กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ความคืบหน้าพืชจีเอ็มโอไทย กับไพ่ใบสุดท้ายของบริษัทเมล็ดพันธุ์

หลังจากที่ “คณะทำงานศึกษาแนวทางการนำสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมและผลิตภัณฑ์มาใช้ในประเทศไทย” ได้มีมติร่วมกันในเรื่องพืชจีเอ็มโอว่าให้กลับไปใช้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2550 แต่เราจะวางใจได้เพียงไรตราบใดที่พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพยังคงเป็นไพ่ใบสุดท้ายของบริษัทเมล็ดพันธุ์

จากมติดังกล่าวของครม.ทำให้พืช GMO หรือสิ่งมีชีวิตตัดต่อพันธุกรรม ยังคงอยู่ภายใต้เงื่อนไขการทดลองภาคสนามที่เข้มงวด เช่น ต้องทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ต้องทดลองในสถานที่ของราชการเท่านั้น ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ องค์กรสาธารณะประโยชน์ และนักวิชาการ นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรีต้องเป็นผู้อนุมัติให้มีการทดลองเป็นรายกรณีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้บริษัทเจ้าของสิทธิบัตรเมล็ดพันธุ์ GMO และผู้ได้รับผลประโยชน์จึงเดินหน้าเต็มกำลังในการผลักดันพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพเพื่อเป็นกฎหมายบังคับใช้แทน ซึ่งพ.ร.บ.ความปลอดภัยนี้ถือได้ว่าเป็นไพ่ใบสุดท้ายของผู้สนับสนุนพืช GMO

เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 รศ.ดร.จิราภรณ์ ลิ้มปานานนท์ ดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล และนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ตัวแทนคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน และมูลนิธิชีววิถี ได้แถลงข่าวในการประชุมเพื่อวิเคราะห์ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชน สิ่งแวดล้อม และภาคเศรษฐกิจและสังคมดังต่อไปนี้

หมวดความปลอดภัยทางชีวภาพ

  • การขาดความมีส่วนร่วมของภาคประชาชน – ในมาตรา 6 ได้กำหนดให้คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพมาจากภาครัฐ 11 คน (ปลัดกระทรวงและอธิบดี) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 10 คนที่แต่งตั้งโดยรัฐมนตรี ซึ่งมาตรานี้เปิดช่องให้รัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในจำนวนเท่าใดก็ได้ เพื่อความโปร่งใส พ.ร.บ.ฯ ควรเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพคัดเลือกตัวแทนกันเอง นอกจากนั้นควรกำหนดจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้ชัดเจน

  • ควรกำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทที่มีผลประโยชน์จาก GMO

การควบคุมทั่วไป

  • มาตรา 17 ควรประกาศในลักษณะห้ามมิให้มีการผลิตหรือนำเข้าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมทุกชนิด เว้นแต่จะได้ประกาศยกเว้นไว้แทนร่างฉบับปัจจุบันซึ่งระบุว่า “มาตรา 17 ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่ห้ามผลิตหรือนำเข้า” เพราะตามมาตรา 17 นี้พ.ร.บ.ฯ จะคุ้มครองเฉพาะพืชที่ถูกประกาศ ซึ่งจะเปิดช่องให้การกับการผลิตและนำเข้าพืช GMO นอกรายการ

การขึ้นบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม

  • ควรกำหนดให้มีตัวแทนภาคประชาชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าไปเป็นคณะกรรมการ

  • การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นกรณีคณะกรรมการผู้ชำนาญการเห็นชอบรายงานประเมินความเสี่ยง (มาตรา 43) โดยผู้ยื่นคำขอขึ้นบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมเอง อาจเกิดปัญหาในการจัดการรับฟังความคิดเห็นและทำให้ไม่ได้รับทราบความเห็นที่แท้จริง จึงควรให้หน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นกลางอื่นเป็นผู้จัดการรับฟังความคิดเห็น

  • ผลการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 43 จะถูกนำไปประกอบการพิจารณาโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบเท่านั้น (มาตรา 44) และหน่วยงานผู้รับผิดชอบไม่จำเป็นต้องรับฟังหรือปฏิบัติตามผลการรับฟังความคิดเห็นก็ได้

สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่อยู่ในบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม

  • การพิจารณาความปลอดภัย หรืออันตรายที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมใช้เฉพาะข้อมูลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน และต้องเกิดความเสียหายแล้วเท่านั้น (มาตรา 35, 46) ถือว่าขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายแคบเกินไปทั้งที่ Biosafety Protocol อนุญาตให้ใช้ดุลพินิจตามสมควรได้แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสามารถใช้เหตุผลด้านสังคมเศรษฐกิจ (Socio-Economic consideration) ได้ (Biosafety Protocol Act, 11.8, 26)

  • ร่าง พ.ร.บ. นี้ใช้บัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมเป็นกลไกในการบริหารจัดการ โดยหากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่อยู่ในบัญชีปลดปล่อยฯ ก่อให้เกิดความเสียหาย ร่าง พ.ร.บ. นี้ไม่ได้กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยกำหนดให้ต้องมีการรับผิดชอบเฉพาะกรณีความเสียหายเกิดจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่ไม่อยู่ในบัญชีปลดปล่อยเท่านั้น (มาตรา 52) ซึ่งรูปแบบการกำหนดแยกประเภทสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่อยู่และไม่อยู่ในบัญชีปลดปล่อยนั้นเป็นรูปแบบที่ไม่ปรากฏใน Biosafety Protocol หรือ Nagoya-Kuala lumper Supplement Protocol ดังนั้นการไม่กำหนดให้ต้องมีการรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่อยู่ในบัญชีปลดปล่อยจึงอาจขัดกับวัตถุประสงค์ของ Biosafety Protocol หรือ Nagoya-Kuala lumper Supplement Protocol

ด้วยสภาวะทางการเมืองในปัจจุบันเป็นการยากที่เราจะทราบว่า พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ จะประกาศออกมาเมื่อไร แต่จากฉบับร่างที่ถูกนำมาเปิดเผยในงานแถลงข่าวก็พอจะเห็นได้ชัดเจนว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้มีช่องโหว่ที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติเป็นอย่างมาก ถ้าไม่ต้องการให้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกมาโดยขาดการรับรู้และมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เช่นเดียวกันกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ โปรดช่วยกันแชร์เรื่องนี้ออกไปให้เป็นกระแสสังคมเพื่อรักษาอธิปไตยบนผืนดินให้ลูกหลานของเราในวันหน้า


รู้ทัน GMO

ในช่วงนี้มีข่าวที่ไม่ดีนักเกี่ยวกับแอปเปิลที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา เรื่องนี้ผู้ บริโภคพอจะหลีกเลี่ยงได้ไม่ยากด้วยการหันมาบริโภคผลผลิตในประเทศซึ่ง นอกจากจะปลอดภัยจากความเสี่ยงแล้วยังเป็นการลดการก่อมลภาวะจาก การขนส่งด้วย อย่างไรก็ตามนอกจากแหล่งกำเนิดของผลผลิตแล้วกระบวน การผลิตก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคควรจะรับรู้ซึ่งข้อมูลนี้จะแสดงอยู่บนสติก เกอร์เล็ก ๆ ที่ติดอยู่บนฉลากนั่นเอง

International Federation for Produce Standard ได้กำหนด ตัวเลขบนฉลากสำหรับการคำนวณราคา ณ จุดขาย (Price Look-Up) ซึ่ง ตัวเลขบนฉลากนี้นอกจากจะใช้ในการคิดราคาแล้วยังบอกถึงระบบการเพาะ ปลูกของผลผลิตนั้น ๆ ได้อีกด้วย

  • หากบนฉลากมีตัวเลขอยู่สี่หลัก หรือห้าหลักที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข “0” หมายความว่าผลผลิตนั้นปลูกขึ้นในระบบทั่วไปซึ่งจะใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง เช่น กล้วยที่ปลูกโดยใช้สารเคมีจะติดฉลากด้วยหมายเลข 4011

  • หากบนฉลากมีตัวเลขอยู่ห้าหลักและขึ้นต้นด้วยหมายเลข “8” หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นพืชที่ถูกตัดต่อพันธุกรรม ดังนั้นกล้วย GMO จะติดฉลากด้วยหมายเลข 84011

  • หากบนฉลากมีตัวเลขอยู่ห้าหลักและขึ้นต้นด้วยหมายเลข “9” หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นพืชปลูกในระบบอินทรีย์ ดังนั้นกล้วยอินทรีย์จะติดฉลากด้วยหมายเลข 94011

อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม่มีการบังคับใช้ที่เข้มงวดในการติดหมายเลข “8” หรือ “9” ผู้ค้าส่วนมากจึงหลีกเลี่ยงการติดหมายเลข “8” เพื่อให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นผลผลิต “ทั่วไป”

และที่น่ากลัวมากขึ้นไปอีกคือ ในปี 2557 International Federation for Produce Standard ได้กำหนดหมายเลขนำหน้าเพียงสองหมายเลขคือ หมายเลข “0” และหมายเลข “9” โดยไม่ได้ระบุหมายเลข “8” ไว้ในคู่มือผู้ใช้งานอีกต่อไป นี่หมายความว่าผู้บริโภคจะไม่สามารถทราบได้อีกต่อไปว่าพวกเขากำลังบริโภคอะไรอยู่


เรื่องราว - มกราคม 27, 2558

ที่มา : //www.greenpeace.org/seasia/th/news/Thai-gmo-and-last-card/




Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2558 13:10:32 น. 0 comments
Counter : 1210 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com