Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กันยายน 2566
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
25 กันยายน 2566

จารึกวัดพระงาม : ทวารวตีวิภูติ (จบ)



 

In the year of the king of the Çaka. . . . . . . .
the eighth day of the waxing moon. . . . . . . . .
 in the east the earth not divided in two. . . . . . . . . . . .
famous in the East. . . . . . . . . . .
(images of) Çiva were erected by this king,
grandson of Çrī Cakravartin,
son of ÇrīPrathivīndravarman,
(named) Çrī Bhavavarman, similar to Indra,
at the time when he acceded to royalty.

 
ใช้  google translate จากภาษาฝรั่งเศสที่แปลไว้ จะเห็นได้ว่า
จุดสำคัญที่เราสนใจคือ เสมอด้วยพระเจ้าพระภววรมันนั้น
ศ. เซเดสได้แปลต่างออกไปว่า ศรีภวรมันผู้เสมอด้วยพระอินทร์
สอดคล้องกับรายงานการวิจัยของ อ. กังวล  ที่แปลออกมาแบบเดียวกัน
 

ในปีของราชาแห่งพวกศกะ .... วันขึ้น 8 ค่ำ ... ในทิศทั้งหลาย
ที่แผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว ..... พระศรีภววรมะ ผู้มีชื่อเสียงไปทั่วทุกทิศ
ผู้เป็นนัดดา (หลานปู่) ของพระเจ้า จักรพรรดิ
เป็นโอรส (ลูกชาย) ของพระศรีปฤถิวีนทรวรมะ
ผู้เสมอกับพระอินทร์ ได้โปรดให้สร้าง.....ศิลาทั้งหลาย
ในเวลาขึ้นครองราชย์ของพระองค์ เพื่อความเจริญรุ่งเรือง แห่ง......ทั้งหลาย

 


อ. กังวล ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องจารึกนั้นได้ข้อคิดเห็นไว้ด้วยว่า
อักษรแบบปัลลวะในจารึกบ้านวังไผ่ นั้นคลี่คลายมาจากยุคแรกไปบ้างแล้ว
ทำให้ค่อนข้างชัดแจนว่าจารึกนี้น่าจะทำขึ้นในสมัยพระเจ้าภววรมันที่ 2
ซึ่งครองราชย์หลังจากสมัยของพระเจ้าภววรมันที่ 1 ราว 40 ปี

ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นเรื่องการรวบรวมจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมัน
ดังนั้นท่านจึงไม่ได้ชี้ว่า จารึกนี้เป็นของพระเจ้าภววรมันที่ 2 หรือไม่
เพราะอยู่นอกเหนืองานวิจัย แต่ให้ความเห็นเพิ่มช่วงท้ายว่า
จารึกนี้อาจจะเป็นของกษัตริย์ศรีเทพก็ได้

ซึ่งเหตุผลที่ได้ฟังตอนท่านได้ facebook live ในศูนย์สันสกฤตศึกษา 
เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2566 คืออักษรบนจารึกบ้านวังไผ่นั้นดูไม่มีระเบียบ
ดูแล้วไม่ใช่งานในราชสำนัก เหมือนลายมือของพราหมณ์ในพื้นที่
ต่างจากจารึกเขารังและเขาน้อยที่มีตัวอักษรและช่องไฟที่สวยงาม

แน่นอนว่าผมเชื่อในคนที่อ่านจารึกเป็นอย่างแน่นอน 
แต่จารึกบ้านวังไผ่อย่างไร ก็ควรเป็นจารึกของภววรมันที่ 2 
เพราะอายุของอักษรนั้นก็ตรงกับช่วงการครองราชย์ของพระองค์
และในเวลานั้น ไม่น่าจะมีภววรมัน 2 พระองค์ในเวลาเดียวกัน

เหตุผลที่จะใช้อธิบายก็คือ ศรีเทพอยู่ในอำนาจรัฐเจนละอย่างหลวมๆ 
อาจเนื่องมาจากเพิ่งจะพิชิตได้ นั่นเองจึงไม่มีข้าราชการสายตรง
อาจจะเพียงได้รับคำสั่งทำจารึกลงมา
ให้ผู้ปกครองและพราหมณ์ในพื้นที่เป็นผู้จารขึ้น

หากผมคิดเช่นนั้น ก็ต้องลองอธิบายความสัมพันธ์ของกษัตริย์เจนละ
ซึ่งผมนึกไปถึงเบื้องหลังภาพยนต์สุริโยไท ที่ มจ. ชาตรีเฉลิม ยุคล
ตีความความสัมพันธ์ของสมเด็จพระไชยราชา
กับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่าเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน

ดังนั้นผมจะนำมาเชื่อมโยงการครองราชย์ของกษัตริย์เจนละดังนี้



อาณาจักรเริ่มต้นจากรัชกาลของพระเจ้าภววรมันที่ 1
ซึ่งเป็นโอรสสายตรงของกษัตริย์ก่อนหน้า
ซึ่งอาจจะเป็นราชวงศ์ของเมืองในตำนานอย่างเศรษฐปุระ
ปัจจุบันเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดภู ซึ่งเดิมอาจจะเป็นเมืองในการปกครองของฟูนัน
และอาจจะเป็นเมืองภวปุระ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์สมัยเมืองพระนคร

ในขณะที่เจ้าชายจิตรเสนซึ่งมีอายุมากกว่ามีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องเลือกออกจากเมือง
ทำหน้าที่เป็นแม่ทัพออกไปโจมตีเมืองต่างๆที่อยู่รายรอบวัดภู
พระองค์ได้ทิ้งจารึกไว้ตามเมืองต่างๆ

เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าภววรมันที่ 1 เจ้าชายจิตรเสนขึ้นเป็นพระเจ้ามเหนทรวรมัน
ต่อด้วยรัชกาลของพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 ซึ่งเป็นโอรสสายตรงของพระองค์
ในเวลาเดียวกันโอรสของพระเจ้าภววรมันที่ 1 คือ ศรีปฤถิวีนทรวรมะ
ซึ่งไม่ได้ครองราชย์แต่ก็ยังอยู่ในราชสำนักและมีโอรสสืบสายสกุลของตน

เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 แทนที่โอรสของพระองค์จะได้ขึ้น
กลับมีการแย่งชิงอำนาจการขึ้นครองราชย์จากหลานของพระเจ้าภววรมันที่ 1 
ซึ่งพระองค์เลือกที่จะใช้นามตามปู่ของพระองค์เป็นพระเจ้าภววรมันที่ 2
จักรวาทินในจารึกบ้านวังไผ่จึงหมายถึงการเชิดชูเกียรติพระเจ้าภววรมันที่ 1 

ศรี ปฤถิวีนทร วรมะ คือชื่อพระราชบิดาที่ผมแยกส่วน
เพื่อจะชื้ให้เห็นว่าน่าจะเป็นชื่อในระดับขุนนาง
หรือเชื้อพระวงศ์ที่ไม่ได้ครองราชย์
แต่การเติมคำว่า วรมะ หรืออาจจะรวมคำว่า ศรี ลงไปนั้น


ภาพจาก https://culturio.sac.or.th/content/1204

น่าจะเกิดขึ้นในสมัยที่โอรสของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ 
ซึ่งเป็นธรรมเนียมปรกติของการเฉลิมพระนามให้พระราชบิดา 
นั่นจึงแก้ปริศนาที่นักวิชาการเชื่อว่า เป็นชื่อกษัตริย์ที่ไม่ได้อยู่ในเจนละ

โอรสของพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 แม้ไม่ได้ขึ้นครองราชย์ แต่ก็ยังน่าจะอยู่ในราชสำนัก
เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าภววรมันที่ 2 ไม่ปรากฏว่ากล่าวถึงการแย่งชิงราชสมบัติ
โดยผู้ที่ขึ้นครองราชย์ในรัชกาลต่อมาคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ซึ่งมีชื่อบิดา
ที่คลุมเครือว่า C้andravaraman
(M. Vickery) แต่จารึกในรัชกาลของพระองค์
อ้างสิทธิ์ความชอบธรรมว่า เป็นหลานคนโตของพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 
ชื่อ C้andravarama ก็สามารถอธิบายโดยใช้หลักที่มาของ ศรีปฤถิวีนทรวรมะ 

ตามจารึกในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ซึ่งมีอยู่หลายหลัก
กล่าวว่าอาณาจักรนั้นยังคงยิ่งใหญ่ แต่มีเพียงปัญหาเดียวคือ
พระองค์ไม่มีทายาทที่เป็นชาย นำไปสู่การแตกออกของอาณาจักร
ตามบันทึกของจีนว่า เจนละบกและเจนละน้ำ

เมื่อได้ที่มาของพระเจ้าภววรมันที่ 2 แล้ว เราจะกลับไปที่จารึกบ้านวังไผ่อีกครั้ง




เมื่อคำสำคัญของจารึกบ้านวังไผ่คือ ศรีภววรมันผู้เสมอด้วยพระอินทร์
และจารึกช่องสระแจงก็กล่าวไว้ว่า มเหนทรวรมันผู้เสมอด้วยพระอินทร์
การแสดงตนของกษัตริย์ว่าเป็นพระศิวะ พระวิษณุ หรือพระอินทร์นั้น
มีนัยยะสำคัญอะไรที่ซ่อนเร้นอยู่หลังคำ
 
เราทราบกันดีว่า ศาสนาพราหมณ์นับถือพระศิวะหรือพระวิษณุ
แต่ศาสนาพุทธให้ความสำคัญกับพระอินทร์ที่คอยมาช่วยพระพุทธเจ้า
 
การปักจารึกช่องสระแจงที่สระแก้ว
สมัยของพระเจ้ามหเหนทรวรมันพระองค์สำแดงตนเป็นองค์อินทร์
เวลาล่วงไปจนถึงการปักจารึกเขาน้อย
สมัยพระเจ้าภวรมันที่ 2 พระองค์กลับสำแดงตนเป็นพระวิษณุ

แสดงให้เห็นว่า ช่วงเวลานั้นเจนละได้ปกครองเมืองสระแก้วมานานพอ
ที่ทำให้ความเชื่อของผู้ปกครอง ได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่
จากการอ้างว่าเป็นพระอินทร์เพื่ออิงกับพุทธศาสนา
กลายมาเป็นพระวิษณุในศาสนาพราหมณ์ตามความเชื่อของตนเอง
 
แต่เมื่อพระเจ้าภววรมันที่ 2 ไปปักจารึกบ้านวังไผ่ที่น่าจะเป็นศรีเทพ
พระองค์นั้นก็ยังต้องกลับไปสำแดงตนว่าเป็นพระอินทร์ แสดงให้เห็นว่า
อาณาจักรเจนละต้องย้อนเวลาไปเหมือนสมัยพระเจ้ามเหนทรวรมัน
เข้ามาปกครองเมืองสระแก้ว เพื่อเชื่อมโยงตนเองเข้ากับพุทธศาสนา
 


จารึกนั้นทำขึ้นในนามกษัตริย์ เราไม่อาจทราบว่า เนื้อหานั้นเท็จจริงกี่ส่วน
แต่การตามหาอดีตที่ยาวนานกว่า 1300 ปีก่อน จารึกนั้นก็เป็นหลักฐานเดียว
ที่เราสามารถเห็นเชิงประจักษ์ได้ว่า เรื่องราวในสมัยนั้นเป็นอย่างไร
 
สงครามของพระเจ้าภววรมันที่ 2 กับศัมพูกะในจารึกบ้านกุดแต้
กับจารึกแสดงอำนาจของพระองค์ที่บ้านวังไผ่ใกล้กับเมืองศรีเทพ
ทำให้เราอาจคลี่คลายปริศนา ว่าเมืองศัมพูกะที่ตามหานั้นอยู่ที่ใด
และในทางกลับกัน เราอาจทราบชื่อในอดีตของเมืองศรีเทพด้วย

สิ่งที่อยากบอกกล่าว คือ blog นี้แทบจะไม่เคยพูดถึงเชื้อชาติ หากไม่ใช่สาระสำคัญ
เพราะสิ่งที่ผมสนใจนั้น คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และเพราะอะไร
ผ่านพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างกาลเวลา ศาสนา และผู้ปกครอง
ขอมคือเขมรหรือไม่ ทวารวดีคือไทยหรือมอญล้วนไม่สำคัญ ควรก้าวผ่านพ้นไป
 
Blog นี้ขอแสดงความยินดีที่ วันที่  19 กันยายน 2566
เมืองศรีเทพได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก
และหวังว่าจะเป็นจุดกระตุ้นให้ผู้มีอำนาจ
ทวงคืนโบราณวัตถุจำนวนมากที่ยังอยู่ต่างประเทศกลับมา



Create Date : 25 กันยายน 2566
Last Update : 21 ธันวาคม 2566 9:40:54 น. 7 comments
Counter : 862 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณเริงฤดีนะ, คุณทนายอ้วน, คุณhaiku, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณหอมกร, คุณnewyorknurse, คุณ**mp5**


 
ศรีเทพ กำลังฮ็อตเลยค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 25 กันยายน 2566 เวลา:13:21:03 น.  

 
ไมเคิล แจ๊คสัน คืนไป..
เอาพระนารายณณฯ คืนมา..
ยุคนั้น เราทำวง..ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
วันนี้เราจะทวง ทั้งทับหลัง และเศียร์พระพุืธรูป
ในเมืองโบราณศรีเทพคืนมา

จอบคุณที่แบ่งปัน

เคยไปสัดถู
และเห็นศิลปะขอมที่สระแก้วบ้าง

แต่เชยไๆ .
ยังไม่เคยไปเมืองโบราณศรีเทพ .

ต้องหาเวลาไปสัก 3 วัน 2 คืน..

สว.เดินลำบากค่ะ
อยากขึ้นบันได.เขาอะไร..สวยๆอลังการณ์นั่นบ้าง
แต่บนเขาถมนรัตน์คงตะกายไม่ถึง



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 25 กันยายน 2566 เวลา:15:11:38 น.  

 
เคยไปวัดภู*

พิมพ์จากมือถือ..ตัวเล็กจิ้มผิดจิ้มถูก
ขออภัยค่ะ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 25 กันยายน 2566 เวลา:15:13:24 น.  

 


ที่ทำงานจัดทริปลาวใต้ค่ะ
ข้ามช่องเม็ก..ข้ามแพขนานยนต์ไปวัดภู..
ค่อยๆปีนขึ้นวัดภู
เราสรงน้ำสิ่งศักดิ์สิทธิ์..กราบขอให้ขึ้น-ลงสะดวก
อยู่นานเป็นกลุ่มสุดท้าย..
ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่..
อยู่มีเพื่อนร่วมงาน..ร้องเสียงดัง
แล้วเป็นหมดสติลมเฉยข้างๆตัว
เอาละซิ..ใครจะแบกลง
แถมต้องลงให้ทันลงแพเที่ยวสุดท้าย..

ลุ้นไปมากๆเพราะฉิวเฉียด
พยุงแกมแบกเพื่อนบงมาถึงท่าน้ำ
เธอก็หายเป็นปกติ

งงๆ...ยังจำไม่เคยลืมเลือน
บางคนว่า..เธอคงไปเอ่ยคำพูด หรือเหยียบอะไร
ที่ไม่ยังควร




โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 25 กันยายน 2566 เวลา:17:07:16 น.  

 
ดีใจที่เรื่องราวเกี่ยวกับทวาราวดีมีคนสนใจมากขึ้นครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 25 กันยายน 2566 เวลา:20:54:40 น.  

 
อ้าวอาณาจักรขอมโบราณนี่นา



โดย: หอมกร วันที่: 26 กันยายน 2566 เวลา:7:10:32 น.  

 
ขอบคุณความรู้ดีๆครับ


โดย: thaichaiyo วันที่: 28 กันยายน 2566 เวลา:14:10:38 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]