Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กรกฏาคม 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
27 กรกฏาคม 2564

เที่ยวทิพย์ : การกลับบ้านของทับหลังปราสาทเขาโล้น (จบ)

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทพนมรุ้ง

เชื่อว่าทับหลังปราสาทเขาโล้นหายไปในราวช่วงปี พ.ศ. 2510-2512
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทหารสหรัฐเข้ามาใช้สนามบินต่างๆ ในการทำสงครามเวียดนาม
มีโบราณวัตถุจำนวนมากที่หายไปจากบริเวณเมืองศรีเทพและภาคอีสานของไทย
และทับหลังที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการทวงคืนได้ ก็คงเป็นทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
 
แน่นอนว่าทุกสิ่งมิได้ง่ายดาย ต้องใช้เวลาอย่างยาวนาน และหลักฐานการที่แน่ชัด
 
พ.ศ. 2504 มีการใช้ระเบิดทำลายปราสาทพนมรุ้งเพื่อขโมยศิลปะวัตถุออกไป
พ.ศ. 2516 ศ. มจ. ศุภัทรดิศ ดิศกุล ได้แจ้งไปที่กรมศิลปากรว่า
พบทับหลังที่หายไปจัดแสดงอยู่ที่ The art institute of Chicago
โดยมีข้อความระบุว่า นาย Alsdorf เศรษฐีชาวอเมริกันเป็นผู้ให้ยืมมาจัดแสดง

พ.ศ. 2519 กรมศิลปากรจึงส่งจดหมายไปเพื่อขอคืน โดยใช้หลักฐานภาพถ่าย
ของนายมานิต วัลลิโภดม ในคราวที่ไปสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2503
นาย Alsdorf ตอบกระทรวงการต่างประเทศกลับมาสั้นๆ
เพียงว่า ทับหลังชื้นเป็นของ Alsdorf foundation

พ.ศ. 2530 หนังสือพิมท์ไทยเริ่มมีการเสนอข่าวเรื่องดังกล่าว
กรรมาธิการวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้มอบหมายให้
นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ในฐานะ ส.ส. จังหวัดบุรีรัมย์ ทำหน้าประสานงานทวงคืน 

ต่อมาสำนักข่าว AP ได้ตีพิมพ์แถลงการณ์ของ The art institute of Chicago
ใจความสำคัญคือ ยินดีที่จะคืนทับหลังชิ้นนี้ให้ โดยขอแลกเปลี่ยนกับโบราณวัตถุชิ้นอื่น
กลางปี พ.ศ. 2531 คนไทยในเมือง Chicago ได้ออกมาประท้วง
และรวมตัวตั้งเป็นคณะกรรมการรณรงค์กรณีทับหลังฯ เพื่อติดต่อทางสภาเมืองชิคาโก
 
นำไปสู่การไต่สวนสาธารณะ ณ ศาลาว่าการเมือง ในเดือนตุลาคม
โดยคณะกรรมการฯ ได้รวบรวมทุนการเดินทางให้ ศ. มจ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และคณะฯ
เป็นผู้แทนจากประเทศไทยไปให้การในเรื่องดังกล่าว
หนึ่งเดือนต่อมาทางสถาบันศิลปะชิคาโก ก็ตัดสินใจส่งคืนทับหลังชิ้นนี้มาประเทศไทย
โดยปัจจุบันติดอยู่ที่ตำแหน่งเดิม ณ ปราสาทพนมรุ้ง
 

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธู์ ปราสาทกู่สวนแตง

พ.ศ. 2532 ศ.มจ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ตีพิมพ์บทความ เรื่อง the stolen art objects
return to Thailand ในวารสาร SPAFA Digest เรื่องการทวงคืนทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
ซึ่งบทความนี้คือบันทึกที่สำคัญ เป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการตามหาหลักฐาน
การครอบครองทับหลังปราสาทหนองหงส์และปราสาทเขาโล้นในเวลาต่อมา
 
ในบทความนี้ได้กล่าวย้อนถึงทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์อีกชิ้นของไทย
ที่ได้หายไปในช่วงเวลานั้น และประเทศไทยได้รับคืนมาในเวลาต่อมาไม่นาน
ทำให้น้อยคนนักที่จะทราบเรื่องนี้ นั่นก็คือ ทับหลังจากปราสาทกู่สวนแตง
ที่ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
 
พ.ศ. 2507 ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทกู่สวนแตง ถูกขโมยไป
ต่อมา ศ. มจ. ศุภัทรดิศ ดิศกุล ได้เห็นภาพทับหลังดังกล่าวในหนังสือที่พิมพ์โดย
Asia Foundation ระบุว่า ทับหลังนี้จัดแสดงที่ De yong museum
เมือง San Francisco โดยระบุว่าเศรษฐีชาวอังกฤษชื่อ นาย Avery Brundage บริจาคให้
 
ถึงตรงนี้คงสงสัยว่า ทำไมเศรษฐีชอบบริจาควัตถุโบราณล้ำค่าให้พิพิธภัณฑ์
เหตุผลแรกเบื้องหน้านั้นคือ การบริจาคสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
แต่อีกเหตุผลที่แอบแฝงอยู่นั้นคือ ทำให้พิพิธภัณฑ์คือผู้รับประกันว่าชิ้นนี่คือของแท้
ส่งผลทางอ้อมถึงโบราณวัตถุในชุดเดียวกันที่ยังอยู่ในมือผู้บริจาค หากมีการนำออกมาประมูล
 
ในบทความกล่าวว่า หลังการเจรจาอย่างเงียบๆ เป็นเวลานาน ในที่สุดทางพิพิธภัณฑ์
ก็ได้ส่งทับหลังปราสาทกู่สวนแตงกลับมาให้กรมศิลปากร ในช่วงกลางปี พ.ศ 2513
ด้วยเหตุผลที่ว่า นาย Avery Brundage ต้องเดินทางมาประเทศไทย
ในฐานะประธานพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา Asean games 
 

 

เทวรูปแบบประโคนชับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

ต้นปี พ.ศ. 2559 ได้มีข่าวเรื่อง เทวรูปแบบประโคนชัยถูกประมูลขายที่ต่างประเทศ
ทำให้เกิดเป็นกระแสต่อมา ถึงการติดตามและการทวงคืนกลับมาเป็นสมบัติชาติ
โดยนักวิชาการอิสระภาคประชาชนในนามกลุ่ม สำนึก 300 องค์ ที่จุดกระแส
ไปถึงหน่วยราชการและภาคการเมือง จนเกิดเป็นคณะทำงานเพื่อติดตามทวงคืนในระดับประเทศ
 
มีการประชุมเป็นระยะสำหรับการหาหลักฐานเพื่อประสานงานไปยังสหรัฐอเมริกา
ที่เป็นประเทศต้นทางที่พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นผู้ครองครองศิลปวัตถุกลุ่มนี้
ซึ่งเมื่อภาคประชาชนได้ไปถ่ายภาพเทวรูปแบบประโคนชัยกลับมาให้คณะทำงานฯ
รู้ว่ายังมีศิลปวัตถุของไทยอีกหลายรายการ ที่ไม่รวมอยู่ในกลุ่มเทวรูปแบบประโคนชัยด้วย

จึงเป็นที่มาของการติดตามศิลปวัตถุรายการอื่นๆ เพิ่มเติม โดยเริ่มจากทับหลังสองชิ้นนี้
ที่มีหลักฐานอย่างยืนยันแน่ชัดว่าถูกนำออกไปหลังปี พ.ศ. 2504 ที่มีกฎหมายคุ้มครอง
ซึ่งต้องมีเอกสารการส่งออกโบราณวัตถุที่ออกให้โดยกรมศิลปากร
จึงจะถือว่าได้ว่าชาวต่างชาตินั้นได้มาครอบครองโดยถูกต้องตามกฎหมาย

แต่เดิมนั้นการทวงคืนของจากต่างประเทศนั้นทำได้ยาก
เป็นเวลากว่า 5 ปี ที่ทางคณะทำงานทวงคืนฯ ได้หาหลักฐานของโบราณวัตถุต่างๆ
โดยทับหลังทั้งสองชื้นนั้นเป็นสองรายการแรกที่ส่งไปว่า
ประเทศไทยประสงค์ขอคืน เนื่องจากเราเชื่อว่ามีหลักฐานมากพอ

แต่ความสำเร็จในวันนี้มิได้มาโดยง่ายนี้
มันเกิดจากความร่วมมือกันของภาคเอกชนทั้งฝั่งประเทศอเมริกาและประเทศไทย
ที่ช่วยกันตามหาหลักฐานที่มาของทับหลังทั้งสองชิ้นที่ Asian art museum
 


ทับหลังปราสาทเขาโล้น ขณะจัดแสดงที่ Asian art museum, San Francisco
www.theartnewspaper.com/news/lintels-at-asian-art-museum-to-return-to-thailand


นักข่าวอเมริกาชื่อ Jason felch เป็นผู้ที่ขุดคุ้ยเรื่องการได้มาของศิลปวัตถุตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ
จนนำไปสู่การคืนเทพี Aphrodite ไปสู่ประเทศเจ้าของจนสำเร็จและได้แต่งหนังสือเรื่อง 
Chasing Aphrodite :The Hunt for Looted Antiquities at the World’s Richest Museum
 
จนนำไปสู่การปราบปรามการหลบเลี่ยงภาษีผ่านการบริจาคศิลปวัตถุให้พิพิธภัณฑ์
เรื่องนี้จุดประกายให้คณะทำงานทวงคืนฯ เห็นความที่เป็นไปได้ที่จะใช้ช่องทางเดียวกันนี้
โดยอาศัยกฎหมาย national property act ผ่านกระทรวง Homeland Security 
เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เจ้าของโบราณวัตถุ มีหน้าที่ต้องเป็นผู้พิสูจน์การครอบครองว่า ได้มาโดยชอบหรือไม่
 
ซึ่งทางประเทศไทยก็ได้ส่งหลักฐานภาพถ่ายของทับหลังขณะติดอยู่บนตัวปราสาท
เพื่อยินยันว่าทับหลังทั้งสองชิ้นนี้ เป็นโบราณวัตถุที่ลักลอบนำออกมาจากประเทศ
จากการสอบสวนพิพิธภัณฑ์ฯ ชี้แจงว่า ทับหลังนี้ได้รับบริจาคมาจากนาย Avery Brundage 
เมื่อ พ.ศ. 2509 ทำให้คณะทำงานทวงคืนฯ ได้จิ๊กซอว์ที่สำคัญ

เพราะชื่อนี้เคยปรากฏอยู่ในบทความของ ศ. มจ. ศุภัทรดิศ เรื่องทับหลังนารยณ์บรรทมสินธุ์ที่หายไป
โดยกล่าวย้อนถึง เรื่องการคืนทับหลังปราสาทกู่สวนแตง จึงสามารถเชื่อมโยงได้ว่า
ทับหลังปราสาทกู่สวยแตง ทับหลังปราสาทหนองหงส์ และทับหลังปราสาทเขาโล้น
ต้องถูกลักลอบนำออกจากประเทศไทยไปพร้อมกัน โดยผู้รับซื้อไว้คือนาย Avery Brundage 
ซึ่งเคยยอมรับ และคืนทับหลังกู่สวนแตงมาให้ไทยมาเมื่อ 50 ปีก่อนหน้านี้แล้ว


 

https://siamrath.co.th/n/249115
 
เมื่อทราบเช่นนี้ จึงมีการตามหาจดหมายการทวงคืนทับหลังชิ้นดังกล่าวโดยกรมศิลปากร
ซึ่งแสดงว่าประเทศไทยรับรู้ เรื่องการลักลอบนำทับหลังออกไปอย่างผิดกฎหมาย
และก็ได้แสดงเจตจำนงที่จะขอคืน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะเหตุการณ์นั้นผ่านมาหลายสิบปี
มีการตามหาในสถานที่ราชการหลายที่ ในที่สุดก็พบหลักฐานนี้ที่หอจดหมายเหตุ
 
หลังจากได้รับหลักฐานจากประเทศไทย และจากการสืบสวนโดย Homeland Security
โดยความช่วยเหลือประสานงานของ Jason Felch ในที่สุด Asian Art museum
จึงเลือกที่จะแจ้งว่า ยินดีที่จะส่งทับหลังปราสาทหนองหงส์และปราสาทเขาโล้นคืน
ให้กับรัฐบาลไทยผ่านกงสุลใหญ่ ณ เมือง Los Angelis เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2564
 
วันที่ 31 พ.ค. 2564 กรมศิลปากรได้มีพิธีบวงสรวงต้อนรับทับหลังทั้งสองชิ้นนี้
และจะจัดแสดงให้ประชาชนชาวไทยได้ชมกัน ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เป็นเวลา 3 เดือน
และในที่สุดก็มีข่าวว่าจะจัดแสดงต่อจนกระทั่งสิ้นเดือนกันยายน 2564    
 
จากการกระแสของการทวงคืนเทวรูปแบบประโคนชัย
ที่ปัจจุบันยังไม่ได้รับคืนมา นำไปสู่การกลับบ้านของทับหลัง 2 ชิ้น 
และจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการทวงคืนโบราณวัตถุชิ้นอื่นๆ
อีกมากมายกว่า 50 รายการ ส่วนใหญ่เป็นเทวรูปประโคนชัย

แต่ก็ยังมีสิ่งของที่น่าสนใจอีกหลายรายการ ที่เราเคยแต่ทราบว่า
ค้นพบที่ประเทศไทย แต่ปัจจุบันได้หายไปอยู่ที่ต่างประเทศแล้ว
 

 สุริยะเทพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

เดือน ธ.ค. 2531 หลังกระแสการทวงคืนทับหลังนารายณบรรทมสินธุ์ได้เป็นผลสำเร็จ
ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงประทานสัมภาษณ์กับหนังสือสารคดีโดยได้ทิ้งท้ายไว้ว่า
ขอให้คนไทยอย่าลืมเรื่องนี้เพราะยังมีโบราณวัตถุอีกมากมายที่ยังอยู่ที่ต่างประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสิ่งของจากเมืองศรีเทพ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ คือเทวรูปสุริยเทพ
เนื่องจากเรายังขาดการศึกษาว่าเหตุใด จึงมีการสร้างไว้ที่นี่เป็นจำนวนมาก มาจากความเชื่อสิ่งใด
แม้จะหลงเหลือเทวรูปชุดนี้อยู่บ้างที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และที่เมืองศรีเทพ
แแต่ชิ้นที่งามและสมบูรณ์นั้นยังคงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Norton Simon เมือง Chicago

นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปแบบมอญ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญของพุทธศาสนาที่เมืองศรีเทพ
และแผ่นดุนทองคำรูปพระวิษณุ ซึ่งถือว่าเป็นของที่สำคัญเนื่องจากพบเพียงชิ้นเดียวในประเทศไทย
รวมโบราณวัตถุจำนวน 10 รายการ ที่เราต้องการทวงคืนจากพิพิธภัณฑ์ Norton Simon
 
นอกจากนี้ยังมีศิลปะวัตถุจากปราสาทพนมรุ้ง อีก 3 รายการ ประกอบไปด้วยม้าหินทราย
พาหนะของพระพาย นางสีดาที่กรอบเสาประตู และทับหลังตอนกุมภกรรณสู่สนามรบ
ที่มีคนนำไปขาย ในสมัยที่มีคนมารับซื้อเทวรูปที่ปราสาทปลายบัต

ซึ่งทั้งหมดนั้นยากตรงที่ไม่มีภาพถ่ายยืนยัน เหมือนกับทับหลังทั้งสองชิ้น
 ทำให้ยากที่จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นโบราณวัตถุของไทย หรือกัมพูชาหากต้องการทวงคืน
ความยากอย่างสุดท้าย คือยังไม่สามารถผลักดันการทวงคืนโบราณวัตถุจากปราสาท
ที่ยังเป็นกรณีพิพาทตามแนวชายแดน เพราะจะกลายเป็นความตึงเครียดทางการเมืองได้



Create Date : 27 กรกฎาคม 2564
Last Update : 10 สิงหาคม 2564 13:37:30 น. 5 comments
Counter : 1860 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณทนายอ้วน, คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณtuk-tuk@korat, คุณKavanich96, คุณnewyorknurse, คุณนายแว่นขยันเที่ยว


 
มาชมความสวยงามของทับหลังด้วยคราบ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 27 กรกฎาคม 2564 เวลา:16:24:40 น.  

 
ที่จริงก็เป็นศิลปะขอมนะ ไม่ใช่ของไทยซะหน่อยจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 28 กรกฎาคม 2564 เวลา:10:42:01 น.  

 
สาธุ​ๆ​ๆ​ ทับหลังสวยงาทยิ่งนัก😄


โดย: Noppamas Bee วันที่: 29 กรกฎาคม 2564 เวลา:8:16:37 น.  

 
ทับหลังกู่สวนแตงชิ้นที่เคยเห็นสวยคมมาก แต่ไม่เคยไปปราสาทกู่สวนแตงสักที
เคยใช้เส้นทางนั้นนานมากแล้ว จนจำไม่ได้ว่าใช้ไปมุกดา หรืออุบล หรือร้อยเอ็ด

โคราช-เชียงใหม่ ไกลกว่าค่ะ

ร้านข้าวซอยมิชลินที่เชียงใหม่ แพงมาก คีบสองคำหมด ทานไม่มิชลินดีกว่าค่ะ

อีกร้านเป็นตามสั่งยังไม่เคยลองค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 29 กรกฎาคม 2564 เวลา:14:52:40 น.  

 
จากที่บล็อก


การถ่ายรูปอาหารเมืองนอกเค้าถือครับ ถ้าเค้าห้ามก็ห้ามเด็ดขาด คงเป็นเพราะว่ามีเรื่องลิขสิทธิ์ในขนมอยู่ด้วย แบบนี้ที่สิงคโปร์ก็เคยเจอครับ ร้านใหญ่ๆเราต้องถามพนักงานก่อนเลยครับว่าเค้าให้ถ่ายรูปหรือเปล่า ในขณะที่ทางยุโรปถ่ายได้สบายมาก ยูว์อยากถ่ายถ่ายเรย แถมมาช่วยอย่ในเฟรมด้วย อิอิอิ


ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้บล็อก - Godiva Hong Kong ด้วยนะครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 29 กรกฎาคม 2564 เวลา:20:34:58 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]