กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

ภาษาง่ายๆ ใช้ไฟอย่างมีประสิทธิภาพ! Simple lang, Light up efficiently!

English Text is After Thai



ภาษาง่ายๆ ใช้ไฟอย่างมีประสิทธิภาพ! Simple lang, Light up efficiently!

เดือนนี้ กรีนพีซเรียกร้องให้คุณทำสิ่งง่ายๆ นั่นคือเปลี่ยนการใช้ไฟของคุณให้มีประสิทธิภาพทางพลังงาน โดยใช้หลอดไฟคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (Compact Flourescent Lights; CFL) หรือหลอดไฟไดโอดส่องแสง (Light Emitting Diodes; LED) แทนการใช้หลอดไฟหลอดไฟที่ใช้ไฟแรงแบบกินไฟอย่างมากมาย นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ประโยชน์จากแสงไฟพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้มากที่สุดโดยการเปิดม่านและหน้าต่าง และโดยการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เล่นกลางแจ้งและเล่นกีฬาเพื่อความแข็งแรง

ภาษาง่ายๆ แค่นี้เอง - การกระทำง่ายๆ เมื่อมีผู้กระทำพร้อมกันจะช่วยหยุดโลกร้อนได้แน่นอน โปรดลงมือทำสิ่งง่ายๆ ตอนนี้ ให้คำมั่นที่จะใช้ไฟอย่างมีประสิทธิภาพในเดือนนี้กันเถอะ และมีส่วนร่วมโดยสมัครเป็นนักกิจกรรมออนไลน์รับข่าวสารและเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ออนไลน์ของกรีนพีซ

ภาษาง่ายๆ! ใช้ไฟอย่างมีประสิทธิภาพ
โปรดเข้าไปที่เว็บไซต์ //www.email.greenpeace.org/wtqdqfe_zmsfbfff.html เพื่อให้คำมั่น

1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้
2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

----------

Simple lang, Light up efficiently!

This month, Greenpeace calls on you to do a very simple act of using energy efficient lighting such as Compact Flourescent Lights (CFL) or Light Emitting Diodes (LED) instead of the energy-guzzler incandescent bulbs. You can also maximize the natural solar power lighting that we have by opening your curtains and windows and by doing activities outdoor – such as playing and staying fit.

Simpleng, Simple lang! Simple acts when done collectively will definitely help stop climate change. So, do a simple act now, Simple lang, pledge to light up efficiently this month.

Simple lang, pledge to light up efficiently!
Log on to //www.email.greenpeace.org/wtqdqfe_zmsfbfff.html Or text GREENPEACE to 2948

Greenpeace Needs Your Help! - We need your help spread the word tell your friends about Greenpeace and its campaigns by telling them to visit the site //www.greenpeace.or.th/ and to Get Involved by signing up for the cyberactivist news and engaging in Greenpeace cyberactions
1: Donate Now - Help Greenpeace Take a Stand. Become a Member Today.
2: Take Action - Become a member of the Greenpeace cyberactivist community
3: Volunteer - There is a lot to be done when protecting the planet for future generations and help is always welcome.

--
พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด
ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement

" Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : //www.greenpeace.or.th




 

Create Date : 10 กันยายน 2550   
Last Update : 10 กันยายน 2550 16:38:38 น.   
Counter : 1011 Pageviews.  


กรีนพีซพาหมีโคอาล่าเรียกร้องหน้าสถานทูตออสเตรเลียอย่าเลี่ยงการรับรองพิธีสารเกียวโตในการประชุมเอเปก

31 ส.ค. 50 - กรุงเทพ, ประเทศไทย — อาสาสมัครกลุ่มกรีนพีซในชุดหมีโคอาล่าชูป้ายผ้ามีข้อความว่า “Kyoto-Just Do it” หน้าสถานทูตออสเตรเลียในกรุงเทพฯ และยื่นจดหมายเตือนนายจอห์น โฮเวิร์ด ว่าไม่ควรกดดันผู้นำ 21 ประเทศที่จะมาร่วมประชุมสุดยอดกลุ่มเอเปกในเมืองซิดนีย์สัปดาห์หน้า เพื่อที่จะล้มพิธีสารเกียวโตซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน

จากข้อมูลที่รั่วไหลออกมา นายจอห์น โฮเวิร์ด มุ่งที่จะตั้งเป้าหมาย “อันสูงส่ง” เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการประชุมสุดยอดเอเปกครั้งที่ 14 ซึ่งตัวเขาเองจะร่วมกับอาชญากรโลกร้อนอีกคนหนึ่ง นั่นคือ นายจอร์จ บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในการผลักดันข้อเสนอใหม่ที่ต่างไปจากพิธีสารเกียวโต หรือข้อตกลงภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มีผลบังคับใช้ในทางกฎหมาย

นายธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกล่าวว่า “ใน พ.ศ. 2538 นานาประเทศต่างเห็นพ้องกันว่า เป้าหมายการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยใช้วิธีการ “สมัครใจ” นั้นเป็นสิ่งที่ไร้ประสิทธิภาพ และด้วยเหตุนี้เองนานาประเทศจึงเจรจาให้พิธีสารเกียวโตมีพันธะสัญญาในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถ้านายโฮเวิร์ดจริงจังเรื่องภาวะโลกร้อนเหมือนอย่างที่กล่าวไว้ เขาควรเป็นผู้นำให้เอเปกสนับสนุนพิธีสารเกียวโต และใช้สิ่งที่ได้จากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G-8 ซึ่งเรียกร้อง “ปฏิบัติการเร่งด่วนและมีพลัง” เพื่อจัดการกับปัญหาโลกร้อน รวมทั้งยืนยันว่ากระบวนการของสหประชาชาติในเรื่องสภาพภูมิอากาศนั้นเป็นเวทีที่เหมาะสมในการเจรจาข้อตกลงระหว่างประเทศอันใหม่”

ข้อสรุปในรายงานการประเมินผลครั้งที่ 4 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่นำเสนอในปี พ.ศ.2550 ได้ชี้ให้เห็นถึงระดับและความเร่งด่วนของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประชุมที่กรุงเทพฯ ในเดือนพฤษภาคม IPCC ระบุอย่างชัดเจนว่า “ความพยายามในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงสองถึงสามทศวรรษข้างหน้าจะมีผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อโอกาสในการบรรลุถึงระดับที่สมดุลของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ” และขณะเดียวกัน ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่จะรักษาระดับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิให้อยู่ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส IPCC ชี้ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับโลกจะขึ้นถึงจุดสูงสุดภายใน พ.ศ. 2558 อย่างช้าที่สุด และจะลดลงร้อยละ 50-85 ภายใน พ.ศ. 2593 เทียบกับระดับใน พ.ศ. 2533

“กรีนพีซขอเรียกร้องผู้นำประเทศในกลุ่มเอเปกให้รับรู้ถึงนัยสำคัญเพื่อรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกมิให้เพิ่มขึ้นไปกว่า 2 องศาเซลเซียส และให้คำมั่นต่อมาตรการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งดำเนินการเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการประชุมพิธีสารเกียวโตที่จะเกิดขึ้นที่บาหลี อินโดนีเซียในเดือนธันวาคมนี้ การประชุมที่บาหลีจะทำให้โลกมีแนวทางที่เหมาะสม เพื่อปกป้องมนุษย์และโลกจากภัยคุกคามครั้งใหญ่ที่สุดที่ไม่เคยประสบมาก่อน” นายธารา กล่าวเสริม

กรีนพีซเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรมจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 30 ภายใน พ.ศ.2563 และอย่างน้อยที่สุดร้อยละ 80 ภายใน พ.ศ. 2593 โดยเทียบกับปีฐานใน พ.ศ.2533 เพื่อคงไว้ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกมิให้เพิ่มขึ้นมากไปกว่า 2 องศาเซลเซียส เท่าที่จะเป็นไปได้ และเพื่อให้รัฐบาลเคารพต่อคำมั่นสัญญาในช่วงเวลา 15 ปี ที่ผ่านมา ในการหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตราย

..........................................

Kyoto, Just Do It: Greenpeace calls upon OZ PM Howard not to derail Kyoto Protocol on Climate Change

Bangkok, August 31, 2007 - Greenpeace activists dressed in Koala costumes unfurled a banner reading "Kyoto- Just Do It" at the Australian embassy in Bangkok and delivered a letter warning PM John Howard not to use the APEC summit of 21 nations in Sydney next week, to derail the Kyoto Protocol on climate change.


According to documents leaked to Greenpeace, John Howard is aiming to set "aspirational" goals on climate change at the meeting, where he would work together with another climate treaty saboteur, George Bush, to push for a new alternative to Kyoto Protocol, the agreement under United Nations Framework on climate change UNFCC that sets binding targets on greenhouse gas emissions.

"In 1995, the world community agreed that voluntary, aspirational targets were ineffective and, as such, negotiated the Kyoto Protocol which includes binding emission reduction commitments. If Howard is as serious about climate change as he says he is, then he should lead APEC to support and strengthen Kyoto instead of introducing some vague idea of goals at some unspecified time in the future, " said Greenpeace climate & energy campaigner Tara Buakamsri.

The Intergovernmental Panel on Climate Change has this year made it clear that "Mitigation efforts over the next two to three decades will have a large impact on opportunities to achieve lower stabilization levels", and whilst it is still possible to keep warming below 2ºC, the
IPCC indicates that global emissions must peak by 2015 at the latest, and reduce from 1990 levels by 50-85% by 2050.

"Greenpeace urges APEC Leaders to acknowledge the imperative to keep temperatures below the 2ºC limit, commit to measures that will accomplish that goal and work towards successful negotiations at the Kyoto Protocol meeting in Bali in December that will set the world on the right path to protect people and the planet from the greatest threat humanity has ever faced. " he added.

To keep global average temperature rise as far below 2ºC as possible and for governments to honour their 15 year old commitments to avoid dangerous climate change, Greenpeace is calling for cuts of at least -30% by developed countries by 2020 and atleast 80 % by 2050, with a 1990 base year with a 1990 as the base year.


หมีโคอาล่าของกรีนพีซไปเยือนสถานทูตออสเตรเลยในกรุงเทพฯ ณ 31 ส.ค. เพื่อยื่นจดหมายแก่นายจอห์น โฮเวิร์ด เตือนอย่าออกนอกลู่ทางโดยไม่รับรองพิธีสารเกียวโตที่การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปกในสัปดาห์หน้า รูปโดย Greenpeace/สถาพร ทองมา

Australian embassy security guards flank Greenpeace Koalas in Bangkok who arrived arrived to deliver a letter to John Howard warning him not to derail the Kyoto Protocol at APEC meeting next week. Photo : Greenpeace/Sataporn Thongma




 

Create Date : 31 สิงหาคม 2550   
Last Update : 31 สิงหาคม 2550 13:23:01 น.   
Counter : 1180 Pageviews.  


เกาะกระแส GMO: ให้เหตุผลเป็นผู้ตัดสินข้อขัดแย้ง

English Text is After Thai

UPDATE: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระงับการพิจารณาการยกเลิกมติครม. ที่ห้ามทดลอง GMO ในไร่นาเปิด เอาไว้ก่อนในการประชุมครม. วานนี้ หลังกรีนพีซประท้วง 3 ครั้งในเวลาใกล้กัน

UPDATE 2: นางสาวณัฐวิภา อิ้วสกุล นักรณรงค์ต่อต้านพืชตัดต่อพันธุกรรม จะปรากฏตัวในการสัมภาษณ์สดหัวข้อ "ปลูกพืชจีเอ็มโอมีผลดีแค่ไหน" ที่ช่อง NATION CHANNEL TV วันนี้ (29 ส.ค.) สามทุ่มตรง

......................................................................

เกาะกระแส GMO: ให้เหตุผลเป็นผู้ตัดสินข้อขัดแย้ง

รัฐบาลควรคงมติห้ามทดลองพืชจีเอ็มโอหรือไม่ ให้เหตุผลตัดสินแทนการคัดค้านหัวชนฝา นั่นคือ รัฐบาลควรมีกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพควบคุมหากอนุญาตให้ทดลองปลูกจีเอ็มโอภาคสนาม ควรคำนึงถึงบทเรียนมะละกอจีเอ็มโอแพร่กระจายจากการที่กระทรวงเกษตรฯ อนุญาตให้ปลูก ทำให้พืชจีเอ็มโอแพร่กระจายอย่างควบคุมไม่ได้ ถั่วเหลือง ข้าวโพด คาโนล่า ฝ้าย มันฝรั่ง และมะละกอ ปลูกกันอย่างกว้างขวางใน 22 ประเทศ โดยพืชจีเอ็มโอส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และสุขภาพในระยะยาวของผู้บริโภคพืชจีเอ็มโอ ก่อนหน้านี้กรีนพีซเตือนกระทรงเกษตรฯ ว่าไม่ควรสนับสนุนกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มที่คอยผลักดันพืชจีเอ็มโอ และบริษัทธุรกิจเคมีเกษตรเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้น และควรคำนึงถึงเกษตรกรไทยที่จะไม่สามารถส่งออกพืชจีเอ็มโอไปยังตลาดหลักได้ เพราะตลาดเหล่านี้ไม่ต้องการผลผลิตที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอ ในขณะที่กระทรวงฯ ออกโรงว่าควรคว้าโอกาสจากเทคโนโลยีจีเอ็มโอ

ให้เหตุผลเป็นผู้ตัดสิน ...........

ต่อไปนี้เป็นบทบรรณาธิการใน The Nation ฉบับวันที่ 29 ส.ค. 2550

ให้เหตุผลเป็นผู้ตัดสินความขัดแย้ง GMO

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กล่าวไว้ว่าจะยื่นเสนอให้ยกเลิกมติค.ร.ม. ที่ห้ามการทดลองอาหารตัดต่อพันธุกรรม (GMO) ในไร่นาเปิดซึ่งบังคับใช้ใน 6 ปีที่ผ่านมา แต่ในการประชุม ครม. เมื่อวานนี้ ครม. ระงับการพิจารณามตินี้ไว้ก่อนโดยไม่ชี้แจงเหตุผล โดยเจ้าหน้าที่ในกระทรวงฯ ยืนกรานว่าประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตอาหารรายหลักจะต้องติดตามความก้าวหน้าของงานวิจัยทั่วโลกและรักษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศเอาไว้


หากรัฐบาลนายกฯ สุรยุทธ์ ตัดสินใจยกเลิกมติครม. ณ วันที่ 3 เมษายน 2544 ของรัฐบาลอดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งห้ามทดลองพืชตัดต่อพันธุกรรมในไร่นาเปิด ดังที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอ จะทำให้นักวิจัยภาครัฐและเอกชนสามารถเดินหน้าดำเนินการทดลองและปลูกมะละกอและพืชผลอื่นๆ เช่นปาล์มน้ำมัน และพืชออกดอก ในระดับไร่นา

มติครม. ที่ห้ามทดลอง GMO นี้ ถูกบังคับใช้เพราะขาดมาตรการอันน่าเชื่อถือในการสร้างความมั่นใจในเรื่องกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ และจากนั้นมา นักวิจัยเพียงแค่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมในสภาพแวดล้อมหรือห้องทดลองแบบปิดเท่านั้น

มติห้ามทดลองปลูก ณ พ.ศ. 2544 เกิดขึ้นากประเด็นขัดแย้งเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม หลังจากที่นักสิ่งแวดล้อมและนักกิจกรรมต่อต้าน GMO ได้พบว่ามีชาวไร่ในปริมณฑลหลายพื้นที่ปลูกมะละกอ GMO โดยผู้ควบคุมดูแล คือ กระทรวงเกษตรฯ

มีข้อกังขาเกิดขึ้นว่าเมล็ดมะละกอตัดต่อพันธุกรรมถูกขโมยไป หรือไม่ก็ตั้งใจแจกจ่ายให้กับชาวไร่ นับแต่นั้นมามะละกอ GMO ได้แพร่กระจายและเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภค ผู้ซึ่งไม่แสดงท่าทีกังวลเลยว่ามันมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้บริโภคอาหาร GMO

กระทรวงเกษตรฯ และชุมชนนักวิจัย GMO ในประเทศไทยกำลังผลักดันให้มีการเดินหน้าทดลองปลูกพืช GMO ภาคสนาม เพื่อสร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี GMO เมื่อใดก็ตามที่ข้อถกเถียงที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกเกี่ยวกับผลดีและผลกระทบมีข้อสรุปว่า GMO เป็นที่ยอมรับ ...กล่าวได้ว่าจุดยืนนี้ไม่ไร้เหตุผลอย่างสิ้นเชิง

ปัจจุบันพืชตัดต่อพันธุกรรมมีการปลูกในไร่นาใน 22 ประเทศ ในพื้นที่ทั้งหมดมากกว่า 637.5 ล้านไร่ และกำลังขยายไปอย่างรวดเร็ว โดยที่มีการประมาณมูลค่าทางการค้าไว้ที่ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (203 พันล้านบาท) ต่อปี พืชตัดต่อพันธุกรรมหลายชนิดมีขายในท้องตลาดมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด คาโนล่า ฝ้าย มันฝรั่ง และมะละกอ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย แคนาดา สเปน และเยอรมนี และประเทศที่กำลังพัฒนา ได้แก่ จีน อินเดีย อาร์เจนตินา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และบราซิล ได้คว้าโอกาสจากเทคโนโลยี GMO ไว้แล้ว

สิ่งที่มาเสริมภาวะเร่งด่วนของข้อโต้แย้ง GMO คือ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เห็นได้ชัดแจ้งแล้ว ได้แก่ น้ำท่วม ภัยแล้ง ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และภัยธรรมชาติต่างๆ ที่ส่งผลให้พืชผลเสียหายและรายได้ต่ำลง ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของเสบียงอาหารโลก ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนจำเป็นต้องมีวิวัฒนาการสีเขียว และสิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ก็คือ เทคโนโลยี GMO ถึงแม้ว่าข้อขัดแย้งเกี่ยวกับจีเอ็มโอมีแนวโน้มว่าจะไม่ลงรอยกันในอนาคต แต่ประเทศไทยก็ควรเดินหน้าทดลองภาคสนามพืช GMO แต่ควรทำภายใต้การควบคุมความปลอดภัยอันเข้มงวดเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้พืชตัดต่อพันธุกรรมกระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม หรือ ผสมข้ามพันธุ์กับพืชท้องถิ่น ทำให้เกิดความผิดแปลกขึ้น

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังดำเนินการสรุปร่างกฎหมายหัวข้อความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าชุมชนนักวิจัยและอุตสาหกรรม GMO จะมีกฎหมายควบคุม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวิตได้รับการปกป้อง อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวยกเลิกมติครม. จะต้องเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ

หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ก็คือ การยกเลิกการทดลองจีเอ็มโอภาคสนามจะต้องไม่เกิดขึ้นจนกว่ากฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพจะถูกบังคับใช้ ประเทศไทยควรใช้วิธีที่สมดุลโดยลงทุนในการวิจัยและพัฒนา GMO ในขณะที่กำหนดมาตรการอันมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย โดยในเรื่องนี้ผู้มีบทบาทสำคัญคือนักวิทยาศาสตร์และผู้ออกกฎหมาย ประเทศไทยสามารถก้าวหน้าในเรื่องการวิจัยและพัฒนา GMO ในขณะเดียวกับที่มีการป้องกันและจัดการผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้น

.............................................

Editorial: Let rationality decide GMO debate The bio-safety law must be enacted before field trials on genetically modified crops can resume

Published on August 29, 2007

The Agriculture Ministry has said it would, at a later date, submit a proposal to the Surayud Cabinet to lift the ban on field trials of genetically modified organisms (GMO), which has been in force for the past six years. The ministry, which was earlier scheduled to table the proposal at yesterday's Cabinet meeting, withheld it without giving a reason why. Officials at the ministry insisted that Thailand, one of the world's major food producers, must restart field tests of genetically modified crops to keep up with advances in global research and to maintain the country's competitiveness.

If the Surayud government decides to scrap the earlier Cabinet resolution issued on April 3, 2001, by the then-Thaksin government to ban field tests of genetically modified crops, as requested by the ministry, government and private-sector researchers will be able to resume experimenting with and conducting field trials of papaya and other crops, such as palm oil and flowering plants.

The ban was imposed on the grounds that there was a lack of reliable measures in place to ensure bio-safety, and since then researchers have only been allowed to do research and development on genetically modified crops in closed environments or laboratories.

The 2001 ban followed a controversy over possible threats to bio-diversity and the environment after environmentalists and anti-GMO activists found that genetically modified papaya under field trials supervised by the Agriculture Ministry were also being grown by many farmers in surrounding areas.

It was suspected that seeds of genetically modified papaya were either stolen or were purposefully given to farmers. The growing of genetically modified papaya has since become widespread and has become popular among consumers who do not seem to worry about its impact on bio-diversity and the environment, or the long-term health effects on people who eat genetically modified food.

The Agriculture Ministry and the country's GMO research community are pushing for the resumption of field trials of genetically modified crops to ensure Thailand is well positioned to take advantage of the technology if and when the ongoing global debate on its virtues and drawbacks is settled in the favour of GMOs. This is not a totally unreasonable standpoint.

Genetically modified crops are now being farmed in 22 countries over a total area of 637.5 million rai and they are expanding fast, while their trading value is estimated at about US$6 billion (Bt203 billion) per year. Many genetically modified crops have already been sold in the market, including soybeans, corn, canola, cotton, potatoes and papaya.
Developed countries like the United States, France, Australia, Canada, Spain and Germany, and developing countries like China, India, Argentina, the Philippines, Indonesia and Brazil, have embraced GMO technology.

Adding to the urgency of the GMO debate are the already evident effects of global warming and climate change, including flooding, drought, rising sea levels and natural disasters that have resulted in failed crops and lower yields, which pose a threat to global food security.
Many experts believe that the world, particularly poor developing countries, needs another Green Revolution and that GMO technology will enable that to happen. While the GMO debate is not likely to be settled in the foreseeable future, Thailand should resume field trials of genetically modified crops but only with stringent safeguards in place to prevent genetically modified crops from contaminating the environment or crossbreeding with indigenous plant species and strains.

The Natural Resource and Environment Ministry is finalising draft legislation on bio-safety, which would ensure that the GMO research community and industry are well regulated and the environment and bio-diversity well protected. But the move to lift the ban must be made concurrently with enforcement of the bio-safety law.

In other words, the ban on field trials should not be lifted until the bio-safety law is put in place. Thailand should take a balanced approach by investing in research and development on GMOs, while at coming up with effective measures to prevent contamination in which scientists and the regulators both play crucial roles. Thailand can make advances in GMO research and development while at the same time preventing and mitigating any potential ill effects.

---------------
กรีนพีซรณรงค์เพื่อต่อต้านพืชจีเอ็มโอรวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของพืชจีเอ็มโอทั้งหมด ซึ่งเป็นกลไกสำคัญบนหลักการของความยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย การตัดต่อพันธุกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยและไม่เป็นที่ต้องการของสังคมโลกอีกทั้งยังทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความเสี่ยงให้กับผู้บริโภค

//www.greenpeace.or.th/
บริจาคสนับสนุนงานรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมได้ที่นี่





 

Create Date : 29 สิงหาคม 2550   
Last Update : 29 สิงหาคม 2550 18:38:16 น.   
Counter : 1217 Pageviews.  


ผีดิบ GMOs ประท้วงหน้าทำเนียบฯ


คำบรรยายรูป: นักกิจกรรมกรีนพีซพันแถบอันตรายกันผีดิบจีเอ็มโอหน้าทำเนียบรัฐบาล นักกิจกรรมสวมหุ่นผีดิบพืชผักจีเอ็มโอ: มะละกอ ข้าว มะเขือเทศ สัปปะรด และพริก หน้าทำเนียบฯ เพื่อแสดงว่าจะเกิดสิ่งเลวร้ายขึ้นหากนายธีระ สูตะบุตร รมต. เกษตรฯ สามารถผลักดันให้ยกเลิกมติครม.ทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในไร่นาเปิด

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 28 ส.ค. 50 — วันนี้หุ่นผีดิบพืชจีเอ็มโอของกรีนพีซจำนวน 5 ตัว ได้แก่ มะละกอ ข้าว มะเขือเทศ สับปะรด และพริกขนาดเท่าคนจริงเดินรณรงค์คัดค้านบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อแสดงให้คณะรัฐมนตรีเห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นหากความพยายามของรมต.เกษตรฯ ที่จะผลักดันให้ล้มมติ ครม. นี้เป็นผลสำเร็จ ครั้งนี้เป็นการคัดค้านต่อเนื่องจากเมื่อวานที่กรีนพีซบรรทุกมะละกอกองมหึมาราว 11 ตัน ถมหน้าประตูทางเข้าออกของกระทรวงเกษตรฯ เพื่อย้ำเตือนถึงคดีมะละกอปนเปื้อนจีเอ็มโอ ที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี 2547 ซึ่งยังคงค้างคาอยู่

“หุ่นผีดิบพืชจีเอ็มโอทั้ง 5 ตัวนี้ แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีการดัดแปลงพันธุกรรมที่อันตรายสามารถทำให้เกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมของไทยพังพินาศได้ ทันทีที่พืชจีเอ็มโอถูกปล่อยออกสู่พื้นที่เปิด มันก็เหมือนกับผีดิบที่บ้าคลั่งที่จะแพร่กระจายและปนเปื้อนไปสู่พืชผลและสิ่งแวดล้อมของไทยอย่างไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้ ซึ่งนั่นจะเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพและวิถีชีวิตของเกษตรกร” นางสาวณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสาน งานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม (จีเอ็มโอ) กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว


“ถ้าหาก ครม.อนุมัติให้มีการยกเลิกมตินี้ นั่นก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลชุดนี้เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทข้ามชาติเพียงไม่กี่บริษัทที่ได้รับผลประโยชน์จากการแพร่พันธุ์พืชจีเอ็มโอ และไม่ใส่ใจที่จะปกป้องอนาคตของผลผลิตทางการเกษตรของไทยที่ต้องพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลัก ซึ่งตลาดเหล่านี้ไม่ต้องการผลผลิตที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอ” ณัฐวิภากล่าวเสริม


ในเดือนกรกฎาคมปี 2547 กรีนพีซเปิดโปงกระทรวงเกษตรฯ ว่าเป็นสาเหตุทำให้มะละกอไทยปนเปื้อนจีเอ็มโอ โดยมีการทดลองปลูกมะละกอจีเอ็มโอที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 ส่วนแยกพืชสวน จ.ขอนแก่น และปล่อยให้มีการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์มะละกอที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอให้กับเกษตรกรไทยกว่า 2,669 ราย ใน 37 จังหวัดทั่วประเทศ เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กระทรวงเกษตรฯ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการควบคุมการแพร่กระจายของพืชจีเอ็มโอ สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรไทย การปนเปื้อนที่ผิดกฎหมายและไม่พึงประสงค์นี้เป็นเหตุให้ตลาดโลกโดยเฉพาะในยุโรปขาดความเชื่อมั่นต่อการส่งออกมะละกอไทย


หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้กระทรวงเกษตรฯ จำต้องทำลายต้นมะละกอในสถานีทดลองที่จังหวัดขอนแก่น แต่เมื่อกรีนพีซสุ่มเก็บตัวอย่างมะละกอในแปลงเกษตร เมื่อปี 2548 ปรากฎว่ายังพบมะละกอจีเอ็มโอในแปลงเกษตรใน 5 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม และระยอง กรีนพีซจึงฟ้องกรมวิชาการเกษตรต่อศาลปกครอง ด้วยเหตุที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่จนทำให้เกิดการปนเปื้อนจีเอ็มโอในมะละกอดังกล่าว

-----

กรีนพีซรณรงค์เพื่อต่อต้านพืชจีเอ็มโอรวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของพืชจีเอ็มโอทั้งหมด ซึ่งเป็นกลไกสำคัญบนหลักการของความยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย การตัดต่อพันธุกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยและไม่เป็นที่ต้องการของสังคมโลกอีกทั้งยังทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความเสี่ยงให้กับผู้บริโภค


ท่านสามารถบริจาคเพื่อสนับสนุนการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมได้ที่นี่




 

Create Date : 29 สิงหาคม 2550   
Last Update : 29 สิงหาคม 2550 16:31:20 น.   
Counter : 1333 Pageviews.  


อัพเดท งานขี่จักรยานลดโลกร้อน กับกรีนพีซ

อัพเดท งานขี่จักรยานลดโลกร้อน กับกรีนพีซ



กรีนพีซ มีจักรยานบริการสำหรับผู้ต้องการร่วมรณรงค์ขึ่จักรยาน ลดโลกร้อน ในวันปลอดรถ Car Free Day เสาร์ที่ 22 กันยายน 2550

อาสาสมัครและผู้สนับสนุนกรีนพีซ ลงชื่อเข้าร่วมด่วน ภายในวันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2550 ที่โทร. 0 2357 1921 หรือ 08 1935 3327 เพื่อนัดหมายจุดนัดพบ

เส้นทางรณรงค์จากสนามศุภชลาสัย – ลานคนเมือง – สนามศุภชลาสัย รวมระยะทาง 12.51 กิโลเมตร ผ่านย่านของกินอร่อยของเยาวราช และชมตึกเก่าตลอดเส้นทาง ขี่ไม่ไหวหยุดกลางทาง มีบริการขนกลับค่ะ

หมายเหตุ ขอความอนุเคราะห์ค่าใช้จ่ายคนละ 150 บาทสำหรับค่าเช่าจักรยาน หรือหากนำจักรยานมาเองจะไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ มีอาหาร และน้ำบริการค่ะ ขอบคุณค่ะ




 

Create Date : 29 สิงหาคม 2550   
Last Update : 29 สิงหาคม 2550 15:08:46 น.   
Counter : 1290 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com