กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
คงไม่มีใครอยากให้มหาสมุทรกลายเป็น “แพขยะ”

 

ลองจินตาการถึงถุงช้อปปิ้งของเราที่เต็มไปด้วยขวดน้ำ กระป๋องน้ำอัดลม แปรงสีฟัน สบู่ แชมพู และกล่องอาหารสำเร็จรูป ทีนี้ลองจินตาการว่าของทุกสิ่งที่เราซื้อมาเพื่อบริโภคนั้นหลังจากเราใช้แล้วจะถูกทิ้งลงสู่มหาสมุทร และหากเราบอกคุณว่าประเทศไทยติดอันดับที่ 6 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่มหาสมุทรมากที่สุดในโลก คุณจะเชื่อไหม?

เมื่อปี พ.ศ.2553 ข้อมูลเผยออกมาว่า ประเทศต่างๆ ที่ติดชายฝั่งทะเลได้ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่มหาสมุทรมากถึง 8 ล้านตัน ขยะพลาสติกเหล่านี้ลอยไปเกาะกลุ่มรวมตัวกันเป็น “แพขยะ” ในมหาสมุทร

 

 

นักชีววิทยาทางทะเลทราบดีว่า ขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลที่ลอยอยู่บนผิวทะเลนั้นเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในมหาสมุทรอย่างใหญ่หลวง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือแพขยะขนาดยักษ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งกินเนื้อที่อย่างน้อยก็สองเท่าของพื้นที่รัฐเท็กซัส  หรือใกล้เคียงกับพื้นที่ของประเทศไทย มลพิษนี้เป็นภัยต่อสัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่แพลงก์ตอนตัวเล็ก ๆ ไปจนถึงสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอย่างวาฬ และไม่ใช่แค่สัตว์ทะเลเท่านั้น นกก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่เสี่ยงอันตรายด้วย

หากคิดว่า โลกของเรามีแพขยะขนาดเกือบเท่าประเทศประเทศหนึ่งนั้นถือเป็นเรื่องร้ายแรงแล้ว ยังมีเรื่องร้ายแรงกว่านี้อีก เพราะขยะพลาสติกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า ในอีก 100 ปีข้างหน้า หมายความว่า ถ้าเราไม่เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค แพขยะก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นอีก เว้นแต่ว่า เราจะพบวิธีการจัดการขยะที่ดีกว่าเดิม

แล้วขยะพลาสติกเหล่านี้มีจำนวนมหาศาลขนาดไหน?

ผลวิจัยล่าสุดที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาแนวใหม่ ที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Science  นั้น เป็นครั้งแรกที่งานวิจัยเผยให้เห็นถึงความพยายามในการคำนวณจำนวนขยะพลาสติกที่ไหลลงสู่มหาสมุทรในทุก ๆ ปี

 

อันดับในภาพสะท้อนให้เห็นถึงปริมาณขยะพลาสติกทั้งหมดที่ไหลลงสู่มหาสมุทรเป็นประจำทุกปี
 

เพื่ออธิบายถึงปริมาณขยะกว่า 8 ล้านตันให้เข้าใจง่ายนั้น ผู้นำการศึกษา เจนน่า แจมเบ็ค วิศวกรสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจอร์เจีย หัวหน้าทีมวิจัยได้เปรียบเปรยว่า ขยะพลาสติกทั้งหมดมีปริมาณมากเท่ากับเวลาที่เราเดินเท้ารอบโลกแล้วทิ้งถุงพลาสติกไว้ 5 ถุง ในแต่ละก้าว

“และในปี พ.ศ.2568 ถุงพลาสติกที่ถูกทิ้ง 5 ใบในแต่ละก้าวนั้น จะเพิ่มเป็น 10 ถุง” ซึ่งก็หมายถึง ถุงขยะพลาสติกจะเพิ่มจาก 8ล้านตันต่อปี เป็น 155 ล้านตันต่อปี หากแต่ละประเทศยังมีการจัดการขยะในแบบเดิม

การใช้พลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการอุปโภคบริโภคนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น  มีการผลิตเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่มีการนำพลาสติกเข้ามาใช้ครั้งแรกและถูกใช้อย่างกว้างขวางตั้งแต่ 50 ปีที่แล้ว ยกตัวอย่างในปี พ.ศ.2555 อุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกใช้พลาสติกไปถึง 288 ล้านตัน

เพื่อการแก้ปัญหาขยะล้นทะเลได้อย่างถูกจุด ผลวิจัยล่าสุดนี้ยังได้กล่าวถึงประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่มหาสมุทรอีกด้วย ซึ่งทำการสำรวจจาก 192 ประเทศติดชายฝั่งทะเล โดยสาธารณรัฐประชาชนจีน คือประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่มหาสมุทรมากที่สุดในโลก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาปล่อยขยะลงสู่ทะเลเป็นอันดับที่ 20 ของโลก ทั้งที่สหรัฐฯเป็นประเทศที่มีประชากรตามชายฝั่งทะเลหนาแน่น นอกจากนี้ยังเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ จึงทำให้สหรัฐฯมีผู้บริโภคผลิตภัณฑ์กลุ่มใหญ่ (ดูได้จากวิดีโอ  Are You Eating Plastic for Dinner ? )ทั้งนี้ยังมี 11 ประเทศจากทวีปเอเชีย ประเทศตุรกี  บราซิล และอีก 5 ประเทศจากทวีปแอฟริกา รวมอยู่ด้วย

แต่เป็นที่น่าตกใจสำหรับประเทศที่มีประชากรเพียง 65 ล้านคนอย่างประเทศไทยกลับติดอันดับที่ 6 ของประเทศที่ปล่อยขยะพลาสติกลงสู่มหาสมุทร แซงหน้าประเทศที่มีประชากรหนาแน่นกว่า 1,000 ล้านคนอย่างอินเดีย (อินเดียอยู่ในอันดับ 12)

 

กราฟจากทีมวิจัยของ เจนน่า เจมแบ็ค แสดงอันดับประเทศติดชายฝั่งทะเลที่ทิ้งขยะลงสู่ทะเล 20 อันดับแรก
ขอบคุณภาพจาก //www.motherjones.com/ 
 

เราควรทำอย่างไรเพื่อช่วยท้องทะเล?

ริชาร์ด ทอมป์สัน นักชีววิทยาใต้ทะเล มหาวิทยาลัยพลีมัธ แห่งสหราชอาณาจักรกล่าวไว้ว่า “สิ่งที่เราควรทำในตอนนี้คือ อุดช่องโหว่ของปัญหา”

ถูกต้อง! เราควรอุดช่องโหว่ของปัญหานี้เสีย เพราะหากเราไม่เริ่มช่วยกันแก้ไขปัญหาในเร็ววัน ต่อไปเราจะพบพลาสติกอยู่ในทุก ๆ ที่ แม้ในทะเลลึก กระทั่งถูกฝังอยู่ในธารน้ำแข็งของทวีปอาร์กติกเลยก็มี แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดก็คือสัตว์ที่อยู่ใกล้บริเวณแพขยะ (ไม่ว่าจะเป็นแพขยะที่ใดก็ตาม) มักจะเข้าใจว่าพลาสติกนี้เป็นอาหารและเผลอกินเข้าไป ขณะนี้มีสัตว์ทะเลกว่า 700 ชนิดที่ตกอยู่ในอันตรายเพราะการกินพลาสติก และคงจะมีสัตว์ที่ตกอยู่ในอันตรายมากกว่า 700 ชนิดแน่นอนหากเราเพิกเฉยและปล่อยให้ขยะพลาสติกล้นโลก

นอกจากนี้ หากสัตว์น้ำบริโภคชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กที่อาจมีสารพิษเข้าไป สารพิษนั้นก็จะตกค้างและอยู่ในตัวของห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำ ในไม่ช้า หากสัตว์น้ำนั้นถูกจับขึ้นมาเป็นอาหารของเรา อาจจะเรียกได้ว่าเราเป็นผู้กินขยะที่เราทิ้งลงไปเองก็ไม่ผิดนัก

 
แมวน้ำติดอยู่ในเศษขยะส่วนหนึ่งของแพขยะในทะเลแปซิฟิก ขอบคุณภาพจาก //www.rurbanlife.net/
 
หากประเทศไทยมุ่งหวังจะแก้ไขปัญหาโดยการจัดการขยะทั้งประเทศโดยไม่ปล่อยปละละเลยอย่างที่ผ่านมา เราอาจจะต้องศึกษาจากการจัดการขยะของประเทศญี่ปุ่นที่มีระบบจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการศึกษาในที่นี้ก็มิใช่ศึกษาแต่เพียงระบบการจัดการขยะเท่านั้น แต่ต้องศึกษาลึกลงไปถึงกฎหมายเกี่ยวกับขยะ รวมไปถึงศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะของชาวญี่ปุ่น  

อย่างไรก็ดี ฟากประชาชนร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องยาก แม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นก้าวเล็ก ๆ ในการลดขยะที่จะถูกปล่อยลงสู่มหาสมุทร แต่ตัวเราเองก็สามารถช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในชีวิตประจำวัน  ยกตัวอย่างเช่น เปลี่ยนตัวเองด้วยการใช้ถุงผ้า  ปฏิเสธการใช้โฟม และถุงพลาสติกที่ไม่จำเป็น หรือการนำกระป๋อง ขวดพลาสติกมาประยุกต์ใช้ เพื่อนำมารีไซเคิลใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเดิม หากเราทำได้ ประเทศไทยก็คงจะลดปัญหาปริมาณขยะล้นเมืองได้ด้วย และช่วยให้มหาสมุทรสวยงามขึ้นอีกมาก

มาร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มจากตัวคุณ ช่วยกันลดการสร้างขยะคนละชิ้น ล้านคนก็เท่ากับล้านชิ้น เพียงเท่านี้เพื่อรักษาความสวยงามของท้องทะเลสีน้ำเงิน และสัตว์นานาชนิด ก่อนที่แพขยะจะดูดกลืนระบบนิเวศของมหาสมุทรไป

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก www.nationalgeographic.com

 

Blogpost โดย Supang Chatuchinda แปลและเรียบเรียง -- กุมภาพันธ์ 19, 2558 ที่ 15:43

 

ที่มา : //www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/52153/




Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2558 1:54:19 น. 0 comments
Counter : 1580 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com