กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
แผนการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติกของเชลล์เลวร้ายยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่เป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างดีว่าการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติกเป็นความคิดที่เลวร้าย คือ เหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมัน คุลลุคหลุดออกจากฐานแล้วลอยมาเกยตื้นที่เกาะซิทคาลิแดค ใกล้กับเมืองโคเดียค รัฐอลาสกา โดยแท่นขุดเจาะน้ำมันคุลลุคอันแสนโบราณนี้ไม่ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะน้ำมันช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา เชลล์จึงได้ใช้เรือลาก Aiviq มูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ลากแท่นคุลลุคเข้าท่าเรือชายฝั่ง แต่เนื่องจากเกิดสภาพอากาศแปรปรวนเกิดกระแสน้ำเชี่ยวในทะเลแบร์ริง และทำให้สายลากความยาว 400 ฟุต ขาด ปล่อยให้แท่นขุดเจาะน้ำมันหลุดลอยไป เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา

ต่อมาในวันที่ 28 ธันวาคม 2555 แท่นขุดเจาะน้ำมันคุลลุคสามารถเชื่อมต่อกับเรือ Aiviq ได้อีกครั้ง แต่ระหว่างทางได้เกิดเหตุ “เครื่องยนต์ขัดข้อง” บริเวณทางใต้ของเกาะโคเดียค ทำให้แท่นขุดเจาะหลุดลอยไปไกล มีการช่วยเหลือกลุ่มลูกเรือบนแท่นขุดเจาะทางเฮลิคอปเตอร์ของ US Coast Guard  หลังจากได้พยายามเชื่อมสายลากและหลุดหลายครั้งต่อหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ที่ผ่านมา เรือลาก Aiviq และแท่นขุดเจาะ คุลลุค ได้เชื่อมต่อกันอีกครั้งในระยะ ห่างจากชายฝั่งของเกาะโคเดียค 19 ไมล์ และดำเนินการลากไปยังท่าเรือฮอบรอนที่อลาสกา แต่สายลากกลับขาดอีกครั้งในระยะห่างจากชายหาดเพียง 4 ไมล์ จนกระทั่งลอยไปเกยตื้นชายฝั่งในที่สุด


แท่นขุดเจาะน้ำมันคุลลุคประกอบด้วย น้ำมันดีเซล 139,000 แกลลอน และน้ำมันไฮโดรลิค 12,000 แกลลอน ถึงแม้จะยังไม่มีรายงานการรั่วของน้ำมัน แต่หนึ่งในทีมงานได้กล่าวไว้อย่างคลุมเครือว่า “เราไม่ทราบถึงความเสียหาย เนื่องจากมันมืดมาก และอากาศก็เลวร้ายมาก

ขณะนี้ทางเชลล์และ US Coast Guard  กำลังร่วมมือกันหาหนทางดำเนินการ แต่ยังติดปัญหา “สภาพอากาศและคลื่นลมแรง”

เราต่างตระหนักถึงผลกระทบอันแสนสาหัสของวิกฤติน้ำมันรั่วที่อาจเกิดขึ้นที่อลาสกา โดยในปีพ.ศ. 2532 เรือบรรทุกน้ำมันขนาดยักษ์ เอ็กซอน วอลเดช ได้ชนหินเกยตื้นบนแนวปะการังไบลห์ ใกล้ชายฝั่ง พรินซ์ วิลเลียม ซาวน์ ของอลาสกา ตัวเรือฉีกออกและเทน้ำมันดิบทั้ง 11 ล้าน แกลลอนลงสู่อ่าว  คร่าชีวิตนกทะเล แมวน้ำ นากทะเล และวาฬเพชฌฆาตนับไม่ถ้วน  และยังส่งผลกระทบอยู่จนถึงทุกวันนี้

และเหตุการณ์ในครั้งนี้คงไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรสำหรับเชลล์ นอกจากเกิดอุบัติเหตุในการขุดเจาะน้ำมันอยู่บ่อยครั้งแล้ว ยังมีเหตุผลหลักอีก 8 ประการ ที่เราไม่ควรปล่อยให้เชลล์เข้ามารุกรานอาร์กติก

1. เชลล์ไม่มีการเตรียมการค่าใช้จ่ายสำหรับกระบวนการล้างคราบน้ำมันจากการรั่ว

ในเดือนมีนาคม 2555 เชลล์ได้ออกมายอมรับกับ คณะกรรมการตรวจสอบทรัพยากรทางธรรมชาติของสหราชอาณาจักร ถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินนี้ว่า เชลล์ไม่มีการเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับการล้างคราบน้ำมันหากเกิดการรั่วซึม ทิ้งความเสียหายไว้ทางการเงินให้กับผู้ถือหุ้น และความเสียหายทางมลพิษให้กับประชากรบนโลก

2. รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ได้รับรองว่า อาร์กติก ชาลเลนเจอร์ เรือท้องแบนของเชลล์ ว่าปลอดภัยเพียงพอ

เรือ อาร์กติก ชาลเลนเจอร์ เป็นเรือท้องแบนนอายุ 36 ปี ที่เคยถูกใช้ในการลากอุปกรณ์ความปลอดภัยบนทะเลน้ำแข็ง และทางหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาไม่เชื่อถือว่าเรืออาร์กติก ชาลเลนเจอร์ จะสามารถทนทานต่อพายุที่รุนแรงได้

3. US Coast Guard ไม่มั่นใจกับการกำจัดคราบน้ำมันหากเกิดน้ำมันรั่ว

จากการสัมภาษณ์ โดยสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ทางแม่ทัพ US Coast Guard กล่าวว่า “เราไม่มั่นใจว่าจะมีการจัดการอย่างไรในน่านน้ำที่หนาวเย็นของอลาสกา” ซึ่งหนึ่งในกระบวนการจัดการของเชลล์คือน้ำยาล้างคราบน้ำมัน

4. เรือขุดเจาะน้ำมันของเชลล์ลอยเกยตื้นชายฝั่งจากผลกระทบของลมแรง เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2555

5. เรือขุดเจาะน้ำมัน โนเบิล ดิสคอฟเวอร์เรอร์ ของเชลล์เกิดไฟลุกที่เครื่องยนต์

6. ระบบรักษาความปลอดภัยป้องกันน้ำมันรั่วซึมของเชลล์แตกง่ายราวกับกระป๋องเบียร์ในการทดสอบ

7. Pete Slaiby ประธานประจำอลาสกาของเชลล์ ยอมรับว่า “จะมีน้ำมันรั่ว” ในการให้การสัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซ

8. เหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมันเกยตื้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมานี้

แทนที่จะเปลี่ยนขั้วโลกเหนือเป็นแหล่งขุมทรัพย์ทางน้ำมันแห่งใหม่ เราควรจะช่วยกันรักษาสถานที่ที่แสนบอบบางและสำคัญต่อภูมิอากาศของโลกแห่งนี้ให้ปลอดภัยจากกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ไร้ความรับผิดชอบ ร่วมกันหยุดยั้งอุตสาหกรรมน้ำมันที่ไร้จิตสำนึกและรักษาอาร์กติกได้ที่ “Save the Arctic!




Create Date : 09 มกราคม 2556
Last Update : 9 มกราคม 2556 13:32:04 น. 0 comments
Counter : 1864 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com