กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
เชิญร่วมงาน เวทีสาธารณะ “วิกฤตฟูกูชิมะและอนาคตพลังงานที่ยั่งยืนในสังคมไทย ในวาระครบรอบ ๒๕ ปี หายนะภัยเชอร์โนบิล”





เนื่องในวันครบรอบ ๒๕ ปี หายนะภัยนิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิลในปี ๒๕๕๔ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรีนพีซจึงได้จัดกิจกรรมเพื่อราลึกและเตือนสติสังคมไทยให้พิจารณาอดีตภาพและมองอนาคตพลังงานด้วยวิสัยทัศน์ใหม่ และใคร่ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมงานเวทีสาธารณะ “วิกฤตฟูกูชิมะและอนาคตพลังงานที่ยั่งยืนในสังคมไทย ในวาระครบรอบ ๒๕ ปี หายนะภัยเชอร์โนบิล”


วันอังคารที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ เวลา๑๒.๓๐-๑๖.๔๕ น.
ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


๑๒.๓๐-๑๓.๐๐ น. ลงทะเบียน รับเอกสาร


๑๓.๐๐-๑๓.๑๐ น. กล่าวต้อนรับ โดย ผศ.ภญ.ดร. นยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


๑๓.๑๐-๑๓.๒๐ น. กล่าวเปิดงาน โดย ส.ว.รสนา โตสตระกูล สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล สานักงานเลขาธิการวุฒิสภา


๑๓.๒๐-๑๓.๓๐ น. สารคดี จากเชอร์โนบิลถึงฟูกูชิม


๑๓.๓๐-๑๓.๕๐ น. มองญี่ปุ่นผ่านวิกฤตฟูกูชิมะ โดย ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำานวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


๑๓.๕๐-๑๔.๑๐ นa. -วิเคราะห์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเวียดนาม โดย วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ เครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง


๑๔.๑๐-๑๔.๓๐ น. -วิพากษ์ “องค์ความรู้เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของสานักงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ กระทรวงพลังงาน” โดย ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


๑๔.๓๐-๑๔.๔๕ น. พักรับประทานอาหารว่าง


๑๔.๔๕-๑๖.๓๐ น. ข้อเสนออนาคตพลังงานไทย


ร่วมถ่ายทอดโดย “แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าใหม” โดย ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


“เศรษฐกิจ พลังงานและความยั่งยืน” โดย สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนอิสระ


“การมีส่วนร่วมจัดการพลังงาน” โดย ประสาท มีแต้ม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


“รัฐ นักลงทุนและผู้บริโภค” โดย อิฐบูรณ์ อ้นวงษา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค


“เยาวชนกับการปฏิวัติพลังงาน” โดย อุทุมพร ยาวิชัย ตัวแทนเยาวชนยุคพลังงานสะอาด


ดำเนินรายการโดย ชัยรัตน์ ถมยา


๑๖.๓๐-๑๖.๔๕ น. ซักถาม แลกเปลี่ยน


*หมายเหต: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


ดาว์นโหลดใบตอบรับการเข้าร่วมเวทีสาธารณะเพื่อสำรองที่นั่งของท่านที่นี่ //bit.ly/foCfX9  ภายในวันที่ 21 เม.ย. นี้


หากท่านต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (คุณวีรากานต์) โทรศัพท์ ๐๒-๓๕๗-๑๙๒๑, ๐๘๑-๐๓๔- ๖๕๓๕


ขอความกรุณาตอบแบบตอบรับ และส่งกลับภายใน วันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๔  ที่ โทรสาร๐๒-๓๕๗-๑๙๒๙ หรือส่ง E-Mail: wkengkaj@greenpeace.org เพื่อการจัดเตรียมจำนวนเอกสารและของพิเศษในงาน





Create Date : 19 เมษายน 2554
Last Update : 19 เมษายน 2554 12:42:38 น. 0 comments
Counter : 1080 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com