Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
6 มกราคม 2555

กรุงเทพมหานคร : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม (3)




หลังจากวันนั้นอาจารย์เฟื้อก็ยังยังคงมาดูภาพเพื่อศึกษาค้นคว้าอยู่เรื่อย ๆ
วันหนึ่งก็มีชายสิบกว่าคนกันขึ้นมาบนนี้บอกว่าเป็นช่างไม้จากอยุธยา
ได้รับคำสั่งรองเจ้าอาวาสมารื้อกุฏินี้เพื่อจะเปลี่ยนเสาที่ผุพังเป็นของใหม่
อาจารย์เฟื้อตกใจเพราะการรื้อประกอบใหม่โดยความไม่รู้จะทำลายภาพเขียน

อาจารย์เฟื้อร้อนใจแต่ไม่รู้จะทำอย่างไรในที่สุดท่านก็นึกถึงอาจารย์ ส. ศิวรักษ์
จึงได้เดินทางไปเพื่อบอกเล่าวิกฤติที่เกิดขึ้นอาจารย์สุลักษณ์ช่วยเจรจากับทางวัด
และเกิดการก่อตั้งคณะกรรมการบูรณะหอไตรขึ้นเมื่อวันที่เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2511
จากก้าวแรกที่อาจารย์เฟื้อได้เหยียบย่างมาที่นี่จนมาถึงจุดนี้กินเวลากว่า 20 ปี

งานบูรณะหอไตรเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เมษายน 2513 โดยย้ายที่ตั้งจากใกล้ ๆ เมรุ
มาอยู่ข้างพระวิหารเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา เสาบางต้น ไม้กระดานปูพื้น รางน้ำฝน
เสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2514 รวมเป็นเวลา 1 ปี กับ 4 เดือนครึ่ง

นั่นเป็นเพียงการบุรณะโครงสร้างหลักยังเหลือการบูรณะภาพเขียนเก่าที่ถูกทำลาย
ด้วยกาลเวลาและการไม่รู้คุณค่าเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นซึ่งงานนี้ไม่สามารถใช้ผู้ใดได้
เนื่องจากเป็นงานที่ละเอียดอ่อนมีเพียงมือที่อ่อนนุ่มและเข้าใจเส้นสายเท่านั้น

จากนั้นแทบจะทุกวันที่อาจารย์เฟื้อจะใช้เวลาในการทุ่มเทเพื่อภาพเขียนเหล่านั้น
โดยมีความประสงค์ที่จะให้เสร็จทันงานเฉลิมฉลองกรุงเทพครบรอบ 200 ปี
ทุกเช้าท่านจะข้ามเรือเพื่อไปเดินทางไปยังวัดระฆังและใช้เวลาอยู่ที่นั่นจนมืดค่ำ
ท่ากลางแสงตระเกียงวับแวมจนผู้คนที่อยู่ในละแวกนั้นตั้งฉายาให้ท่านว่า ผีหอไตร

หลังจากล้างความสกปรกอยู่หลายปีและแลกมาด้วยการทุ่มเทจนล้มป่วย
ในที่สุดงานก็เสร็จทันเวลา แต่หลังจากวันนั้นแล้วท่านก็ไม่เคยกลับไปที่นั่นอีกเลย



ผลงานของพระอาจารย์นาคที่เขียนไว้ในหอไตรวัดระฆังเป็นภาพจาก
เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกภุมภกรรณเป็นภาพตั้งแต่สุครีพถอนต้นรัง
จนอ่อนแรงและเป็นเหตุให้พลาดพลั้งเสียทีในการต่อสู้
สุดท้ายหนุมานก็เข้ามาช่วยเหลือคลี่คลายสถานการณ์

อีกผนังหนึ่งที่อยู่ฟากตรงข้ามเป็นตอนศึกอินทรชิต
วาดตอนอินทรชิตแปลงกายเป็นพระอินทร์ยกกองทัพมาตั้ง
เผชิญหน้ากับของฝ่ายพระรามโดยมีพระลักษณ์เป็นแม่ทัพ

พระอาจารย์นาคแท้จริงเป็นใครยังไม่ทราบได้ มีเพียงชื่อของท่านที่ปรากฏอยู่ใน
บทไหว้ครูที่มีในยุคหลังรัตนโกสินทร์แต่เชื่อกันว่าท่านน่าจะมีชีวิตอยู่ถึงสามแผ่นดิน
นับแต่อยุธยาตอนปลาย ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ น่าจะเป็นพระเนื่องจากการสืบสาน
งานศิลปะมักจะเกิดขึ้นที่วัดและพระสงฆ์ยังมีเวลามากพอที่จะทุ่มเทให้กับงาน

ภาพอย่างไตรภูมิและมารผจญเป็นผืนใหญ่ อยู่ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัด
จึงเป็นภาพที่สำคัญที่สุดในพระอุโบสถ ช่างที่วาดภาพนี้นั้นย่อมเป็นครูช่าง
แล้วหากต้องเป็นผู้ที่เขียนภาพนี้ในพระอุโบสถวัดพระแก้วแล้ว
ผีมือของท่านย่อมจะต้องเป็นที่สุดของครูช่างในยุคนั้นเลยทีเดียว

ภาพหนึ่งเดียวที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ก็มีเพียงหอไตรของวัดระฆังเท่านั้น
นอกจากผลงานการคัดลอกภาพเขียนจากวัดต่างๆ ที่กำลังลบเลือนกว่า 23000 วัด
การบูรณะหอไตรนับเป็นงานเป็นงานชิ้นเอกส่งผลให้อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์
ได้รับรางวัลแม็กไซไซในเวลาต่อมา ท่านเสียชีวิตลงในวันที่ 19 ตุลาคม 2536

และสิ่งสุดยอดชิ้นสุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ 2 ที่ผมอยากจะเห็นนั้นก็คือ

หนังใหญ่ชุดพระนครไหวนั่นเอง





 

Create Date : 06 มกราคม 2555
5 comments
Last Update : 6 มกราคม 2555 14:37:18 น.
Counter : 3388 Pageviews.

 

สวย ๆๆๆ

 

โดย: tuk-tuk@korat 6 มกราคม 2555 16:02:08 น.  

 

สวยมากค่ะ
อ่านแล้วยิ่งอยากเห็น
เมื่อวันเสาร์ที่แล้วไปทานอาหารที่พารากอน
แล้วแวะไปที่คิโนะ ได้หนังสือ ทสชาติชาดกกับจิตรกรรมฝาผนังมา 2 เล่มค่ะ
อ่านวันเดียวรวด (ส่วนมากดูรูป) เตรียมตัวไปทัวร์ 2 ทริปค่ะ
คาดว่าจะได้ความรู้กลับมาอีกเพียบ
แล้วจะมาเล่าให้ฟังนะคะ

 

โดย: addsiripun 10 มกราคม 2555 14:10:14 น.  

 

แก้ไข *ทศชาติ* ค่ะ

 

โดย: addsiripun 10 มกราคม 2555 14:12:38 น.  

 

เปล่าค่ะ ไปตั้งแต่พฤศจิกา

 

โดย: tuk-tuk@korat 10 มกราคม 2555 14:19:09 น.  

 

นั่นซิ ตอนปีใหม่ถึงหมกตัวอยู่แต่โคราชค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 10 มกราคม 2555 17:44:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]