Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
19 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
อ้วน ออกกำลังกายแล้วบาดเจ็บ

อ้วน ออกกำลังกายแล้วบาดเจ็บ

กรณีศึกษา
นายสมชายอายุ 35 ปี มาพบแพทย์ที่คลินิกด้วยอาการปวดส้นเท้าทั้ง 2 ข้าง ปวดเจ็บมากที่ส้นเท้าขวา
ประวัติผู้ป่วย 2 เดือนที่แล้วมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะเลี้ยงฉลองมากไปหน่อยเกือบทุกวัน
เลยไปวิ่งออกกำลังกายเพื่อลดความอ้วน หลังจากวิ่งไปได้สัก 1 อาทิตย์ ก็เริ่มมีอาการปวดที่ส้นเท้า
พอหยุดวิ่งอาการก็ดีขึ้น ไปวิ่งอีกก็กลับมาเป็นใหม่ และเจ็บมากขึ้นเรื่อย ๆ
ในขณะที่ปัญหาน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นก็ยังแก้ไม่ได้
การตรวจร่างกาย สุขภาพแข็งแรงดี ยกเว้นมีอาการปวดที่ส้นเท้าทั้ง 2 ข้าง กดเจ็บบริเวณฝ่าเท้า
มีภาวะอ้วน วัดไขมันใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขนได้ 2.2 ซม.
ซึ่งมากกว่าค่าปกติ (0.8-1.4 ซม.) ระบบอื่น ๆ ในร่างกายปกติ

การรักษา
ได้มีการรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อลดการอักเสบที่ส้นเท้า
พร้อมกับให้หยุดวิ่งออกกำลังกายชั่วคราว 1 อาทิตย์ แล้วเปลี่ยนมาเดินแทนวิ่ง
เมื่ออาการปวดลดลง ได้แนะนำโปรแกรมลดความอ้วน
โดยออกกำลังกายชนิด Low impact (กิจกรรมการเดิน การมีกิจกรรมเคลื่อนไหวในระหว่างวัน)
และโปรแกรมคุมอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเป็นเวลา 1 เดือน
ปรากฏว่าน้ำหนักตัวลดลง 2 กิโลกรัม

จากกรณีนี้ทำให้ทราบว่า...
1. การกินอาหารที่มากเกินกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่าง ๆ
มักทำให้เกิดความอ้วน น้ำหนักเพิ่มขึ้น ค่าน้ำตาลในเลือดสูงและก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย
รวมทั้งต้องแบกรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ง่ายต่อการบาดเจ็บที่บริเวณเข่า ส้นเท้า

2. การวิ่งออกกำลังกายเป็นการออกกำลังกายที่ดี แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน
เพราะเหตุผลดังนี้

เมื่อออกกำลังกายโดยการวิ่ง ร่างกายมีการใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานมากกว่าไขมัน
ดังนั้นเมื่อวิ่งไปสักครู่แล้ว น้ำตาลจะต่ำและอาจหน้ามืดหรือหิวเพิ่มขึ้น
ทำให้ต้องแสวงหาเครื่องดื่มที่ดื่มแล้วชื่นใจ ซึ่งก็จะเป็นเครื่องดื่มหวาน ๆ น้ำอัดลม
ทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาลแล้วเปลี่ยนเป็นไขมันสะสม ปัญหาโรคอ้วนก็ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข

ในคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเป็นประจำ แล้วต้องการที่จะเร่งรีบออกกำลังกาย
เพราะแรงโฆษณาหรือรีบลดความอ้วน ไม่ควรออกกำลังกายโดยการวิ่ง
เพราะจะทำให้หัวใจต้องปรับตัว กับการสูบฉีดเพิ่มของเลือดอย่างรวดเร็ว หัวใจต้องทำงานหนัก
และอาจเกิดอุบัติเหตุด้านหัวใจได้ อาจเกิดอาการหน้ามืดหรือหัวใจหยุดเต้นขณะวิ่ง

วิ่งแล้วทำให้ปวดขา เพราะขาทั้ง 2 ข้างต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มกว่าปกติ
เมื่อวิ่งแล้วอาจเสียสมดุลของขาทั้ง 2 ข้าง และจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อกล้ามเนื้อขาและข้อเท้าได้
และก่อให้เกิดการปวด และเมื่อปวดขาก็ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวก็ยิ่งทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น


ข้อแนะนำในการออกกำลังกายสำหรับคนอ้วน

1. ควรเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ
เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ แกว่งแขน ฝึกไทเก๊ก หรือ ชิกง ถีบจักรยาน
ไม่ควรออกกำลังกายโดยการวิ่งเร็วหรือยกน้ำหนัก เพราะนอกจากจะไม่ช่วยลดความอ้วนแล้ว
ยังก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ง่าย

2. กินมากใช้มาก กินน้อยใช้น้อย ถ้าจำกัดเรื่องกินจุกกินจิก กินแป้ง น้ำตาล กินก่อนนอนลงได้
ท่านก็ไม่ต้องทำงานใช้กำลังมาก ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องออกกำลังกายมากหน่อย

3. ควรดำเนินการลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะจะได้ทำได้นาน ๆ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องใช้เวลา
และพึงระลึกอยู่เสมอว่า ถ้าอ้วนมากขึ้นเรื่อย ๆ สักวันหนึ่งคุณอาจเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคเหนื่อยง่าย โรคเส้นเลือดสมองตีบ ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่เลวลง


บทความโดย รศ.นพ.ชาญวิทย์ โคะธีรานุรักษ์
ที่มา นิตยสาร Health Today


เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ผู้หญิงอ้วนออกกำลังไม่ได้ผล


สารบัญ ลดอ้วน ลดน้ำหนัก


Create Date : 19 เมษายน 2552
Last Update : 9 สิงหาคม 2554 23:01:48 น. 0 comments
Counter : 675 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.