Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
1 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
เกณฑ์เสี่ยงของโรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)

ตามแนวทางของ สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation)
อ้วนลงพุงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของคำจำกัดความของโรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)

คนที่มีกลุ่มของปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนลงพุง (เมตะบอลิกซินโดรม)
คือคนที่อ้วนลงพุง (ผู้ชายวัดรอบเอวได้มากกว่า 90 ซม. และผู้หญิงวัดรอบเอวได้มากกว่า 80 ซม.)
บวกกับมีปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 อย่างต่อไปนี้
1. ความดันโลหิตสูง 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
2. น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
3. ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป

4. ระดับไขมันเอชดีแอลคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับผู้ชาย
และน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรสำหรับผู้หญิง


วิธีการวัดเส้นรอบเอว

วิธีการวัดเส้นรอบเอว
1. อยู่ในท่ายืน
2. ใช้สายวัด วัดรอบเอวโดยวัดผ่านสะดือ
3. วัดในช่วงหายใจออก (ท้องแฟบ) โดยให้สายวัดแนบกับลำตัวไม่รัดแน่น
และให้ระดับของสายวัดที่วัดรอบเอววางอยู่ในแนวขนานกับพื้น


เมตะบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome) หรือโรคอ้วนลงพุง
คือกลุ่มของอาการประกอบด้วยอ้วนลงพุง (ไขมันในช่องท้องมากเกินไป)
ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และระดับไขมันในเลือดสูง
ที่จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด

ไขมันในช่องท้องมากเกิน เป็นฆาตกรเงียบที่คุณคาดไม่ถึง
คนที่อ้วนลงพุงจะมีไขมันสะสมในช่องท้องปริมาณมาก
ยิ่งรอบพุงมากเท่าไหร่ไขมันยิ่งสะสมในช่องท้องมากเท่านั้น

ไขมันที่สะสมนี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี
เกิดเป็น "ภาวะอ้วนลงพุง" ซึ่งเป็นเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น น้ำตาลในเลือดสูง โรคไขมันในเลือดสูง
โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
โดยเอวที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 เซนติเมตร จะเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน 3-5 เท่า
ดังนั้น "ยิ่งพุงใหญ่เท่าไร ยิ่งตายเร็วเท่านั้น"

ผลการวิจัยในอเมริกา ปี พ.ศ.2545 พบว่า คนอ้วนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
โดยให้ออกกำลังกายทุกวันด้วยการเดิน 30 นาทีต่อวัน (5 วันต่อสัปดาห์)
และรับประทานอาหารไขมันต่ำ เป็นผลให้น้ำหนักลดลงไปได้ร้อยละ 5 ถึง 7 ของน้ำหนักตัวเมื่อเริ่มต้น

และได้ติดตามดูเป็นระยะเวลา 4 ปี พบว่า
อัตราการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มบุคคล ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดลงถึงร้อยละ 5-10
และไขมันในช่องท้องลดได้ร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับอีกกลุ่มที่ดำเนินชีวิตตามปกติ



ที่มา: //hpc9.anamai.moph.go.th


*** สารบัญลดอ้วน ลดน้ำหนัก



Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2555 11:34:12 น. 0 comments
Counter : 1851 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.