กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

พลังงานนิวเคลียร์มีภัยร้ายกาจ

รัฐบาลกำลังเร่งให้มีการอนุมัติเห็นชอบแผนงานของคณะกรรมการเพื่อเตรียมการศึกษาความเหมาะสมในการที่จะผลิตไฟฟาจากพลังงานนิวเคลียร์
ทั้งๆ ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาตินั้นไม่มีกระบวนการปรึกษาหารือและประเมินผลกระทบของอันตรายจากนิวเคลียร์กับภาคประชาสังคมและสาธารณชนอย่างเพียงพอและเหมาะสม

และทั้งๆ ที่ภาคประชาสังคมไทยจะมีประเด็นคำถามต่อทำเลที่ตั้ง ต้นทุนอันมหาศาล และความล่าช้าในการก่อสร้างของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เป็นข้อพิสูจน์ทั่วโลกหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า จริงๆ แล้ว 1) พลังงานนิวเคลียร์เป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อความมั่นคงด้านพลังงาน เพราะใช้งบประมาณจำนวนมากไปกับการลงทุนสูง 2) บี่ยงเบนออกจากการแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่แท้จริง เพราะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 3) พลังงานนิวเคลียร์ยังมิได้ตอบสนองต่อวิกฤตด้านพลังงานที่มีการคาดการณ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานควรพิจารณาอย่างจริงจังให้มากกว่านี้ถึงทางเลือกที่สะอาดและปลอดภัยในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะจากระบบพลังงานหมุนเวียนที่มีลักษณะกระจายศูนย์ซึ่งมาจากแหล่งธรรมชาติอันได้แก่ ลม แสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น

นอกเหนือจากความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ อย่างเช่น กรณีเชอร์โนบิล สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของพลังงานนิวเคลียร์คือกากกัมมันตภาพรังสีปริมาณนับพันตันที่เราจะต้องอยู่กับมันในอนาคต กรีนพีซขอเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติทำการทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า PDP 2007 โดยทันที โดยเน้นไปที่การศึกษาและพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการรับประกันความมั่นคงด้านพลังงานเท่านั้น หากยังเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่คนไทยทุกคน

------------------

กรีนพีซเป็นองค์กรต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยรัฐบาลและบริษัท เราไม่รับเงินบริจาคจากรัฐบาลและเอกชน จึงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความช่วยเหลือจากประชาชนเช่นคุณ

กรีนพีซต้องการความช่วยเหลือจากคุณ! เราต้องการให้คุณช่วยบอกต่อเพื่อของคุณเกี่ยวกับกรีนพีซและงานรณรงค์ของกรีนพีซโดยบอกให้พวกเขาไปเยี่ยมเว็บไซต์ของกรีนพีซ – //www.greenpeace.or.thและมีส่วนร่วมโดยสมัครจดหมายข่าวนักกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการณรงค์ทางอินเทอร์เน็ต

1. บริจาควันนี้ – ช่วยกรีนพีซให้ดำรงอยู่ สมัครสมาชิกวันนี้
2. ลงมือทำ – เป็นสมาชิกของชุมชนนักกิจกรรมออนไลน์กรีนพีซ
3. เป็นอาสาสมัคร – มีหลายอย่างที่ต้องทำเพื่อปกป้องโลกใบนี้สำหรับคนรุ่นต่อไป และเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ




 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2550   
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2550 22:19:51 น.   
Counter : 1106 Pageviews.  


You can't be a meat eating environmentalist




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2550   
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2550 19:01:06 น.   
Counter : 952 Pageviews.  


มนุษย์อยู่ในความเสี่ยง คุณใส่ใจหรือไม่

ความล้มเหลวด้านสิ่งแวดล้อม ‘ทำให้มนุษยชาติตกอยู่ในภาวะเสี่ยง’
//www.guardian.co.uk/environment/2007/oct/26/climatechange

- รายงานของสหประชาชาติแสดงความคร่ำครวญถึงการขาดการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนโดยรัฐบาล
- การศึกษา 5 ปีนี้มีส่วนร่วมโดยนักวิทยาศาสตร์ 1,400 คน


ภาพโลกเมื่อมองจากดวงจันทร์

รายงานฉบับนี้ระบุว่า แต่ละคนใช้แผ่นดินมากกว่าที่ต้องใช้ 3 เท่า ซึ่งมากกว่าที่โลกจะให้ได้
รูปโดย Corbis
โดย Martin Hodgson
The Guardian
26 ตุลาคม 2550

รายงานฉบับใหม่ของสหประชาชาติระบุว่า อนาคตของมนุษยชาติตกอยู่ในความเสี่ยงเพราะล้มเหลวในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง การสูญพันธุ์ของสายพันธุ์ต่างๆ และประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้น
ความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคามโดยผลกระทบจากกิจกรรมมนุษย์ 30% ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 23% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และ 12% ของนกตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ ในขณะที่แม่น้ำ 1 ใน 10 แห่งของโลกเหือดแห้งทุกๆ ปี ก่อนไหลสู่ทะเล

รายงานกล่าวว่าโลกมีแนวโน้มจะถูกทำลายอย่างไม่สามารถกลับเป็นเหมือนเดิมหากไม่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือต่ำกว่า 50% จากระดับปี 2533 ก่อนปี 2593

เพื่อให้ลดเหลือระดับดับกล่าว ประเทศร่ำรวยต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 60-80% ภายในปี 2593 และประเทศกำลังพัฒนาก็ต้องลดลงจำนวนมากเช่นกัน

รายงานระบุถึงพื้นที่จำนวนหนึ่งที่การเสื่อมของสิ่งแวดล้อมกำลังคุกคามสวัสดิภาพมนุษย์และโลก ได้แก่ น้ำ การจับปลาเกินขนาด และความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ระบุว่าการสูญพันธุ์ที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ครั้งที่ 6 กำลังคืบคลานเข้ามา

รายงาน 550 หน้านี้ใช้เวลา 5 ปีในการจัดทำ โดยมีนักวิทยาศาสตร์เกือบ 400 คนดำเนินการวิจัยและจัดทำฉบับร่าง ซึ่งผลการค้นพบของพวกเขาได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา 1,000 คน

รายงานเป็นตัวเลข:
- ป่า 116,550 ตารางกิโลเมตรถูกทำลายทั่วโลกทุกๆ ปี
- แม่น้ำ 60% ถูกทำลายโดยการสร้างเชื่อนหรือเปลี่ยนสภาพ
- 34% คือตัวเลขประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นใน 20 ปีที่ผ่านมา
- ประชาชน 75,000 คนต่อปีถูกคร่าชีวิตโดยภัยธรรมชาติ
- 50% คือตัวเลขของประชากรปลาที่ลดดิ่งลงภายใน 20 ปี
- 20% คือตัวเลขความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นของประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาที่ได้รับการศึกษา

-------------
กรีนพีซเป็นองค์กรต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยรัฐบาลและบริษัท เราไม่รับเงินบริจาคจากรัฐบาลและเอกชน จึงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความช่วยเหลือจากประชาชนเช่นคุณ

กรีนพีซต้องการความช่วยเหลือจากคุณ! เราต้องการให้คุณช่วยบอกต่อเพื่อของคุณเกี่ยวกับกรีนพีซและงานรณรงค์ของกรีนพีซโดยบอกให้พวกเขาไปเยี่ยมเว็บไซต์ของกรีนพีซ – //www.greenpeace.or.th และมีส่วนร่วมโดยสมัครจดหมายข่าวนักกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการณรงค์ทางอินเทอร์เน็ต
1. บริจาควันนี้ – ช่วยกรีนพีซให้ดำรงอยู่ สมัครสมาชิกวันนี้
2. ลงมือทำ – เป็นสมาชิกของชุมชนนักกิจกรรมออนไลน์กรีนพีซ
3. เป็นอาสาสมัคร – มีหลายอย่างที่ต้องทำเพื่อปกป้องโลกใบนี้สำหรับคนรุ่นต่อไป และเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

--------------------------------English, Complete Article -----------------

Environmental failures ’put humanity at risk’
//www.guardian.co.uk/environment/2007/oct/26/climatechange

- UN report bemoans lack of urgency by governments
- Five-year study involved more than 1,400 scientists
• Martin Hodgson
• The Guardian
• Friday October 26 2007


Image of the earth as seen from the moon.

Each person requires a third more land for his or her needs than the planet can supply, says the study. Photograph: Corbis

The future of humanity has been put at risk by a failure to address environmental problems including climate change, species extinction and a growing human population, according to a new UN report.
In a sweeping audit of the world's environmental wellbeing, the study by the UN Environment Programme (UNEP) warns that governments are still failing to recognise the seriousness of major environmental issues.

The study, involving more than 1,400 scientists, found that human consumption had far outstripped available resources. Each person on Earth now requires a third more land to supply his or her needs than the planet can supply, it finds.

Meanwhile, biodiversity is seriously threatened by the impact of human activities: 30% of amphibians, 23% of mammals and 12% of birds are under threat of extinction, while one in 10 of the world's large rivers runs dry every year before it reaches the sea.

The report - entitled Global Environment Outlook: Environment for Development - reviews progress made since a similar study in 1987 which laid the groundwork for studying environmental issues affecting the planet.

Since the 1987 study, Our Common Future, the global response "has in some cases been courageous and inspiring," said the environment programme's executive director Achim Steiner. The international community has cut ozone-damaging chemicals, negotiated the Kyoto protocol and other international environmental treaties and supported a rise in protected areas which cover 12% of the world.

"But all too often [the response] has been slow and at a pace and scale that fails to respond to or recognise the magnitude of the challenges facing the people and the environment of the planet," Mr Steiner said. "The systematic destruction of the Earth's natural and nature-based resources has reached a point where the economic viability of economies is being challenged - and where the bill we hand to our children may prove impossible to pay," he said.

Climate change is a global priority that demands political leadership, but there has been "a remarkable lack of urgency" in the response, which the report characterised as "woefully inadequate".

The report's authors say its objective is "not to present a dark and gloomy scenario, but an urgent call to action".

It warns that tackling the problems may affect the vested interests of powerful groups, and that the environment must be moved to the core of decision-making.

The report said irreversible damage to the world's climate will be likely unless greenhouse gas emissions drop to below 50% of their 1990 levels before 2050.

To reach this level, the richer countries must cut emissions by 60% to 80% by 2050 and developing countries must also make significant reductions, it says.

It addresses a number of areas where environmental degradation is threatening human welfare and the planet, including water, over-fishing and biodiversity - where the UNEP says a sixth, human-induced, extinction is under way.

Billions of people in the developing world are put at risk by a failure to remedy relatively simple problems such as waterborne disease, the study says.

The 550-page report took five years to prepare. It was researched and drafted by almost 400 scientists, whose findings were peer-reviewed by 1,000 others.

One of the report's authors, Joseph Alcamo said that race is on to determine if leaders move fast enough to save the planet. "The question for me, for us perhaps, is whether we're going to make it to a more slowly changing world or whether we're going to hit a brick wall in the Earth's system first," he said.

"Personally, I think this could be one of the most important races that humanity will ever run."

In numbers:

• 45 thousand square miles of forest are lost across the world each year
• 60% of the world's major rivers have been dammed or diverted
• 34%: the amount by which the world's population has grown in the last 20 years
• 75 thousand people a year are killed by natural disasters
• 50%: The percentage by which populations of fresh fish have declined in 20 years
• 20%: How much the energy requirements of developed countries such as the United States have increased in the period
Source: Global Environment Output 2007

----------------

Greenpeace Needs Your Help! - We need your help spread the word tell your friends about Greenpeace and its campaigns by telling them to visit the site //www.greenpeace.or.th and to Get Involved by signing up for the cyberactivist news and engaging in Greenpeace cyberactions
1: Donate Now
Help Greenpeace Take a Stand. Become a Member Today.
2: Take Action
Become a member of the Greenpeace cyberactivist community.
3: Volunteer There is a lot to be done when protecting the planet for future generations and help is always welcome.





 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2550   
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2550 17:28:19 น.   
Counter : 919 Pageviews.  


กรีนพีซหยุดการทำลายป่าพรุในอินโดนีเซียเพื่อจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก



อาสาสมัครกรีนพีซยุติการทำลายระบบนิเวศน์ป่าพรุในพื้นที่ของบริษัทน้ำมันปาล์มพีที ดูทา พาลมา ที่จังหวัดรีอาล (Riau) ในสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย อาสาสมัครกำลังสร้างเขื่อนชั่วคราว 5 แห่งในบริเวณคลองน้ำลึก 3 เมตร ที่ใช้ในการทำซุงและดึงน้ำออกจากพื้นที่ป่าพรุเพื่อเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งขัดต่อกฎหมายอินโดนีเซียในเรื่องการปกป้องป่าและยังส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมหาศาล





กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


อาสาสมัครกรีนพีซยุติการทำลายระบบนิเวศน์ป่าพรุในพื้นที่ของบริษัทน้ำมันปาล์มพีที ดูทา พาลมา ที่จังหวัดรีอาล (Riau) ในสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย อาสาสมัครกำลังสร้างเขื่อนชั่วคราว 5 แห่งในบริเวณคลองน้ำลึก 3 เมตร ที่ใช้ในการทำซุงและดึงน้ำออกจากพื้นที่ป่าพรุเพื่อเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งขัดต่อกฎหมายอินโดนีเซียในเรื่องการปกป้องป่าและยังส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งเร่งให้เกิดภาวะดลกร้อนยิ่งขึ้นไปอีก






อาสาสมัครกว่า 30 คนทำงานร่วมกับชุมชนจากหมู่บ้านใกล้เคียงในกัวลาเชนากูเพื่อสร้างเขื่อนชั่วคราวกั้นไม่ให้มีการระบายน้ำออกซึ่งจะทำให้พื้นที่บริเวณนั้นไม่เหือดแห้งและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกออกมา (1) เขื่อนชั่วคราวนี้จะช่วยป้องกันบริษัทน้ำมันปาล์มจากการเผาพื้นที่ป่าพรุอย่างผิดกฎหมาย ก่อนที่จะมีการนำไปใช้เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะเพิ่มให้เกิดภาวะโลกร้อนมากขึ้น

“บริษัทน้ำมันปาล์มนี้กำลังทำสิ่งที่ผิดกฎหมายและทำลายสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบริเวณผืนป่าพรุแห่งนี้” ฮัปโซโร ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านป่าไม้ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว “และนอกจากนี้ยังส่งผลไปสู่ภาวะโลกร้อนอีกด้วย”

จากการสืบสวนโดยค่ายพิทักษ์ป่าของกรีนพีซในจังหวัดริอาลซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณบริษัทน้ำมันปาล์ม พบว่าบริษัทพีที ดูทา พาลมาและบริษัทในเครือกำลังฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศและคำสั่งของนายกรัฐมนตรีอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องการจัดการป่าไม้ ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องปกป้องพื้นที่ป่าพรุ (2)

กรีนพีซตั้งค่ายพิทักษ์ป่าขึ้น เพื่อรับการประชุมระดับนานาชาติเรื่องพิธีสารเกียวโตที่จะจัดขึ้นที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนธันวาคมนี้ และเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าการทำลายป่านั้นมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้บรรจุเรื่องการหยุดการทำลายป่าในสนธิสัญญา เพื่อเป็นข้อผูกมัดให้ทุกคนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงาน และต้องการให้รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศหยุดการทำลายป่าพรุโดยทันทีและมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันไฟป่า

การตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณหนึ่งในห้าของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก การทำลายป่าพรุเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศอินโดนีเซียสูงขึ้นมาก (2) ซึ่งจากการสำรวจล่าสุดพบว่าประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับสามรองจากประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา (3)

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นทีมนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกและเพิ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ระบุว่าเพื่อเป็นการลดผลกระทบอันรุนแรงจากภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น จำเป็นต้องหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและหยุดการทำลายป่า

“รัฐบาลต้องหยุดการทำลายป่าและบรรจุไว้ในพิธีสารเกียวโต” ซู คอนเนอร์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านป่าไม้ กรีนพีซสากลกล่าว “การปกป้องผืนป่าที่เหลืออยู่นี้เป็นวิธีง่ายๆที่จะช่วยลดภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังช่วยปกป้องประชากรโลกและอีกหลายล้านชีวิตที่ต้องพึ่งพาป่าไม้

กรีนพีซเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่จะปกป้องมวลมนุษย์จากความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น วิกฤตการณ์น้ำ อากาศ และความอดอยากได้ โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้และผลิตพลังงาน รวมทั้งมีคำมั่นที่จะหยุดการทำลายป่าไม้ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นรัฐบาลจะต้องให้คำมั่นสัญญาที่จะตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากขึ้นในช่วงระยะที่สองของพิธีสารเกียวโต ซึ่งจะต้องมีการตกลงกันในการประชุมที่จะมีขึ้นที่บาหลี อินโดนีเซีย

หมายเหตุ

(1) องค์กรพื้นที่ชุ่มน้ำสากลประมาณว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 1,400 ล้านตันมาจากไฟป่าในบริเวณป่าพรุทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี พ.ศ. 2540 ถึงปี พ.ศ. 2549 และอีก 600 ล้านตันต่อปีปล่อยมาจากการเน่าเปื่อยของป่าพรุในช่วงระบายน้ำออก

(2) คำสั่งของนายกรัฐมนตรีในเรื่องการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ – เลขที่ 32/ 25 กรกฎาคม 2533 ซึ่งระบุไว้ว่าพื้นที่ป่าพรุที่อยู่ในบริเวณต้นน้ำและลึกกว่า 3 เมตรต้องได้รับการปกป้อง

รัฐมนตรีป่าไม้ของอินโดนีเซียตั้งเกณฑ์ในการเลือกพื้นที่ตั้งสวนน้ำมันปาล์มเลขที่ 376/1998 วันที่ 8 เมษายน 2541 ให้เป็น “เกณฑ์ในการแบ่งพื้นที่ป่าสำหรับสวนน้ำมันปาล์ม” และแถลงว่า “ไม่อนุญาตให้มีการพัฒนาพื้นที่ป่าพรุที่ลึกกว่า 2 เมตร”

ผลการสำรวจของกรีนพีซดำเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่ป่าพรุ ได้แสดงถึงพื้นที่ป่าพรุในบริษัทน้ำมันปาล์มดีที ดูทา พาลมาว่ามีความลึกมากกว่า 8 เมตร

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในการสำรวจความลึกของพื้นที่ป่าพรุของกรีนพีซที่ชื่อว่า “การสำรวจป่าพรุในดูทา พาลมา จังหวัดเรียวอู สุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย” ได้ที่ //www.greenpeace.org/international/press/reports/palmoilexpansion

(3) Climate Analysis Indicators Tool (CAIT) Version 4.0. (Washington, DC: World
Resources Institute, 2007).

ติดตามรายงานสรุปของค่ายพิทักษ์ป่าได้ที่ //www.greenpeace.org/international/press/reports/forest-defenders-camp-briefing



.........
กรีนพีซต้องการความช่วยเหลือจากคุณ! เราต้องการให้คุณช่วยบอกต่อเกี่ยวกับกรีนพีซและงานรณรงค์ขององค์กรโดยช่วยบอกให้พวกเขามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา - //www.greenpeace.or.th และมีส่วนร่วมโดยสมัครการรณรงค์ออนไลน์และร่วมในการรณรงค์ทางออนไลน์ของกรีนพีซ


1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

.........

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "








 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2550   
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2550 17:47:30 น.   
Counter : 998 Pageviews.  


4 หนุ่มวง Nice To Meet You เยี่ยมกรีนพีซพร้อมมอบเงินบริจาค



กรุงเทพฯ, ประเทศไทย — กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานกรุงเทพฯ มีโอกาสต้อนรับ 4 หนุ่มสมาชิกวง Nice to Meet You ที่มาเยี่ยมพี่ๆ กรีนพีซ พร้อมนำเงินบริจาค ที่ได้จากการขายสติกเกอร์ของเวบไซด์ Zheza.com ที่สยามสแควร์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ซึ่ง Nice to Meet You พร้อมเพื่อนศิลปิน นักร้อง ร่วม 20 คน ร่วมกับกรีนพีซ เดินรณรงค์ให้หนุ่มสาวย่านสยามสแควร์ ตระหนักในวิกฤตโลกร้อน ด้วยข้อเสนอแนะแนวทางการประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อน

.........
กรีนพีซต้องการความช่วยเหลือจากคุณ! เราต้องการให้คุณช่วยบอกต่อเกี่ยวกับกรีนพีซและงานรณรงค์ขององค์กรโดยช่วยบอกให้พวกเขามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา - //www.greenpeace.or.th และมีส่วนร่วมโดยสมัครการรณรงค์ออนไลน์และร่วมในการรณรงค์ทางออนไลน์ของกรีนพีซ


1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

.........

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้






 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2550   
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2550 17:43:28 น.   
Counter : 2979 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com