Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มกราคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
27 มกราคม 2559

พิพิธทัศนา ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน (2)



พระพุทธรูปปางสมาธิ (หลวงพ่อนาก) ศิลปะล้านนา พุทธศักราช 2019
พบที่วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุนนาค อ. เมือง จ. พะเยา


ผู้บรรยายท่านต่อไปคือ อ. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดอายุพระพุทธรูปได้กล่าวเรื่องราวต่างๆ ดังนี้
เทวรูปสุโขทัย ที่ศาสดาจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลได้ศึกษาไว้
โดยได้ตีพิมพ์บทความในวารสารศิลปากร จัดเป็นงานวิจัยชั้นเยี่ยม

ที่เป็นต้นแบบในการใช้วิธีวิจัยแบบหนึ่งที่ได้มาจากฝรั่งเศส (จำชื่อไม่ได้)
เพื่อกำหนดอายุทางศิลปะโดยอาศัยลวดลายสิ่งประดับบนตัวของเทวรูป
เทวรูปชุดนี้น่าจะเป็นสิ่งที่กล่าวถึงในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง
การสถาปนาชุดพระอิศวรไว้ที่เทวสถานที่เรียกว่าพิมานเกษตร

พูดถึงพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดวัดตะกวนซึ่งเป้นพระพุทธรูปยุคแรก
ที่ยังคงมีรูปแบบทางศิลปะผสมผสานระหว่าง ปาละ พุกาม และล้านนา
กำหนดอายุไว้ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 (ดูจากรูปผมก็แยกกับพระทวาไม่ออก)
พระพุทธรูปในหมวดนี้มีความสัมพันธ์กับลวดลายปูนปั้นที่วัดพระพายหลวง

ส่วนพระพุทธรูป หน้ากลม อมยิ้ม ชายสังฆฏิสั้น ขัดสมาธิเพชรคล้ายสิงห์หนึ่ง
พบที่วัดตะกวนอาจารย์กำหนดให้เป็นช่วงกลางกึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19
หลังจากนั้นถึงจะเป็นหมวดใหญ่ที่มีความงามอย่างลงตัวแบบสุโขทัย
สร้างไว้มากที่สุด อาจารย์กำหนดอายุไว้ในสมัยพระยาลิไท เป็นต้นมา

วัดช้างล้อมที่เคยกำหนดอายุไว้ในสุโขทัย ยุคพ่อขุนรามคำแหง
ตามความเชื่อที่ว่าคือวัดที่พ่อขุนรามขุดเจอพระธาตุ แล้วถวายบูชา
จากการขุดค้นของกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2535 พบว่า
วัดนี้ไม่เก่าไปกว่าสมัยพระยาลิไท



พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20
ยืมจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก


พระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่มีลักษณะที่เด่นชัดจาก ปางขัดสมาธิราบ
พระพักตร์มีขนาดปานกลาง มีเปลวรัศมี สังฆาฏิบาง กำหนดอายุได้ราว
พ.ศ. 1900-1970 ส่วนใหญ่มีศักราชจารึกที่ฐาน (ไปเดินชมได้ที่วัดโพธิ์)

พระศรีศากยมุนีเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่า
น่าจะเป็นพระพุทธรูปตามศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงสมัยพระยาลิไท
ที่กล่าวว่า เมื่อพระองค์ทรงออกผนวชทรงสร้างพระทองคำไว้กลางเมือง
พระพุทธรูปปางลีลา ที่เราเห็นคุ้นตามักเป็นประติมากรรมลอยตัว
เป็นการใช้พระพุทธรูปแทนพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เป็นกลุ่มพระพุทธรูปหมวดใหญ่ที่ได้รับการกล่าวขานถึงความงามททางศิลปะ
จากการเขย่งปลายเท้าข้างหนึ่งแตกต่างไปที่จากพุกามที่ย่างเท้าเฉยๆ
สันนิษฐานว่า ปรากฏอยู่ในจารึกวัดสรศักดิ์ที่เรียกว่าพระเจ้าหย่อนตีน

พระพุทธรูปเชียงแสนแบบสิงห์หนึ่ง ปัจจุบันเรียกว่าแบบล้านนา
กำหนดอายุศตวรรษที่ 20 พระพุทธรูปสำคัญคือ พระพุทธสิหิงค์เมืองเชียงใหม่
ลักษณะสำคัญคือหน้ากลม ชายสังฆาฏิสั้น ขัดสมาธิเพชรกำหนดอายุรัชกาล
พระเจ้ากือนา แต่หลังรัชกาลพระเจ้าติโลกราชมีการสมณทูตไปอินเดีย

หลักฐานคือ เจดีย์ที่วัดเจ็ดยอดที่ถอดแบบมาจากพุทธคยา
เมื่อพระสงฆ์ล้านนาไปเห็นพระพุทธรูปอินเดีย
พระพุทธรูปสมัยต่อมาจึงเป็นปางขัดสมาธิราบแบบที่มีในอินเดีย

ตัวอย่างคือ พระพุทธสิหิงค์ที่กรุงเทพ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ
ความนิยมในการสลักปีที่สร้างไว้ที่ฐานพระพุทธรูป
เพราะเป็นช่วงกึ่งพุทธกาล ชาวบ้านจึงกลัวว่าศาสนาจะสูญหาย
จึงมีการสร้างพระพุทธรูปที่มีจารึกที่ฐานเพื่อเป็นหลักฐานไว้นั่นเอง




เสมาสลักภาพพุทธประวัติตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ศิลปะทวารวดี
พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง ยิมจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น


หมดเวลาลงเสียก่อน ผู้บรรยายท่านต่อไปคือ อ. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
ที่มากล่าวถึงสัดส่วนความงามของเทวรูปยุคเก่าที่เมื่อนำมาเทียบสัดส่วน
โครงหน้ากับเทวรูปและพระพุทธรูปสุโขทัยจะพบว่ามีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
ทั้งที่สมัยก่อนไม่มีความก้าวหน้าทั้งการถ่ายทอดศึกษาและการติดต่อสื่อสาร

ต่อไปคือ ดร. ประภัสสร ชูวิเชียร ที่มานำเสนอในเรื่องที่ผมเคยไปพูดไป
คือ การศึกษาประวัติศาสตร์ตามแนวคิดของสาย ดำรง- เซเดส์
ย้อนกลับไปอ่านเรื่องนี้ได้ใน ศิลปะอยุธยา คิดใหม่ทำใหม่
ซึ่งแม้กระทั่งการจัดแสดงในครั้งล่าสุด ก็ยังคงแนวนิยมเช่นนี้

จากนั้นก็เป็นช่วงคำถาม ที่ผมได้กล่าวถึงความสงสัยไว้ว่า
มีหลักเกณฑ์ใดในการคัดเลือก ก็สรุปได้ว่าของทั้งหมดเป็นที่มีอยู่
ในพิพิธภัณฑ์พระนครเป็นหลัก เนื่องจากเสี่ยงต่อความเสียหาย
และข้อจำกัดด้านงบประมาณ มีเพียง 2 ชิ้นที่นำมาจากที่อื่น

หนึ่งคือใบเสมาจากฟ้าแดดสงยาง พช. ขอนแก่น
สองคือ พระพุทธรูปสุโขทัยปางลีลา จากพิพิธภัณฑ์สวรรคนายก
ชิ้นแรกนั้นคงอยู่นาน แต่ชิ้นที่สองนั้นมีกำหนดการคืนใน 6 เดือน

อย่างที่กล่าวไว้โบราณวัตถุที่จัดแสดงมีทั้งสิ้น 111 ชิ้น
หากนำมาลงหมดคาดว่าคงเป็นเรื่องราวที่ยืดยาวเลยทีเดียว
ดังนั้นขอนำมาลงเท่าที่เนื้อที่บลอกจะอำนวยก็แล้วกันนะ
แต่สิ่งสำคัญคือ หากคุณรักประวัติศาสตร์คุณไม่ควรพลาดงานนี้



Create Date : 27 มกราคม 2559
Last Update : 27 มกราคม 2559 14:34:59 น. 2 comments
Counter : 2125 Pageviews.  

 
ไม่แน่ใจว่าถ่ายมาครบทั้ง 111 ชิ้นหรือเปล่าค่ะ แต่ไม่ได้แวะที่พระที่นั่งอื่นเลย


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 27 มกราคม 2559 เวลา:17:03:02 น.  

 
พลาด แน่ ๆ ค่ะ เดี๋ยวตามอ่านจากบล็อกนี่แหละ
เพื่อนที่สวรรคโลกว่า หายไปเยอะละเพราะคนใหญ่คนโตขอยืมไปแล้วไม่เคยเอามาคืนค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:12:27:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]