กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
5 เหตุการณ์ของกรีนพีซกับเฟสบุ๊คที่น่าจดจำ

'Unfriend Coal' Facebook in Dublin. 04/12/2011 © Kim Haughton / Greenpeace

เฟสบุ๊ค เครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยม มีอายุครบรอบสิบปีแล้วเมื่อวานนี้ (4 กุมภาพันธ์) แต่คุณอาจสงสัยว่าแล้วเกี่ยวอะไรกับกรีนพีซล่ะ?

ไม่ว่าคุณจะชอบเล่นเฟสบุ๊คมากน้อยแค่ไหน แต่เฟสบุ๊คก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนที่สำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับกิจกรรมรณรงค์ออนไลน์ เฟสบุ๊คมีบทบาทสำคัญ และมีส่วนสร้างความสำเร็จให้กับงานรณรงค์หลายงานของเรา เครือข่ายสังคมออนไลน์กำลังเปลี่ยนอำนาจความเป็นเจ้าของไปยังผู้ใช้มากขึ้น จนบริษัทและรัฐบาลต่างๆ ไม่สามารถควบคุมสิ่งที่ผู้คนถ่ายทอดออกมาในพื้นที่สาธารณะได้

ฉันถามเพื่อนร่วมงานว่างานรณรงค์ใดที่น่าจดจำมากที่สุดที่เราเคยเผยแพร่บนเฟสบุ๊ค และนี่คือ 5 อันดับที่ดีที่สุด

เฟสบุ๊คเป็นเพื่อนกับพลังงานหมุนเวียนและการทำสถิติโลกกินเนสส์

guinness world record certificateคอมเมนท์บนเฟสบุ๊คมากที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงน่ะเหรอ เราตั้งใจไว้ว่าเราจะได้รับ 50,000 คอมเมนท์ ภายในหนึ่งวัน - และเราก็ทำได้ (ได้รับ 80,000คอมเมนท์) และยังมีใบรับรองเป็นการพิสูจน์อีกด้วย!

สถิติโลกกินเนสส์นี้ไม่ได้ทำสนุกๆ เท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งของ งานรณรงค์ระยะยาว ที่พยายามโน้มน้าวให้เฟสบุ๊คแสดงความมุ่งมั่นเริ่มใช้พลังงานเซิร์ฟเวอร์จากพลังงานหมุนเวียน ในที่สุดบริษัทก็ได้ประกาศ เป้าหมายในการใช้พลังงานหมุนเวียน เมื่อปีพ.ศ. 2554

หยุด โคคา-โคลา จากการทำลายชายหาดออสเตรเลีย

ปีที่แล้ว โคคา-โคลา พยายามหยุดโครงการรีไซเคิลในออสเตรเลีย โดยการรีไซเคิลนั้นเป็นระบบที่ทำได้ง่ายๆ (เพียงแค่คืนขวดก็ได้รับเงินคืน) ซึ่งยังเป็นการลดปริมาณขยะพลาสติกบนชายหาดออสเตรเลีย

ผู้คนหลายพัน (รวมถึงผู้สนับสนุนกรีนพีซจำนวนมาก) ไปยังหน้าเฟสบุ๊คของโคคา-โคลา ออสเตรเลีย เพื่อเรียกร้องให้หยุดยั้งแผนการนี้ รวมถึงโพสต์โฆษณาโทรทัศน์ที่ถูกห้ามออกอากาศเนี่องจากโจมตีบริษัท แต่ยังไม่จบเพียงเท่านั้น เราคงยังรณรงค์เรื่องนี้อยู่ โดยคุณสามารถ ร่วมเรียกร้องได้ที่นี่

โฟล์กสวาเกน และสภาพภูมิอากาศ

งานรณรงค์ที่ดีที่สุดบ้างก็มาจากอาสาสมัคร และงานนี้เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบที่สุด

โฟล์กสวาเกนเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ขัดขวางกฎหมายใหม่ในสหภาพยุโรปที่จะช่วยสภาพภูมิอากาศด้วยการลดการปล่อยควันคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ เราได้ดำเนินการรณรงค์ชักชวนให้โฟล์กสวาเกนเลือกเดินทางที่ถูกต้องเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา  เมื่อมีอาสาสมัครคนหนึ่งในสหราชอาณาจักรพบเห็นโพสต์บนเฟสบุ๊คของโฟล์กสวาเกนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2555 ว่า “อยากให้เราทำอะไรในปีใหม่นี้”

กลายเป็นการเปิดช่องทางให้ผู้คนหลายร้อยเข้าไปถามไถ่โฟล์กสวาเกนให้เปลี่ยนตัวเองเสียใหม่ และหยุดยั้งการขัดขวางกฎหมายที่จะช่วยเรื่องสภาพภูมิอากาศ

ล้างสารพิษออกจากแฟชั่น

แบรนด์แฟชั่นนั้นโด่งดังได้ด้วยภาพลักษณ์ ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ห่วงใยและผู้บริโภคได้ใช้ช่องทางสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เฟสบุ๊ค ในการเรียกร้องให้แบรนด์ต่างๆ ขจัดสารเคมีอันตราย ออกจากผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต โดยผลที่ออกมานั้นเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างดีว่าสำเร็จได้ด้วยดี ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เบอร์เบอร์รีได้กลายเป็นแบรนด์ที่ 19 ที่แสดงเจตนารมณ์ล้างสารพิษ

คิทแคท

หากอยากให้เราระบุถึงช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งที่โลกธุรกิจเริ่มเข้าใจว่าพวกเขาไม่สามารถเพิกเฉยสิ่งที่เกิดขึ้นบนเฟสบุ๊คได้ นี่คงเป็นช่วงเวลานั้น

เมื่อปี 2553 หลังจากที่งานวิจัยของกรีนพีซได้เผยถึงผลิตภัณฑ์บางอย่างของเนสเล่ รวมถึงชอคโกแลตคิทแคท นั้นใช้น้ำมันปาล์มที่ปลูกในพื้นที่ทำลายป่าไม้ ผู้คนหลายพันคนก็ต่างเข้าไปที่หน้าเฟสบุ๊คของเนสเล่ เพื่อร้องขอคำตอบจากทางบริษัท อย่างไรก็ตาม คำตอบของเนสเล่เอง ได้กระตุ้นความสนใจไปทั่วโลก

จากนั้นเรื่องนี้ได้กลายเป็นหายนะทางสื่อสังคมออนไลน์ของบริษัท จนเนสเล่ได้ออกมา แสดงความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแหล่งจัดซื้อน้ำมันปาล์ม

ถึงแม้จะมีสื่อสังคมออนไลน์ใหม่ๆ เกิดขึ้นแทบทุกวัน แต่เฟสบุ๊คก็ยังคงได้รับความนิยมสูงสุด อย่าลืมกดไลค์ เพจเฟสบุ๊คของเราเพื่อติดตามข่าวสารล่าสุดและงานรณรงค์ของกรีนพีซนะคะ

ที่มา //www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/5-greenpeace-facebook-moments-to-remember/blog/48129/





Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2557 10:41:52 น. 0 comments
Counter : 1059 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com