กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
แถลงการณ์จากภาคประชาสังคม กรณีการอนุมัติแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ (PDP)

28 พฤษภาคม 2557

ตามที่มีรายงานข่าวระบุว่ากระทรวงพลังงานได้ดำเนินการสรุปโครงงานเร่งด่วนซึ่งต้องดำเนินการภายใน 1-6 เดือนข้างหน้า  เพื่อเสนอให้พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจพิจารณาอนุมัตินั้น โครงการเร่งด่วนดังกล่าวรวมถึงการขออนุมัติแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) ฉบับใหม่

แผนพัฒนากำลังผลิต ไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า แผนพีดีพี เป็นแผนกำหนดการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชนิดต่างๆ (นิวเคลียร์ เขื่อน ถ่านหิน แก๊ส หรือพลังงานหมุนเวียน) เพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต เป็นระยะเวลา15 -20ปี ในปัจจุบันประเทศไทย กำลังอยู่ภายใต้แผนพีดีพี ฉบับที่10 (ทบทวนครั้งที่3) ซึ่งกำหนดรายละเอียดของแผนการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชนิดต่างๆ รวมกันกว่า 50,000 เมกะวัตต์ (ปัจจุบันกำลังผลิตของประเทศรวม 33,000 เมกะวัตต์)ในช่วง พศ.2553 – 2573 คิดเป็นมูลค่าการลงทุนของทั้งแผน กว่า 2 ล้านล้านบาท

การปรับปรุงและออกแผนพีดีพีฉบับใหม่ มักจะมีข้ออ้างว่า เพื่อให้แผนการลงทุนสอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สูงกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ในแผนเดิม ดังนั้นแผนฉบับใหม่นอกจากจะเป็นโอกาสให้มีการปรับเปลี่ยน ชนิด-ขนาด-ทำเล ของโรงไฟฟ้าแล้ว ก็มักจะมีการเพิ่มโครงการใหม่ๆ และ/หรือ ผู้ลงทุน ตามไปด้วย

ดังนั้นเพื่อป้องกัน การลงทุนผิดพลาดเกินจริง การแสวงหาประโยน์โดยมิชอบ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน กฎหมายกำกับกิจการพลังงาน จึงได้กำหนดให้กระบวนการทำแผนพีดีพี และการอนุมัติ จะต้องมีความความโปร่งใส โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ  การประเมินผลกระทบ และได้รับความเห็นของคณะกรรมการอิสระกำกับกิจการพลังงาน ประกอบการพิจารณาอนุมัติของกรรมการพลังงานแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

ภาคประชาสังคมหลายองค์กรที่ทำงานติดตามประเด็นพลังงานมาตลอด มีความเห็นว่า การรีบเร่งเสนอเรื่องแผนพีดีพีให้พิจารณาอนุมัติในช่วงเวลานี้ เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่ง

แผนพีดีพี เป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศ มีกระบวนการที่ใช้เวลานาน เนื่องจากมีผลผูกพันในระยะยาว เกี่ยวข้องกับงบประมาณมหาศาล บรรจุโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงต่างๆ จำนวนมาก ทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ และในระดับสากลมีการทำการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Impact Assessment-SEA) สำหรับแผนทั้งหมด ไม่ใช่ศึกษาผลกระทบเพียงรายโครงการ

ที่ผ่านมา การคาดการณ์ความต้องการพลังงานของประเทศ และการลงทุนนั้นเกินจริงมาตลอด ทำให้การการสูญเสียทางเศรษฐกิจ และทำให้ค่าไฟสูงเกินความจำเป็น และไม่นำไปสู่การสร้างประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

ที่สำคัญ กระบวนการพิจารณาและอนุมัติแผนพีดีพี ต้องได้รับความเห็นจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จึงจะเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีได้

การที่ปลัดกระทรวง พลังงานเร่งเสนอร่างแผนฯ ดังกล่าวให้ คสช. พิจาณาอนุมัติ จึงถือเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติกฎหมายกำกับกิจการการพลังงาน อีกทั้งไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วม ปิดกั้นกระบวนการมีส่วนร่วมของสาธารณะ 

องค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งลงนามท้ายแถลงการณ์นี้ ขอเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วน ต้องจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างทั่วถึง

ลงนามโดย
เครือข่ายพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำโขง
มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง

ร่วมลงชื่อ “ปกป้องกระบี่จากถ่านหิน” และเรียกร้องว่าเราต้องการโรงไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด คลิกเลยที่ //www.protectkrabi.org #ProtectKrabi




Create Date : 16 มิถุนายน 2557
Last Update : 23 มิถุนายน 2557 14:27:02 น. 0 comments
Counter : 661 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com