Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
4 มกราคม 2555

กรุงเทพมหานคร : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม (2)



เมื่อการปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดพระราชพิธี
ฉลองหอพระไตรปิฎกและเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยพระองค์เอง
แล้วได้ทรงปลูกต้นจันทน์ไว้รอบสระ 8 ต้น ทรงประกาศพระราชอุทิศให้เป็นหอไตร
แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าตำหนักต้นจันทน์ตามต้นไม้ที่ได้ทรงปลูกไว้ (ปัจจุบันนั้นเหลือเพียงต้นเดียว)
และทรงขอระฆังเสียงดีที่ขุดได้จากบริเวณที่ปลูกหอไตรลูกนั้นไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

โดยทรงสร้างหอระฆังจตุรมุขพร้อมทั้งระฆังอีก 5 ลูก พระราชทานไว้แทน
เพราะเหตุแห่งการขุดระฆังได้ประชาชนเรียกชื่ว่าวัดระฆังตั้งแต่นั้นมา
แม้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเปลี่ยนชื่อเป็น
วัดคัณฑิการามแต่ชื่อนี้ไม่มีใครเรียกจึงเป็นชื่อวัดระฆังโฆสิตารามตามเดิม

ในด้านสถาปัตยกรรมหอไตรนี้สร้างเป็นเรือนไทยแฝดสามหลังที่หาดูได้ยาก
ในด้านประติมากรรมงานแกะสลักไม้ตั้งแต่บานประตูและซุ้มชานนอกนั้น
เป็นงานฝีมือชั้นเลิศจากฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 2 อย่างไร้ข้อกังขา
ในด้านจิตรกรรมก็เชื่อว่าน่าจะเป็นภาพเขียนฝีมือพระอาจารย์นาค
ผู้ที่เขียนภาพพุทธประวัติตอนมารผจญและภาพไตรภูมิในพระอุโบสถวัดพระแก้ว

หอไตรแห่งนี้จึงเป็นแหล่งชุมนุมฝีมือครูช่างชั้นยอดจากในช่วงต้นรัตนโกสินทร์
และคงเป็นคำจำกัดความที่ดีที่สุดเมื่อกล่าวถึงหอไตรแห่งวัดระฆังโฆสิตาราม

เรื่องราวต่อจากนี้คงจะเหมือนเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับงานฝีมือเลิศล้ำของสยามประเทศ
ซึ่งเมื่อกาลเวลาผ่านไปก็ถูกทิ้งร้างหรือไม่ก็สูญหายอย่างไร้คนเหลียวแลราวสิ่งที่ด้อยค่า
หอไตรแห่งวัดระฆังก็ถูกทิ้งร้างทรุดโทรมโดยขาดการสนใจมาจนมาถึงพ.ศ. 2489
จิตรกรที่ตกค้างในสงครามโลกครั้งที่สองจากคุกที่ประเทศอินเดียได้คืนกลับมาเมืองไทย

ท่านผู้นั้นคืออาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ซึ่งได้มาพบเห็นหอไตรที่ทรงคุณค่าของประเทศนี้
แล้วท่านก็หลงใหลในที่แห่งนี้สมดั่งที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
เอกอัครศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ทิ้งท้ายในบันทึกเกี่ยวกับหอไตรวัดระฆังไว้ว่า

“ผู้ใดที่รักการช่างได้ไปชมที่นั่นแล้วจะไม่อยากกลับบ้าน...”



นับจากวันนั้นอาจารย์เฟื้อก็เข้าไปดูภาพเขียนหอไตรแห่งนี้หลายครั้ง
เพื่อคัดลอกงานฝีมือจิตรกรรมฝาผนังไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

สภาพของหอไตรในยามนั้นท่านได้บรรยายไว้ว่าหอไตรแห่งนี้อยู่กลางสระน้ำข้างเมรุ
มีสภาพทรุดโทรมยิ่งภายในใช้เป็นที่เก็บสิ่งของ เป็นกุฏิบ้างซ้ำร้ายยิ่งไปกว่านั้น
บางทีก็ใช้เป็นที่เก็บศพเพื่อรอการฌาปนกิจหลังคาก็รั่วตัวไม้ผุภาพจิตรกรรมฝาผนังเลือนหาย
มีเขม่าธุปเทียนจับเคลือบเต็มไปหมดสระที่ขุดไว้รอบหอไตรก็ตื้นเขินส่งกลิ่นเน่าเหม็น

หลายครั้งที่อาจารย์เฟื้อแวะเวียนมาที่หอไตรแต่ยังไม่เห็นภาพเขียนอันเป็นที่ร่ำลือ
ท่านจึงต้องค่อย ๆ เอาน้ำยามาเช็ดล้างทำความสะอาดภาพเขียนเก่าแก่อายุเกินร้อยปี
ซึ่งต้องใช้ความอดทนและใจเย็นอย่างยิ่งต้องกระทำอย่างระมัดระวังแผ่วเบา
หากทิ้งน้ำหนักมือมากเกิน อาจขูดเช็ดเนื้อสีหลุดเลือนเปื้อนเลอะ

คืบหน้าอย่างเชื่องช้ากว่าที่ภาพเขียนบนฝาผนังจะปรากฏเผยเป็นรูปร่างเส้นสี
ให้เห็นทีละน้อยเวลาผ่านไปจากเดือนเป็นปีและหลายสิบปีในที่สุดท่านก็ได้
เห็นภาพที่ตามหามานาน ภาพเขียนบนฝาปะกนทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก
นั้นเป็นฝีมือพระอาจารย์นาคงดงามตามที่สมเด็จครูช่างได้กล่าวไว้ทุกประการ

ด้วยความดีใจและห่วงใยในภาพเขียนทั้งสองภาพนี้จึงได้ขออนุญาตจาก
เจ้าอาวาสวัดเพื่อทำการถอดไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
ซึ่งเบื้องต้นก็ได้รับการอนุญาต หากบังเอิญท่านรองเจ้าอาวาสได้ท้วงติงไว้
การรื้อย้ายจึงไม่ได้เกิดขึ้นอาจารย์เฟื้อรู้สึกในเวลาต่อมาว่านั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง

เพราะภาพเขียนทั้งสองภาพนี้แม้จะหาได้ยากแต่ก็เป็นหนึ่งเดียวกับหอไตร
ดังนั้นหากต้องการอนุรักษ์ภาพเขียนนี้สิ่งที่ต้องทำก็คือการบูรณะหอไตรขึ้นมาทั้งหลัง





Create Date : 04 มกราคม 2555
Last Update : 4 มกราคม 2555 16:16:20 น. 4 comments
Counter : 2766 Pageviews.  

 
ขอบคุณคับที่พาเที่ยว....ไม่คาดคิดว่าจะมีวัดสวย..แบบนี้ที่กทม.


โดย: biocellulose วันที่: 4 มกราคม 2555 เวลา:12:34:28 น.  

 
อ่านและเห็นอย่างนี้ ต้องหาโอกาสไปเยือนสักครั้งแล้วละค่ะ



โดย: addsiripun วันที่: 4 มกราคม 2555 เวลา:12:41:30 น.  

 
อ่า...ไม่ได้ไปอีกแล้ว อยู่ตรงไหนของวัดระฆังเนี่ยยย แงๆๆ


ใช่ค่ะ หนังสือท่องเที่ยวกับร้านอาหารนี่ขายดีมากขึ้นๆ นะคะ ตามไลฟ์สไตล์ของคนหละค่ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 4 มกราคม 2555 เวลา:18:01:21 น.  

 
อยากเห็นมาก ๆ ค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 5 มกราคม 2555 เวลา:10:25:35 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]