กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ผู้บริโภคช่วยยุติแรงงานประมงไม่เป็นธรรมได้อย่างไร



เขียน โดย อัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติในปีนี้ จึงอยากหยิบยกประเด็นปัญหา สาเหตุ และสถิติสำคัญในแรงงานภาคประมงมาเล่าสู่กันฟัง รวมถึงวิธีที่ทุกท่านในฐานะผู้บริโภคจะสามารถช่วยพวกเขาได้อย่างไร

ก่อนที่เราจะกินปลาสดๆรสชาติอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกายในแต่ละครั้ง เราๆท่านๆเคยตั้งคำถามหรือไม่ว่าใครเป็นคนจับและปลาเหล่านี้มาจากไหน

ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาหลายท่านคงได้รับรู้เรื่องราวของแรงงานประมงทั้งชาวไทยและชาวต่างด้าวที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยกำลังถูกจับตามองในประเด็นนี้จากนานาชาติ

ทุกอย่างล้วนมีที่มา

จากการพัฒนาเทคโนโลยีการประมงของประเทศไทยอย่างรวดเร็ว ทำให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทรุดโทรม สัตว์น้ำทุกขนาดและเกือบทุกชนิดถูกจับขึ้นมาในปริมาณมหาศาลโดยไม่มีการคำนึงถึงศักยภาพการผลิตของทะเลว่าจะสามารถผลิตทันหรือไม่ เมื่อสัตว์น้ำน้อยลงจึงต้องออกไปจับไกลขึ้น ต้นทุนจึงเพิ่มขึ้นตามมา

จากการศึกษาของ แอเมด และคณะ ในปี 2550 พบว่าในประเทศไทย การลงแรงประมงแต่ละครั้งมีปริมาณปลาที่ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา และมีค่าใช้จ่ายในการทำประมงที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาลูกเรือและน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเรือประมงได้มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการประมงบางกลุ่มต้องใช้แรงงานที่มาจากการค้ามนุษย์ แรงงานบังคับใช้และแรงงานติดหนี้ในอุตสาหกรรมนี้ [1]

วงจรการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

จุดเริ่มต้นของแรงงานที่เข้ามาในวงจรการค้ามนุษย์มีหลายรูปแบบ เช่น การชักชวนจากเพื่อนหรือญาติ การล่อลวง และการลักพาตัว โดยมีผู้ที่ถูกจ้างมาให้มาทำการล่อลวงหรือนายหน้าจะเป็นผู้ดำเนินการล่อลวงแรงงานเองในวิธีการต่างๆ เช่นการพูดคุย และชักชวนโดยมีข้อเสนองานรายได้ดีให้ บางรายมีการดูแลซื้ออาหารและน้ำดื่มให้กับผู้ที่ต้องการหางาน เมื่อดื่มหรือกินเข้าไปจะเกิดอาการสะลึมสะลือและหลับไปในที่สุด และเมื่อตื่นขึ้นกลับพบว่าได้ถูกขังอยู่ที่นากุ้งร้าง บางรายอาจจะตื่นขึ้นมาและพบว่าออกมากลางทะเลกับเรือประมงแล้ว โดยชีวิตการใช้แรงงานประมงนั้นเป็นงานที่หนักและมีความเสี่ยงสูงมากไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงเรื่องการถูกทารุณ ปัญหาสุขภาพ การถูกแสวงหาผลประโยชน์ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่องราวเช่นนี้ยังคงเกิดขึ้น

แรงงานบนเรือถูกกระทำอย่างไรบ้าง

ผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2557 ขององค์กรที่ทำงานด้านแรงงานระดับโลก เช่น International Labour Organization หรือ ILO[2] ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานประมงที่ทำงานบนเรือประมงไทยและผู้ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์บนเรือประมงไทย ดังนี้

ผู้บริโภคอย่างเราช่วยได้อย่างไร

การบริโภคเพื่อช่วยให้ทรัพยากรทางทะเลให้ดีขึ้นและช่วยเหลือแรงงานประมงเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตในการทำงานบนเรือให้ดีขึ้น มีหัวใจสำคัญ คือ “การบริโภคอย่างรู้ที่มาไม่สนับสนุนสินค้าอาหารทะเลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานและใช้เครื่องมือประมงทำลายล้าง หันมาบริโภคสัตว์น้ำโตเต็มวัย และร่วมลงชื่อในงานรณรงค์ต่างๆที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนและเป็นธรรมกับสิ่งแวดล้อมและแรงงานประมงตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่บนเรือจนถึงจานเรา”

มาร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มจากตัวคุณ เราเชื่อว่าพลังจากคนตัวเล็กๆสามารถเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นได้



[1] Ahmed, M. et al (2007) ‘Overfishing in the Gulf of Thailand: policy challenges and bioeconomic analysis’ Environment and

Development Economics 12: 145-72

[2] International Labour Organization (ILO) (2013) Employment practices and working conditions in Thailand’s fishing sector //www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---ro-bangkok/documents/publication/wcms_220596.pdf


ที่มา : Greenpeace Thailand




Create Date : 01 พฤษภาคม 2559
Last Update : 27 พฤษภาคม 2559 15:35:50 น. 1 comments
Counter : 1286 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: peepoobakub วันที่: 15 มีนาคม 2560 เวลา:16:48:44 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com