Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ธันวาคม 2558
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
21 ธันวาคม 2558

วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (1)



เรายังคงอยู่กันที่เรื่องราวแห่งสถาปัตยกรรมไทยสมัย ร . 1
เพียงแต่ที่พาวนรอบพระอุโบสถวัดพระเชตุพนนั้น
เพราะว่าอยากจะให้ไปอ่านหนังสือกันเอง มากกว่า
ว่านักประวัติศาสตร์ตีความอย่างไรกับวัดประจำรัชกาลแห่งนี้

หากจะกล่าวถึงจิตกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 ที่ยังหลงเหลือยู่
ไม่น่าจะมีที่ใดที่ไม่เคยถูกซ่อมแซม ยกเว้นแค่ หอไตรวัดระฆัง
ผมเองก็ไปด้อมๆ ดูเองมาหนสองหน แต่บอกได้เลยว่า
ยากมากที่จะเก็บเรื่องราวทั้งหมดของเรือนไม้ขนาดไม่ใหญ่หลังนี้

เพราะจิตรกรรมไทย ถ้าไม่มีคนนำชมก็ยากที่จะค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ได้
อย่างที่เคยกล่าวไว้ก่อนหน้า เรื่องสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1
พระองค์ทรงเน้นคติเรื่องพระอินทร์เป็นสำคัญ ที่นี่เองเราจะได้เห็น
โลกทัศน์ของคนเมื่อ 200 ปีก่อนที่มีความเชื่อต่อพุทธศาสนา

และถ่ายทอดมันลงมาสู่ศิลปะแห่งภาพจิตรกรรม



มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้จัดบริการทางวิชาการเรื่อง
ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม ในวันที่ 28-29 มี.ค. 2558
โดยในวันแรกเป็นการบรรยายที่ห้องประชุมปิ่นน้อย
และวันที่สองเป็นการนำชมในสถานที่จริง

การบรรยายในช่วงเช้า เริ่มต้นด้วย อ. กำพล อำปาพันธ์
จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนพระนครศรีอยุธยา เรื่อง
วัดระฆังและชุมชนเมืองท่าบางกอกสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์

กล่าวถึงความสำคัญของการเป็นเมืองท่าบางกอกที่มีมาแต่ครั้งอยุธยา
ก่อนที่จะมาเป็นกรุงเทพอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน เราต้องจินตนาการถึง
ช่วงเวลาหลังยุคทวารวดี เมื่อน้ำทะเลในอ่าวไทยลดระดับลง
ดินตะกอนปากแม่น้ำต่างๆ ได้ทับถมจนเกิดเป็นภาคกลางตอนล่าง

อยุธยาได้ถือกำเนิดขึ้น พร้อมกับหลักฐานชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทราย
ร่วมสมัยกับสมัยอยุธยาตอนต้น กระจัดกระจายในหลายวัดย่านตลิ่งชัน
แสดงว่าแถบเมืองธนบุรีนั้นต้องเกิดเป็นย่านชุมชนขึ้นมาแล้ว

แต่คำว่าตลิ่งชัน หมายถึงโค้งตลิ่งของฝั่งแม่น้ำที่อยู่สูง
นั่นหมายถึงฝั่งธนบุรีอีกฝั่งย่อมอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า
และเราไม่พบวัดวาอารามในฝั่งนี้ ที่เก่าแก่เหมือนกับย่านตลิ่งชัน
เป็นไปได้มากว่า ความเจริญนั้นตั้งอยู่เพียงฝั่งเดียว เพราะไม่ถูกกัดเซาะ



จากเดิมความเจริญเดิมในย่านตลิ่งชัน ได้ถูกย้ายออกมายังปากอ่าว
อย่างน้อยหลักฐานคือป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่สร้างในสมัยพระนารายณ์
แสดงว่าย่านธนบุรีฝั่งที่ตรงข้ามกับป้อมบางกอกต้องมีคนอยู่อาศัยหนาแน่น
เพราะมีการตั้งด่านขนอนเพื่อเรียกเก็บภาษี แสดงว่าต้องเป็นที่ชุมชน

สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งยืนยันก็คือวัดโบราณที่มีมาแต่ในสมัยอยุธยาในแถบนั้น
เช่น วัดมะกอกนอก วัดหงส์ วัดชัยพฤกษ์ วัดบางหว้าใหญ่ เป็นต้น
กล่าวได้ว่า วัดในฝั่งธนบุรีและกรุงเทพกว่า 80% ล้วนเป็นวัดที่มีอยู่เดิม
เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร คงกำเนิดเกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย

หลังเสียกรุงครั้งที่ 2 พระเจ้าตากได้ละทิ้งเมืองขนาดใหญ่อย่างอยุธยา
มาตั้งมั่นที่เมืองธนบุรี และสร้างเป็นศูนย์กลางการปกครองอาณาจักร
ในสมัยนี้จึงเป็นยุคที่ธนบุรีเฟื่องฟูถึงขีดสุด มีพระบรมมหาราชวัง
มีการตั้งชุมชนเป็นย่านต่างๆ และการบูรณะวัดต่างๆ ที่เสื่อมโทรมขึ้นมา

กรุงธนบุรีนั้นเป็นเมืองอกแตก เพราะพระเจ้าตากได้สั่งให้ขุดคลองรอบกรุง
ที่เราคุ้นในชื่อคลองหลอด แต่ชื่อทางราชการกำหนดคือ คลองคูเมืองเดิม
น่าจะมีการตั้งถิ่นฐานของคนไทยและคนมอญในฝั่งธนบุรี
แต่ชาวต่างชาติอย่างคนจีน เขมร หรือญวนนั้นให้ไปอยู่ฝั่งบางกอก

พ.ศ. 2325 มีการปราบดาภิเษกของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
พระองค์โปรดให้ย้ายเมืองมาฝั่งบางกอก การนี้จึงจำเป็นต้องมีการไล่ที่
เราจึงทราบว่า พระบรมมหาราชวังและสนามหลวงเดิมในสมัยธนบุรีนั้น
คือทุ่งนาของชาวจีน ที่ถูกสั่งให้ไปตั้งถิ่นฐานที่สำเพ็งในเวลาต่อมา



ส่วนที่มาของชื่อวัดระฆังนั้น มีคำอธิบายเป็น 2 แนวทาง คือ
1 ตามพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ของเจ้าพระยาทิพากร
ทีมีการระบุว่า วัดบางหว้าใหญ่ทรงปฏิสังขรณ์แล้ว
พระราชทานนามเปลี่ยนว่า วัดระฆัง ให้เหมือนกับวัดระฆังครั้งกรุงเก่า
ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้พระราชวังข้างตะวันตก

2 ตามหนังสือทำเนียบประวัติทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2525 ว่า
วัดระฆังเดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงยกวัดบางหว้าใหญ่จากวัดราษฎร์
ขึ้นเป็นพระอารามหลวง โปรดให้อัญเชิญพระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราช

มาเพื่อให้พระสังฆราชสีและเถรานุเถระสังคายนาจนเสร็จสมบูรณ์
ครั้งถึงรัชกาลที่ 1 โปรดให้นิมนต์พระอาจารย์สีที่ถูกถอดสมณศักดิ์
มาอยู่วัดบางหว้าใหญ่ดังเดิม และให้คืนสมณศักดิ์เป็นสังฆราชตามเดิม
มีการขุดพบระฆังเสียงดี รัชกาลที่ 1 ทรงขอไป คนจึงให้ชื่อว่า วัดระฆัง

คำถามสำคัญคือ อะไรน่าเชื่อถือกว่าถึงที่มาแห่งนามเรียกขาน



ความเชื่อที่ 2 นั้นดูจะเป็นการบันทึกจากการเล่าต่อๆ กันแบบปากต่อปาก
ต่างจากหลักฐานแบบที่ 1 ซึ่งเป็นทางการกว่า ซึ่งกลับไม่ปรากฏว่า
มีการกล่าวถึงการค้นพบระฆังที่มีความสำคัญขนาดที่พระมหากษัตริย์ทรงขอ
และที่วัดพระแก้วเองนั้นก็ไม่ต้องมีหอระฆัง เพราะไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา

ส่วนหอระฆังที่วัดพระแก้วนั้นถูกบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 4
ส่วนตัวผมเคยไปยืนดู ก็เห็นว่าเป็นระฆังทรงหนาตัน
ไม่มีทางจะเป็นระฆังเสียงดีที่ต้องมีความโปร่งบางจนให้เสียงกังวานได้
แต่บางคนก็ว่าเป็นคนละใบ ไม่ใช่ใบที่อยู่บนหอระฆัง ก็ว่ากันไป

ปัจจุบันวัดระฆังมีหอระฆัง 5 ใบ ที่เป็นไปได้ว่า รัชกาลที่ 1 ทรงโปรด
ให้สร้างเยอะกว่าที่อื่น เพราะต้องการให้เป็นไปตามชื่อของวัดนั่นเอง
หรือหากเชื่อลึกไปกว่านั้น พระองค์เลือกจะเปลี่ยนชื่อวัดบางหว้าใหญ่
มาเป็นชื่อวัดที่ไม่สำคัญอย่างเช่น ชื่อของวัดระฆังในสมัยอยุธยา

ดูเหมือนว่าจะมีความเป็นไปได้เพียงหนึ่งเดียว นั่นก็คือพระองค์ต้องการ
ให้พระนามของพระองค์นั้นโด่งดังเหมือนกับเสียงของระฆังนั่นเอง
จากนั้นก็มี อ. รุ่งโรจน์ ธรรมมรุ่งเรือง มาคุยเรื่องจิตรกรรมในหอไตร
อภิรมย์นุกูล มาคุยเรื่องเจดีย์ประธาน ที่คิดว่าเป็นมหาธาตุกลางเมือง
และคุณยุทธนา แสงอร่าม มาคุยเรื่องจิตกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ



Create Date : 21 ธันวาคม 2558
Last Update : 21 ธันวาคม 2558 15:39:47 น. 3 comments
Counter : 837 Pageviews.  

 
เคยไปวัดระฆัง แต่ไม่รู้อะไรหลายอย่างแบบที่เอนทรี่นี้เขียนเลยค่ะ แหะๆ


เรื่องคลุม เราเห็นหลายคนคลุมนะคะ แต่คนที่เห็นกันที่ร้านอาหารต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นชาติอื่นกันน่ะค่ะ ไม่ใช่คนดูไบ แต่ก็ไม่ชัวร์ว่าคนดูไบคลุมกันทุกคนมั้ยนะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 21 ธันวาคม 2558 เวลา:19:09:02 น.  

 
ตอนที่ 1 แปลว่า มีตอนต่อ ... รออ่านต่อค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
NaiKonDin Photo Blog ดู Blog
ปรัซซี่ Food Blog ดู Blog
ที่เห็นและเป็นมา Blog about TV ดู Blog
moresaw Funniest Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


*** ตั้งใจมากค่ะ ครั้งหนึ่งในชีวิตกับภาพประวัติศาสตร์แบบนี้


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 21 ธันวาคม 2558 เวลา:19:33:16 น.  

 
เข้ามาอ่านต่อ ขอบคุณค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 1 มกราคม 2559 เวลา:14:52:49 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]