กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
คณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ประวัติศาสตร์หน้าใหม่แห่งการต่อสู้ 4 ปี

คณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ประวัติศาสตร์หน้าใหม่แห่งการต่อสู้ 4 ปี ของเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน

บนเส้นทางการต่อสู้ 4 ปี เพื่อคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ได้ปักธงแห่งความสำเร็จชิ้นสำคัญ หลังจากการต่อสู้ด้วยการ "อดอาหาร" 14 วัน เมื่อช่วงกลางเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา จากถนนหน้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มาสู่หน้าประตูทำเนียบ หลังจากนั้นเป็นเวลา 6 เดือนเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน รวมถึงชาวไทยและนักท่องเที่ยวที่ร่วมกันเป็นพลังคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ ก็ได้รับฟังข่าวดี เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 393/2558 แต่งตั้ง “คณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่”  ด้วยเหตุผลว่า เป็นโครงการที่มีผลกระทบในวงกว้าง สมควรมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลอันนำไปสู่การดำเนินโครงการที่มีความสมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2558

“คณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่”  คือ 1 ใน 3 ข้อเรียกร้องของเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน โดยข้อเรียกร้องทั้ง 3 ได้รับคำตอบจากรัฐบาลดังต่อไปนี้

ข้อเรียกร้องที่ 1. ขอให้มีการชะลอกระบวนการพิจารณารายงาน EIA และ EHIA ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว

คำตอบ: ท่านนายกรัฐมนตรี มีเจตจำนงว่า “ต้องชะลอกระบวนการพิจาณารายงานดังกล่าว จนกว่าจะมีข้อสรุปจากการทำงานของคณะกรรมการแผนพลังงานหมุนเวียนกระบี่ ตามข้อที่ 3”

ข้อเรียกร้องที่ 2. ขอให้มีการชะลอการประมูลโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้วออกไป จนกว่าจะได้ข้อสรุปของกระบวนการพิจารณา EHIA และ EIA ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และได้รับการเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรี

คำตอบ: ทางที่ปรึกษาของท่านนายกรัฐมนตรียืนยันชัดเจนถึงเจตจำนงของท่านนายกฯว่า “หากกระบวนการทั้งหมดของ EHIA และ EIA ไม่เสร็จสิ้นและมีผลบังคับตามกฎหมาย จะดำเนินการเปิดประมูลโครงการฯดังกล่าวไม่ได้อย่างเด็ดขาด” ทั้งนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยังเปิดประมูลตามแผนไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา ด้วยเงื่อนไขที่ว่า การเปิดประมูลครั้งนี้ จะไม่มีการลงนามสัญญาและไม่มีผลผูกพันต่อประเทศไทย จนกว่ากระบวนการการพิจารณาอนุมัติโครงการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นและเป็นที่ยุติตามข้อที่ 3

ข้อเรียกร้องที่ 3. การจัดตั้งคณะกรรมการพลังงานหมุนเวียนกระบี่ เพื่อพิจารณาศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อผลักดันให้จังหวัดกระบี่ก้าวสู่ การเป็นจังหวัดที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100%

คำตอบ: ท่านนายกรัฐมนตรี มีเจตจำนง ในการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวด้วยตนเอง โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการฯ จากทุกภาคส่วนขึ้นมาให้เร็วที่สุด

ขณะนี้กระบวนการการจัดตั้งคณะกรรมการตามข้อที่ 3 ซึ่งมาจากตัวแทนของประชาชนในพื้นที่และนักวิชาการ ตัวแทนจากภาครัฐ และตัวแทนจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ฯพณฯนายกรัฐมนตรีลงนามได้แต่งตั้งรายชื่อคณะกรรมการ 3 ฝ่ายตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 393/2558 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ คำสั่ง ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2558

หลังจากนี้การต่อสู้ครั้งสำคัญในการยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ที่เรายังคงต้องติดตามกันต่อไป จนกว่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ที่จะมาคุกคามความสวยงามและอุดมสมบูรณ์ของเมืองท่องเที่ยวแห่งอันดามันนี้ จะได้รับการยกเลิกอย่างถาวร


ที่มา: www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/4/blog/55248




Create Date : 11 มกราคม 2559
Last Update : 11 มกราคม 2559 11:08:45 น. 0 comments
Counter : 967 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com