทางให้น้องสาว sawkitty จะเห็นได้ว่าภาพจะแตกต่างจากภาพที่น้องสาวเคยถ่าย เพราะบอกน้องสาวว่า ห้ามไม่ให้ยืนตรงถ่ายภาพเหมือนเคารพธงชาติ หรือยืนเอามือกุม ให้วางมือออกท่าทางจับต้องสิ่งของที่อยู่ใกล้ ภาพอาจจะดูขัดเขินไปบ้างแต่น่ารักดีค่ะ
 ว่าแล้วคุณนายอุ้มก็แสดงท่าทางให้ดูก่อน แล้วให้น้องสาวยืนถ่ายแบบตามใจชอบ ไว้ BLOG หน้าก็จะมีภาพสวยๆ ที่ภูมิใจนำเสนอมากค่ะ ก็ยังเป็นภาพที่ถ่ายกับตึกสวยๆ อีกน่ะค่ะ พร้อมทั้งภาพในตลาดค่ะ โปรดติดตามชมในตอนที่ 21 นะคะ
ขอขอบคุณ banner : คุณ no filling BG & กรอบ : น้อง KungGuenter ที่มาของข้อมูล : ททท. & เวปกูเกิ้ล กล่องเขียนคอมเม้นท์ : คุณ lozocat โค้ด BLOG : ป้ามด & น้องดอกหญ้าเมืองเลย เพลง : สมศักดิ์ศรีวิถีคนกล้า : สมศักดิ์ เหมรัญ ของแต่ง BLOG : คุณชมพร & น้องญามี่ & คุณเนยสีฟ้า
| |
ผมว่ามันก้ไม่ต่างจากหมูกรอบเท่าไร แต่ก็นะ
ถ้ากินกับกาแฟตอนเช้าๆ ฟังคนพูดสำเนียงใต้แท้ๆ บรรยากาศที่ทะเล้ ทะเล มันเป้นของจริงกว่าเอามากินที่บ้านเป็นไหนๆ