ตอนที่ 6 ที่วิหารพระหินอ่อนภายในวัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
คลิกย้อนไปอ่านตอนที่ 1 : สีสันรสชาติของชีวิต คลิกย้อนไปอ่านตอนที่ 2 : ฝันเป็นจริง คลิกย้อนไปอ่านตอนที่ 3 : คุ้มค่ากับการมาตะลอนเที่ยวคนเดียว คลิกย้อนไปอ่านตอนที่ 4 : นอนคนเดียวที่โรงแรมซองกาเรียอินน์ คลิกย้อนไปอ่านตอนที่ 5 : ไปกราบหลวงพ่ออุตตมะที่วัดวังก์วิเวการาม วัดวังก์วิเวการาม ตั้งอยู่ที่บ้านวังกะ หมู่ 2 ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ 605 ไร่ มีอาณาเขต มีดังนี้ ทิศเหนือจรดอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ (เขื่อนเขาแหลม) ทิศใต้จรดแม่น้ำบีคลี่ ทิศตะวันออกจรดอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ (เขื่อนเขาแหลม) และทิศตะวันตกจรดแม่น้ำบีคลี่และภูเขา วัดวังก์วิเวการามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพ.ศ.2528 โดยหลวงพ่ออุตตะมะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ชื่อวัดวังก์วิเวการาม หมายถึง วัดที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของฝูงปลาจำนวนมากค่ะ แยกรากศัพท์ออกมาได้ดังนี้ คำว่า วัง หมายถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ คำว่า ก๊ะ หรือ กะ เป็นภาษามอญ แปลว่า ปลา วิหารพระหินอ่อน จะอยู่ทางขวามือติดกับทางเข้า อาคารสร้างแบบก่ออิฐถือปูน มีทางเดินเชื่อมต่ออาคาร มีหลังคาคลุมตลอด ส่วนอีกฝั่งหนึ่งก็จะติดกับกุฏิพระค่ะ ช่วงที่อุ้มไปเมื่อวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2557 ไปส่องดูเห็นชาวบ้านกำลังประชุมกันเรื่องเตรียมงานสมโภชวัดน่ะค่ะ ขอบคุณที่มาของข้อมูล : คุณอริญญา เจริญหงษ์ษา เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลวังกะ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี หอระฆังวัดวังก์วิเวกการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี หรือเรียกกันตามง่ายๆ ว่า หอะฆังวัดหลวงพ่ออุตตมะ เป็นหอระฆังที่แปลกอเมซิ่งมากๆ เลยค่ะ หลวงพ่ออุตตมะสร้างตามแบบหอดูเมืองของมัณฑะเล ในสมัยของพระนางศุภยาลัต พระมเหสีของพระเจ้าธีปอ กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์คองบอง ของประเทศพม่า ก่อนจะเสียเอกราชให้กับอังกฤษ สาเหตุที่พระนางศุภยาลัตสร้างหอนี้ เพื่อที่จะได้เห็นเรือของอังกฤษชัดๆ ในระยะไกลที่แล่นทวนแม่น้ำอิระวดีขึ้นมาค่ะ ซึ่งสร้างด้วยไม้ มีทางขึ้นสองทาง ตามแบบศิลปะพม่ามัณฑะเลที่มีรูปแบบมอญจากดั้งเดิม หอระะฆังที่หลวงพ่ออุตตมะสร้างขึ้นหลังนี้สร้างจากปูนซีเมนต์ มีบันไดวนขึ้นทางสองเพื่อความสวยงาม แต่รูปทรงและศิลปะคล้ายอย่างของมัณฑะเลเป็นอย่างมาก แต่วัตถุประสงค์ของหลวงพ่ออุตตมะท่านสร้างขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านได้ยินในระยะไกล โดยเฉพาะหลังพระทำวัตรเย็นเสร็จช่วงสองทุ่ม ชาวบ้านจะได้อนุโมทนาสาธุ จะได้เตือนสติให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณทุกค่ำคืน เห็นน้องชาวมอญคนนี้มาใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมมานั่งถักเชือกไหมพนมมัดผม ทึ่งในตัวน้องเขามากเลยค่ะ ว่าแล้วก็สั่งว่าจะเอาสีฟ้ากับสีน้ำเงินให้น้องเขาถักให้อุ้มเข้าไปถ่ายภาพหลวงพ่อขาว ออกมาน้องเขาเก็บของเพราะได้เวลา 17.00 น. อันละ 20 บาท เห็นอันแค่นี้น้องเขาสามารถทำรายได้ถึงวันละเกือบพันบาทเลยค่ะ นับถือในความอุตสาหะ ที่น้องเขาได้เรียนภาษาจากนักท่องเที่ยวโดยตรง ได้ใช้ฝีมือ และได้เงิน แหล่ม สวยและงดงามด้วยศิลปะชาวมอญน่ะค่ะ ครั้งที่ 1 และ 2 อุ้มมาแล้วไม่มีบุญเพราะวิหารพระหินอ่อนปิดทั้งสองครั้ง มาครั้งที่ 3 เป็นบุญตา..คุ้มค่ากับการมาเยือนยิ่งนัก พระหยกขาวแกะสลักจากหินหยกขาวก้อนเดียวจากประเทศพม่า หลวงพ่ออุตตะมะให้นำมาประดิษฐานไว้ประจำพระวิหารของวัดวังก์วิเวการาม ซึ่งปัจจุบันเรียกกันว่าวิหารพระหินอ่อน พระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามชาวบ้านในพื้นที่เรียกกันว่า หลวงพ่อขาวค่ะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก หนัก 9 ตัน เป็นพระพุทธรูปที่หลวงพ่ออุตตมะสั่งทำขึ้นที่พม่า โดยส่งรูปพระพุทธชินราชไปให้ช่างที่มัณฑเลย์ แกะจากหินอ่อนสีขาวก้อนเดียว หลวงพ่อว่าจ้างด้วยทองคำแทนเงิน โดยสั่งทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 จ่ายเป็นจำนวนสามงวด เป็นทองหนัก 10 บาท 5 บาท และ 10 บาท (ในสมัยที่ราคาทองคำบาทละ 450 บาท) หลวงพ่อขาวสร้างเสร็จเมื่อกลางปี พ.ศ. 2515 แต่ยังไม่สามารถนำเข้าสู่ประเทศไทยได้ หลวงพ่ออุตตมะต้องทำเรื่องขออนุญาติกรมการศาสนาของพม่าจนแล้วเสร็จในช่วงปลายปี ด้วยเพราะหนทางที่ไกลและเป็นพระพุทธรูปที่มีน้ำหนักมาก และผ่านเส้นทางที่เป็นป่าและหมู่บ้านชายแดน ทำให้มีความล่าช้า จนมาถึงด่านเจดีย์สามองค์เมื่อ แรม 9 ค่ำ เดือน 4 ปีพ.ศ. 2517 หลวงพ่อุตตมะ เดิมท่านชื่อ "เอหม่อง" ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ จุลศักราช 1272 (พ.ศ.2453) ที่หมู่บ้านโมกกะเนียง ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เป็นบุตรของนายโงและนางทองสุข อาชีพทำนา มีพี่น้องรวม 12 คน เมื่ออายุได้ 19 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเกลาสะ อุปสมบทเป็นพระภิกษุอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2476 ได้รับฉายานามว่า "อุตตมรัมโภ" แปลว่า ผู้มีความพากเพียรอันสูงสุด ปีพ.ศ. 2494 ท่านได้ไปแวะกลับไปเยี่ยมคนมอญ จากบ้านเกิดของท่านที่อพยพมาอาศัยอยู่ในเขตสังขละบุรี และในปี พ.ศ.2499 หลวงพ่ออุตตมะ ชาวกะเหรี่ยง และชาวมอญในบริเวณบ้านวังกะล่าง ได้ร่วมกันสร้างสำนักสงฆ์ เพื่อให้หลวงพ่อพำนักอยู่ แรกเริ่มมีเพียงกุฏิและศาลา แต่ชาวบ้านมักเรียกกันว่า "วัดหลวงพ่ออุตตมะ" หลวงพ่ออุตตมะได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 รวมอายุได้ 97 ปี จะมีงาช้างแมมมอธใหญ่และสวยงามมากค่ะ ดังนั้นจึงไม่ควรพลาดต้องมาสักการะที่วิหารพระหินอ่อนเลยค่ะ ณ วิหารพระหินอ่อนนี้หากสังเกตให้ดีจะเห็นพญานาคอยู่รายรอบพระวิหารเลยค่ะ นับตั้งแต่หอระฆังที่อยู่ด้านนอก หน้าต่าง-ประตู-เชิงเทียน-บันได-รอบๆ พระประธานหินอ่อน เรียกว่ามองไปทางไหนก็เห็นแต่พญานาคซึ่งบ่งบอกให้รู้ถึงความเป็นศิลปะของชาวมอญ เอนทรี่นี้อุ้มอเมซิ่งมากๆ เลยค่ะ เรียกว่ามาเที่ยวสังขละบุรีทีไรแต่ละทริปจะได้รับความประทับใจทุกครั้งไป BLOG หน้ายังคงอยู่ที่อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ตอนที่ 7 ไปสักการะเจดีย์พุทธคยาค่ะ ขอขอบคุณ ที่มาของข้อมูล : คุณอริญญา เจริญหงษ์ษา เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลวังกะ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี BG : น้องญามี่ / เพลง : ทางสีขาว : วงคาราวาน : อัลบั้มชุด : คนไกลบ้าน กรอบ : น้อง KungGuenter / กล่องเขียนคอมเม้นท์ : คุณ lozocat โค้ดแต่ง BLOG : ป้ามด & น้องดอกหญ้าเมืองเลย ของแต่ง BLOG : คุณชมพร & น้องญามี่ & คุณเนยสีฟ้า
Create Date : 04 มิถุนายน 2558
Last Update : 9 มิถุนายน 2558 19:42:14 น.
34 comments
Counter : 2454 Pageviews.
พี่อุ้มได้ของติดไม้ติดมือกลับมาด้วย