Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
เมษายน 2568
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
29 เมษายน 2568

บึงบอระเพ็ด : นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร




ในตอนแรกนั้นได้จบลงที่บล็อกก่อนหน้า แต่เรามีความคิดว่า
อยากจะเขียนถึงนกชนิดหนึ่ง ซึ่งคงไม่มีโอกาสได้เขียนถึงแน่ๆ
นกที่เป็นสัญลักษณ์ของบึงบอระเพ็ด เพราะพบเห็นได้ที่นี่เพียงแห่งเดียว

นกที่ลึกลับที่สุดในโลก เพราะหลังการพบไม่นาน
ก็หายสาบสูญไปอย่างรวดเร็ว นกนางแอ่นแม่น้ำที่หาได้ยากยิ่ง
นกที่สอนเราให้เรารู้ว่า การอนุรักษ์ต้องทำตั้งแต่วันนี้
เพราะเมื่อถึงวันพรุ่งนี้ ก็สายเกินไปเสียแล้ว
 
ในปี 1861 Gustav Hartlaub เป็นคนแรกที่ได้อธิบายถึง

นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา (African river martin)
โดยพบที่แม่น้ำคองโก ทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา
ครอบคลุมพื้นที่ 3 ประเทศ ได้แก่ กาบอง คองโก และซาอีร์

ถูกแยกจากนกนางแอ่นชนิดอื่น จากปากที่มีลักษณะอ้วนกว้าง
มีเท้าและนิ้วเท้าที่แข็งแรง แสดงให้เห็นว่า เป็นนกที่เกาะต้นไม้เป็นหลัก
แตกต่างจากนกนางแอ่นชนิดอื่น ที่ชอบบินไปบินมาในอากาศ

มีขนาดตัวราว 14 ซม. ชอบหากินกันเป็นกลุ่ม จับแมลงเป็นอาหาร
อาศัยทำรังวางไข่ ตามโพรงบนพื้นทรายที่แห้งของแม่น้ำ
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Pseudochelidon eurystomina
อยู่ในวงศ์ย่อย Pseudochelidoninae ซึ่งมีนกอยู่เพียงชนิดเดียว




หนึ่งร้อยปีต่อมาที่บึงบอระเพ็ด 
คุณกิตติ ทองลงยา นักสัตว์วิทยา
ผู้ค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของประเทศไทยหลายชนิด เช่น ค้างคาวคุณกิตติ    
อยู่ระหว่างภารกิจติดห่วงขานกอพยพในเวลากลางคืน
เพื่อเก็บตัวอย่างปรสิตสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
 
วันที่ 28 ม.ค. 2511 ในจำนวนนกนางแอ่นหลายร้อยตัว
มีตัวหนึ่งที่ดูแปลก ในวันต่อมาก็สามารถจับได้อีกหนึ่งตัว
และวันที่ 10 ก.พ. ก็จับนกชนิดนี้ได้ถึง 7 ตัว
จากการสอบถาม ชาวบ้านเรียกนกชนิดนี้ว่า
นกตาพอง
เพราะมีลักษณะเด่นบริเวณดวงตา ที่โตกว่านกนางแอ่นชนิดอื่น 
 
ตัวอย่างถูกส่งไปให้ Herbert G. Deignan ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเขาเป็นคนที่คุ้นเคยกับนกในเมืองไทย
เพราะเคยเข้ามาสำรวจนกในที่ราบภาคกลาง ตั้งแต่ในปี 1945
มีการพบนกหลายใหม่ชนิด เช่น นกจับแมลงเด็กแนน

H.G. Deignan การตรวจจสอบและยืนยันว่าเป็นนกชนิดใหม่ของโลก
จึงมีการขอพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
นกชนิดนี้มีชื่อภาษาไทยว่า
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
และชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Pseudochelidon sirintarae
 
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่โตเต็มวัย เป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง
มีสีดำออกเขียวเหลือบ ตะโพกขาว และหางมีขนคู่กลางที่มีแกนยื่นออกมา
เป็นเส้นเรียวแผ่ตรงปลาย วงรอบตาสีขาวหนา ปากสีเหลืองสดออกเขียว
นกทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน นกวัยอ่อนไม่มีขนหางคู่กลาง
ที่มีแกนยื่นออกมา และสีขนออกสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย


 

จากการสอบถามชาวบ้าน พบว่านกชนิดนี้มีพฤติกรรมบินไล่จับแมลง
ร่วมกับนกนางแอ่นบ้านที่บริเวณเกาะพระ และบางครั้งก็เกาะพักบนกิ่งไม้สูง
 เมื่อ 15 ปีก่อน เริ่มมีการจับนกชนิดนี้มาขายเพื่อทดแทนรายได้ที่หายไป
จากประกาศห้ามการเก็บไข่จระเข้จากบึงบรเพ็ดมาเพาะเลี้ยง

ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ชาวบ้านพบว่านกมีจำนวนลดลงทุกปี
โดยนกจะปรากฏตัวในช่วงเดือน พ.ย. – ก.พ. ซึ่งเป็นฤดูกาลนกอพยพ
 
พ.ศ.2512 มีการขึ้นไปสำรวจแม่น้ำวัง ยม และน่านที่ไหลลงมารวมกัน
ที่บึงบอระเพ็ด เพื่อค้นหาภูมิประเทศที่เป็นหาดทรายในฤดูแล้ง
ที่เหมือนกับสถานที่ทำรังของนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา
นักวิทยาศาสตร์ไม่พบภูมิประเทศลักษณะดังกล่าว

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรจึงน่าจะเป็นนกอพยพจากตอนเหนือของทวีปเอเชีย
 สอดคล้องกับข้อกล่าวอ้างว่า มีการพบภาพพิมพ์โบราณของจีน
ตั้งแต่สมัยชิงหรือก่อนหน้านั้น ที่มีภาพวาดที่เหมือนกับนกชนิดนี้
ขาดเพียงสีขาวที่สะโพก ข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการ
เพราะภาพเขียนนั้นอาจจะเป็นนกชนิดอื่น ที่ปรากฏในจีนตอนใต้ก็เป็นไปได้

 3 ปีต่อมา มีการเก็บตัวอย่างนกชนิดนี้จากงานติดห่วงขาเพิ่มขึ้น
แต่นักดูนกทั่วโลกที่ต่างเดินทางมายังบึงบอระเพ็ด
โดยหวังที่จะได้เห็นนกชนิดใหม่ของโลกนี้ในธรรมชาติ
กลับไม่มีใครเคยประสบผลสำเร็จเลย


จนกระทั่ง ก.พ. 2520 จึงมีรายงานของนักปักษีวิทยาชาวอเมริกา
และนักดูนกชาวไทยว่า ในตอนเย็นได้พบเห็นนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
ที่โตเต็มวัยจำนวน 6 ตัว กำลังบินเอยู่ในบึงกำลังมุ่งไปทางพงหญ้า



 
รายงานการพบเห็นนกชนิดนี้ในธรรมชาติครั้งที่สอง
เกิดขึ้นในเดือน ม.ค.2523 นักดูนกพบนกยังไม่โตเต็มวัย
เกาะอยู่บนกิ่งไม้บนเกาะแห่งหนึ่งในบึงบอระเพ็ด

หลังจากทั้งสองครั้งนี้ก็มีรายงานมาเป็นระยะ แต่ทั้งหมดก็ขาดความชัดเจน
เพราะนกชนิดนี้มีความคล้ายกับนก red-rumped swallow มาก 
พ.ศ. 2529 ชาวบ้านคนหนึ่งจับนกชนิดนี้ได้ แต่ไม่นานก็ตายในกรง

พ.ศ. 2531 IUCN กำหนดให้มีสถานะ Endangered
พ.ศ. 2535 ประเทศไทยประกาศให้นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นสัตว์ป่าสงวน
ร่วมกับนกอีก 2 ชนิด คือนกกระเรียนไทย และนกแต้วแร้วท้องดำ

พ.ศ. 2537 มีสถานะ Critical Endangered  
พ.ศ. 2540 มีสถานะ
Critically Endangered (Possibly Extinct) 
ใน พ.ศ. 2573 จะครบ 50 ปี ที่ไม่มีการพบเห็นนกชนิดนี้ในธรรมชาติ
และใน พ.ศ. 2579 จะครบ 50 ปี ที่ไม่มีการพบเห็นนกชนิดนี้ในกรงเลี้ยง

 IUCN จะปรับให้นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมีสถานะ Extinct

หลายครั้งที่เราเขียนถึงตัวอย่างนก (specimen) นั้น
หลายคนคงรู้สึกว่า มันคือการทำบาปที่ต้องฆ่านกหลายตัวไป
ทางหนึ่งมันก็เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ ที่ต้องใช้ในการพิสูจน์ทราบว่า
นี่คือสิ่งชีวิตชนิดใหม่ ที่ไม่เคยมีใครเคยพบมาก่อน
 
ในอีกทางหนึ่ง มันคือประวัติศาสตร์ที่ทำให้นกชนิดต่างๆ
ยังคงอยู่ให้เราเรียนรู้ต่อไป โดยเฉพาะนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรนั้น
มีตัวอย่างที่เก็บอยู่ในเมืองไทย 5 ตัว และต่างประเทศอีก 4 ตัว
ทั่วโลกนี้จึงมีตัวอย่างนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเหลืออยู่เพียง 9 ตัว เท่านั้น 




 

Create Date : 29 เมษายน 2568
2 comments
Last Update : 30 เมษายน 2568 11:45:48 น.
Counter : 70 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณ**mp5**, คุณSleepless Sea, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณtuk-tuk@korat

 

แวะมาชมนกชมไม้จ้า

 

โดย: หอมกร 29 เมษายน 2568 13:26:32 น.  

 

ชอบตรงหางยาวของเขาค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 30 เมษายน 2568 12:07:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]




[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]