Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
 
4 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 

กฎเหล็ก 6 ประการของการไดเอท



1.อย่าตัด Calories มากจนเกินไป
การรับประทาน Calories น้อยกว่าที่คุณต้องการในแต่ละวันที่นำมาซึ่งการขาดแคลนพลังงาน
เพื่อที่จะใช้ลดความอ้วน อย่างไรก็ตามการลดจำนวน Calories
ก็จะนำมาซึ่งการเผาผลาญที่ช้าลง และมันยากที่จะเพิ่มอัตราการเผาผลาญให้เพิ่มขึ้นได้

วิธีแก้ไข: ทำการลด Calories พอสมควร
เพียงลดแค่ 10 % จาก Calories ทั้งหมดที่ต้องการก็เพียงพอ


2.อย่าเน้น โปรตีน มากเกินไป
มันไม่ใช่เรื่องอภินิหารอะไรหรอก เมื่อคุณจะลดจำนวน Calories คุณจะต้องการโปรตีนมากขึ้น
ซึ่งลักษณะพิเศษของโปรตีนก็คือ จะเผาผลาญกลายเป็นพลังงาน
ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อในขณะที่คุณกำลังไดเอท
แต่นักกีฬา(เพาะกาย)จำนวนมากกรับประทานโปรตีนจนเกินความจำเป็น

วิธีแก้ไข:
แบบของความสำเร็จ รับประทานโปรตีนจำนวนไม่เกิน 1.5 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 ปอนด์
เมื่ออยู่ในช่วงไดเอท ถ้ารับประทานเกินจำนวนนั้น มันก็จะถูกสะสมไปเป็นไขมัน
ซึ่งคุณก็จะไม่มีทางหุ่นดีไปได้


3.อย่ากลัวคาร์โบไฮเดรต (Carb/คาร์บ)
คาร์บเป็นทั้งมิตรและก็ศัตรู มันจะช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ โดยการสร้างอินซูลิน
ถ้าระดับของอินซูลินเพิ่มสูงขึ้น มันก็จะเป็นตัวกีดกั้นการสูญเสียไขมันของร่างกาย
จากข้อมูลเหล่านี้เองครูฝึกหลายท่านเลือกที่จะใช้วิธีการไดเอทแบบโล-คาร์บ เมื่อลดจำนวนคาร์บ
ร่างกายก็จะเริ่มเผาผลาญไขมันให้กลายมาเป็นพลังงาน โชคไม่ดีนัก, ถ้าหากการรับประทานคาร์บ
น้อยเกินไป ร่างกายก็จะทำการเผาผลาญมวลกล้าม เพื่อนำมาเป็นแหล่งพลังงานเช่นเดียวกับไขมัน
สะสมของร่างกาย

วิธีแก้ไข:
คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 ปอนด์ ที่จะเพียงพอกับลดไขมันสะสม แบบโล-คาร์บ ไดเอท ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ


4.อย่ามองข้ามเวลาของ คาร์บ
แบบง่ายๆจำนวนคาร์บทั้งหมดของคุณควรจะแบ่งเป็น 5 หรือ 6 มื้อ ต่อวันเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
แต่นักกีฬา(เพาะกาย)ระดับหัวกะทิ ชี้ให้เห็นว่า
การรับประทานคาร์บเป็นมื้อสุดท้ายของวันจะป้องกันการสูญเสียของไขมันที่อย่างสูงสุด

วิธีแก้ไข:
สลับการรับประทานคาร์บเป็นมื้อสุดท้ายของวันไปแทนที่มื้ออื่น รับประทานคาร์บให้มากหลังจาก
การฝึก และในมื้อเช้า นั้นคือมื้ออาหารที่คุณต้องได้คาร์บมากที่สุดในตอนเช้าเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก
ในการนำคาร์บไปเป็นไกรโคเจน หรือพลังงานสำรองดีกว่าไปเป็นไขมันสะสม หรือเพิ่มสารอินซูลิน
มื้ออาหารหลังจากการฝึกนั้นร่างกายต้องการคาร์บอย่างฉับพลันเพื่อจะนำไปใช้ทดแทนการสึกกร่อน
และอาการล้าของกล้ามเนื้อที่เป็นผลจากการฝึก คาร์บหลังการฝึกจะช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ
ไม่ใช่ไขมันสะสมอย่างที่ทุกคนเข้าใจ


5.อย่าไดเอทมากเกินไป
เรารู้ว่าการฝึกหลายๆ เซท และการฝึกบ่อยๆ นั้น สามารถทำให้เกิดการสูญเสียกล้ามเนื้อ
หลักการเดียวกันกับการไดเอท เมื่อคุณไดเอทในอัตราส่วน 24 ต่อ 7 ปราศจากการพัก
อัตราการเผาผลาญของคุณจะลดต่ำลง ถ้าเกิดขึ้นอีก,การท้าทายที่ยากลำบากก็จะเกิดขึ้นอีกครั้ง

วิธีแก้ไข:
ระหว่างการลดไขมันสะสม ลองวิธี 4 ต่อ 1 นั้นก็คือ ทำการได้ไดเอทอย่างเข้มงวด 4 วัน รับประทานคาร์บ 1 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 ปอนด์ ทุกวัน และงดคาร์บในแต่ละมื้อสุดท้ายของวัน
วันที่ 5 พักจากการไดเอท เพิ่มการรับประทานคาร์บให้ถึง 3 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 ปอนด์
ในวันนั้น การรับประทานคาร์บจำนวนมากไม่ใช่แค่การได้พลังงานเพิ่ม
แต่มันยังช่วยไม่ให้อัตราการเผาผลาญลดลงไปอีก


6.อย่าทำคาร์ดิโอ มากเกินไป
เพียง 2 วิธีหลักที่จะทำหุ่นดีขึ้น ก็คือรับประทาน Calories ให้น้อยและเผาผลาญ Calories
ให้มากในรูปของการออกกำลังกายแบบแอโรบิก แม้ว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกจะเป็นผลดี
แต่การทำบ่อยๆ ก็จะเป็นการลดระดับของเทสโตสโตรอน (ฮอร์โมนเพศชาย)
ซึ่งจะส่งกระทบต่อการความสามารถในการรักษาสภาพกล้ามเนื้อให้คงไว้

วิธีแก้ไข:
ปั่นจักรยาน หรือ วิ่งบนลู่วิ่ง 30-40 นาที ไม่เกิน 4 ครั้งต่อสัปดาห์ จะทำให้เพียงพอต่อ
การเผาผลาญไขมัน โดยปราศการการลดระดับของเทสโตสโตรอน (ฮอร์โมนเพศชาย) หรือ
นำไปสู่การเผาผลาญ

ที่มา //www.thaimuscle.net




 

Create Date : 04 มีนาคม 2552
2 comments
Last Update : 4 มีนาคม 2552 13:57:57 น.
Counter : 1065 Pageviews.

 

อ่านแร้ว รู้สึกว่า
การลดน้ำหนัก นี่ช่างยากเหลือเกิน T^T

 

โดย: kittypiggybent (KurodaBB ) 4 มีนาคม 2552 19:00:12 น.  

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ
ตอนนี้กำลังเริ่มจำกัดอาหารอยู่
เดี๋ยวตอนเริ่มเบิร์น
จะเอาเคล็ดลับนี้ไปใช้บ้างค่ะ

 

โดย: naam (khun naam ) 8 มีนาคม 2552 15:01:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.