Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
27 เมษายน 2554

การกลับมาของกองเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทย (2)



พ.ศ. 2494

เกิดกบฏแมนฮัตตัน โดยทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.ต.มนัส จารุภา รน.
ทำการจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือ
ขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ แมนฮัตตัน ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ
เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยนำไปกักขังไว้ในเรือหลวงศรีอยุธยา

ซึ่งจบลงด้วยความยอมแพ้ของฝ่ายทหารเรือ ซึ่งในขณะนั้นมีศักยภาพสูงมาก
จากการได้รับอาวุธที่เหลือใช้จากสงครามโลกครั้งที่สองมาเป็นจำนวนมาก
หน่วยกำลังทหารเรือหลายหน่วยงานถูกย้ายไปอยู่ที่สัตหีบ บางส่วนถูกยุบ
ซึ่งรวมไปถึงหมวดเรือดำน้ำ ที่ถูกควบไปกับหมวดเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง

พ.ศ. 2539

นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีไทยในสมัยนั้นมีโครงการจะจัดหา
เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นก็อตแลนด์ (A-19 Gotland class) ผลิตโดย
บริษัทค็อกคูม (KOCKUM) จากสวีเดนมาประจำการในกองทัพเรือไทย
แต่ขณะนั้นได้ประสบปัญหาถูกสื่อของทั้งสวีเดนและไทย ออกข่าวโจมตีว่า
มีการให้ค่าคอมมิชั่นในการจัดซื้อให้แก่คนในรัฐบาลไทยในสมัยนั้น
จนเป็นเหตุให้ถูกระงับโครงการ

พ.ศ. 2543

กองทัพอากาศเยอรมันได้ปลดประจำการเครื่องบินรบ Alpha jet
เกือบหนึ่งร้อยลำ กองทัพอากาศไทยซื้อมาบางส่วน จำนวน 25 ลำ
ในราคาเพียง 1250 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ถูกมาจนน่าจะซื้อมามากกว่านี้

พ.ศ. 2554

กองทัพเรือเยอรมันมีความประสงค์จะปลดเรือดำน้ำรุ่น U206A ที่เหลือทั้งหมด
จำนวน 6 ลำ โดยเป็นเรือที่มีความพร้อมในการรบจำนวน 4 ลำและเป็นอะไหล่ 2 ลำ
พร้อมทั้งอุปกรณ์ อะไหล่ เครื่องจำลอง และการฝึกอบรมทั้งหมดให้กองทัพเรือไทย
ในวงเงิน 7700 ล้านบาท โดยใช้เงินจากงบประมาณประจำปีที่ได้รับทยอยจ่าย 4 ปี

ซึ่งแปลว่าตัวเรือดำน้ำมีราคาถูกเหมือนได้เปล่า เนื่องจากราคานี้นั้นหมายถึง
การเปลี่ยนกองทัพเรือไทยที่ไม่เรือดำน้ำมากกว่า 60 ปีให้กลับมาพร้อมรบอีกครั้ง
ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างอาคารและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับเรือดำน้ำทั้งหมด
ซึ่งหากเปลี่ยนเงินจำนวนนี้เป็นการซื้อใหม่ จะได้เพียงเรือดำน้ำตัวเปล่าเพียง 2 ลำ

ซึ่งเป็นหลักนิยมของกองทัพเรือในทุกประเทศที่จะจัดหาเรือดำน้ำมือสอง
มาใช้เพื่อฝึกให้เคยชินก่อน ก่อนที่จะซื้อเรือดำน้ำใหม่เข้าประจำการ
และการมีเรือดำน้ำที่พร้อมรบจำนวน 4 ลำจะเพียงพอต่อวงรอบการลาดตระเวน
และมีอีก 2 ลำที่จะเป็นอะไหล่ให้ถอดไปใช้งานและเป็นเรือฝึกให้ลูกเรือใหม่

เรือดำน้ำรุ่น 206A ถูกอัพเกรดมาจากเรือดำน้ำรุ่น 206
ผลิตขึ้นโดยบริษัท Howaldtswerke-Deutsche-Werft AG
ความยาวลำตัวเรือ 48.6 เมตร ความกว้าง 4.6 เมตร
มีระวาง 450 ตันบนผิวน้ำและ 498 ตันขณะดำ

ใช้เครื่องยนต์ MTU ขนาด 600 แรงม้าจำนวน 2 เครื่อง
ขณะอยู่ใต้ผิวน้ำใช้เครื่องมอเตอร์ไฟฟ้า Siemens ขนาด 1100 kW
ความเร็วเมื่ออยู่บนผิวน้ำ 31 km/h ใต้ผิวน้ำ 19 km/h
ระยะปฏิบัติการ 8300 km ดำน้ำได้ระยะ 420 km ต่อครั้ง
ความลึกสูงสุด 200 m บรรจุตอร์ปิโด 8 ลูก ทุ่นระเบิด 24 ลูก

ความพิเศษคือเป็นเรือที่ออกแบบให้ปฏิบัติการลาดตระเวนในเขตน้ำตื้น
และลำตัวเรือผลิตจากเหล็กเกรดพิเศษที่ไม่เป็นสนิม จึงไม่มีอายุการใช้งาน
กองทัพเรือเยอรมันจะมอบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้กองทัพเรือไทย
เนื่องจากเก็บไว้ก็ไร้ประโยชน์ สิ่งเดียวที่จะถูกถอดออกก็คือเครื่องเข้ารหัส

หลังจากที่เรือดำน้ำของไทยได้จากอ่าวไทยไปกว่า 60 ปี
หากพลาดสัญญาฉบับนี้ไป ไม่รู้ว่าจะต้องรอไปอีกนานเท่าไหร่
ที่กองเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทยจะได้กลับมาอีกครั้ง

แล้วทำไมเราต้องมีเรือดำน้ำ ก็เพราะเรือดำน้ำเป็นอาวุธที่อันตรายที่สุด

และอาวุธต่อต้านเรือดำน้ำที่ดีที่สุด ก็คือเรือดำน้ำด้วยกันนี่เอง

ปัญหาคือรัฐบาลประกาศยุบสภาไปแล้ว

แล้วจะกล้าอนุมัติโครงการนี้หรือเปล่า

คงเป็นคำถามที่วันนี้ยังไม่มีใครรู้คำตอบ



Create Date : 27 เมษายน 2554
Last Update : 27 กันยายน 2554 19:26:42 น. 4 comments
Counter : 2195 Pageviews.  

 
ถ้าตรงไปตรงมา ไม่โกงกิน ป่านนี้เมืองไทยไปโลดแล้วนะคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 27 เมษายน 2554 เวลา:15:04:48 น.  

 
นั้นสิ อิอิ


โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 27 เมษายน 2554 เวลา:15:49:44 น.  

 

ขอบคุณที่นำมาฝากค่ะ



โดย: อุ้มสี วันที่: 27 เมษายน 2554 เวลา:23:41:24 น.  

 
ว่ากันว่าที่กบฏแมนฮัตตันต้องยอมแพ้เพราะ แม่จะคุมตัวจอมพล ป. ไว้เป็นตัวประกัน แต่จอมพลสฤษดิ์ ไม่สนตัวประกัน สั่งยิงเรือจม จอมพล ป. ต้องว่ายน้ำหนีเหมือนกัน


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 28 กันยายน 2554 เวลา:9:19:51 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]