กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ดาไน: เรื่องราวของหมู่บ้านพลังงานแสงอาทิตย์



เขียน โดย Pujarini Sen ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ อินเดีย

เชื่อหรือไม่ว่า ปี 2557 หรือเมื่อสองปีที่ผ่านมานี้ เป็นปีประชาชนชาวดาไน หมู่บ้านเล็กๆใกล้พุทธคยาทางตะวันออกของรัฐบิฮาห์ประเทศอินเดียทั้ง 2,000 คน สามารถเข้าถึงไฟฟ้าเป็นครั้งแรกในรอบสามสิบปี สำหรับพวกเราที่อยู่ในยุคดิจิตอล เพียงแค่ไฟฟ้าดับชั่วโมงเดียวก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ทั้งวัน เราอาจจะแทบนึกไม่ออกเลยว่าการดำเนินชีวิตโดยปราศจากแสงสว่างจากหลอดไฟจะเป็นอย่างไร

งานรณรงค์ของกรีนพีซเพื่อแก้ไขปัญหาในอินเดียดำเนินการมาหนึ่งทศวรรษแล้ว เริ่มจากงานรณรงค์ “Choose Positive Energy” ที่โอริสสา ปี พ.ศ. 2548 จนถึง “Switch on the Sun” ที่เดลีในปัจจุบัน พวกเราเริ่มงานที่บิฮาห์ในปี พ.ศ. 2553 ร่วมกับเออร์จา กรานติ ยาตรา โดยผลักดันให้พรรคการเมืองในบิฮาห์มุ่งหาทางออกโดยการกระจายศูนย์พลังงานหมุนเวียน เพื่อให้ประชาชนในรัฐบิฮาห์มีอำนาจเข้าถึงพลังงานในระดับเดียวกันกับประชาชนในส่วนอื่นของประเทศ

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2557 เป็นวันที่เมืองดาไนเริ่มมีชีวิต เป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ และเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่จะมุ่งสู่วิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ในการเข้าถึงพลังงานแบบพึ่งตนเองสำหรับรัฐและประเทศอินเดีย ฉันอยู่ที่นั่นตอนที่เปิดสายส่งไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน มันเป็นนาทีประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนชีวิตผู้คนจากความมืดมิดเป็นแสงสว่าง ในชนบทอย่างนั้น การไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้ามักเกี่ยวโยงไปกับการขาดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานด้วย เช่น การสุขาภิบาลและการดูแลสุขภาพซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข มีการศึกษาที่ระบุว่าสตรีในพื้นที่เหล่านั้นต้องเดินหลายไมล์เพื่อไปตักน้ำหรือหาเชื้อเพลิง หรือแม้แต่ต้องขับถ่ายโดยไม่มีห้องน้ำใช้ ความยากลำบากในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานนำไปสู่การล่วงละเมิดหรือแย่กว่านั้น

ในทางตรงกันข้าม ชีวิตของสตรีที่ดาไนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเมื่อมีสายส่งไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้ามา ไม่เพียงแต่การมีพลังงานใช้เปรียบเสมือนตัวเร่งการขับเคลื่อนการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจเท่านั้น ทว่าการเปิดไฟให้หมู่บ้านอย่างดาไนนั้นได้สร้างโอกาสให้สตรีและเด็กผู้หญิงเข้าถึงสังคมและพื้นที่ส่วนตัวยามค่ำคืนมากขึ้น เด็กๆสามารถอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนได้ในตอนกลางคืน และผู้หญิงก็ไม่ต้องรีบร้อนเตรียมข้าวปลาอาหารให้เสร็จก่อนตะวันตกดิน

ประชาชนสามารถใช้ถนนได้ในตอนกลางคืน ร้านค้าแผงลอยผุดขึ้นใต้แสงไฟ ทำให้ชุมชนปลอดภัยยิ่งขึ้น ปัจจุบันดาไนมีถนนที่ติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กว่า 60 เส้นทางและให้แสงสว่างหมู่บ้านเล็กๆสี่หมู่บ้าน ทำให้เพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยและเพิ่มผลผลิตของหมู่บ้านอีกด้วย

ไม่นานหลังจากพิธีเปิดใช้งานเมื่อปี 2558 มุขมนตรีนิติช กุมาร์ ได้มาเยี่ยมชมหมู่บ้าน และยอมรับว่าดาไนโมเดล คือ อนาคตของการจัดสรรพลังงาน ที่สามารถจัดหาพลังงานให้แก่ชาวบ้าน 2,000 คนในปัจจุบันและต่อประชากรทั้งโลกที่กำลังจับตาดูอยู่ การได้รับการยอมรับโดยผู้นำของรัฐเป็นช่วงเวลาแห่งความภาคภูมิใจที่สุดของชาวหมู่บ้านดาไน กว่าสามสิบปีที่ผ่านมา สายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านหมู่บ้านโดยไม่จุดประกายแสงสว่างให้กับบ้านในหมู่บ้านแม้แต่หลังเดียว เรื่องแบบเดียวกันนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับหมู่บ้านส่วนใหญ่ในบิฮาร์ แนวคิดการใช้กริดแบบรวมศูนย์ดูสมบูรณ์แบบถ้าคุณอยู่ในเมืองอย่างเดลีหรือมุมไบ ทว่าความเป็นจริงจะปรากฎก็ต่อเมื่อคุณเหยียบย่างเข้าไปยังหมู่บ้านห่างไกลที่จะตกอยู่ในความมืดมิดยามสนธยา

ปัญหาหลักก็คือโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าขนาดใหญ่แบบรวมศูนย์และการจัดลำดับความสำคัญที่ผิดพลาดในการจ่ายกระแสไฟฟ้ามาสิ้นสุดที่หมู่บ้านเล็กๆอย่างดาไน ซึ่งแม้ว่าจะมีศักยภาพที่เพิ่มขึ้นจากโซล่าฟาร์มขนาดใหญ่แบบรวมศูนย์ ก็ไม่อาจแก้ปัญหาได้ ประสิทธิภาพของแผงเซลแสงอาทิตย์บวกเข้ากับประสิทธิภาพของระบบสายส่งที่ย่ำแย่จะส่งผลต่อคุณภาพของไฟฟ้าและส่งผลถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด การที่หมู่บ้านที่อยู่ไกลออกไปจะเข้าถึงไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของระบบโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าขนาดเล็กจากพลังงานหมุนเวียนเท่านั้น

ฉันหวังว่าจะมีเรื่องราวความสำเร็จอย่างหมู่บ้านดาไนที่ผู้คนและพลังงานเชื่อมโยงถึงกันเพิ่มขึ้น และมีรัฐบาลที่มองภาพวิถีทางที่ยั่งยืนมากขึ้นให้กับอนาคตของเรา ดังเช่นถนนหนทางที่ดาไนสว่างไสวด้วยแสงไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ ฉันอยากจะเห็นมุมมืดในเดลีและอีกกว่าร้อยเมืองที่ถูกนำเสนอเป็นเมืองทันสมัย หรือ “Smart Cities” ที่มีแสงสว่างตามถนนจากหลอดไฟพลังงานแสงอาทิตย์ และเป็นเมืองที่ปลอดภัยขึ้นและทันสมัยยิ่งขึ้น


Pujarini Sen เป็นผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ อินเดีย


แปลโดย กานต์วลี ปรินรัมย์ อาสาสมัครกรีนพีซในโครงการแปลเปลี่ยนโลก

ที่มา : Greenpeace Thailand




Create Date : 20 มิถุนายน 2559
Last Update : 20 มิถุนายน 2559 13:26:48 น. 1 comments
Counter : 1011 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: peepoobakub วันที่: 15 มีนาคม 2560 เวลา:16:29:40 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com