กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
กรีนพีซพบสารเคมีอันตรายในโทรศัพท์มือถือของบริษัทแอปเปิ้ล

กรีนพีซเผยผลวิเคราะห์จากห้องทดลองวิทยาศาสตร์พบสารสารเคมีอันตรายในส่วนประกอบของโทรศัพท์มือถือของบริษัท แอปเปิ้ล หรือไอโฟน (iPhone) ซึ่งกรีนพีซได้ทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลเป็นครั้งแรกหลังจากที่จัดทำ “คู่มือจัดอันดับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียว” เพื่อเป็นการทดสอบคำมั่นสัญญาของ สตีฟ จ๊อบส์ ประธานคณะกรรมการบริหารใหญ่ของแอปเปิ้ลที่ให้กับลูกค้าเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ว่าจะทำให้สินค้าของเขาเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (greener apple)
ห้องทดลองวิทยาศาสตร์อิสระได้วิเคราะห์ 18 ชิ้นส่วนจากภายในและภายนอกของไอโฟน ซึ่งจำนวนชิ้นส่วนที่วิเคราะห์มากกว่าครึ่งพบสารทนไฟประเภทโบรมีน (BFRs) (1) ที่เป็นสารเคมีอันตราย โดยมีน้ำหนักมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของแผงวงจร และพบสารเคมีประกอบอันตรายประเภท พลาทเลทเอสเตอร์ (phthalate esters) (2) มากกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ของสารเคลือบพีวีซีของสายหูฟัง การวิเคราะห์ยังพบอีกว่าชิ้นส่วนที่มีการใช้กาวติดแบตเตอรี่กับแฮนด์เซ็ทนั้นยากต่อการแยกเพื่อรีไซเคิลหรือการกำจัดที่เหมาะสมเมื่อหมดอายุการใช้งาน



“มิสคอล: สารเคมีอันตรายในไอโฟน (Missed call: the iPhone´s hazardous chemicals)” เป็นรายงานของกรีนพีซที่แสดงสารประกอบในไอโฟน (3) ซึ่งเป็นครั้งที่สามแล้วที่กรีนพีซตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลตั้งแต่ปี 2549 และพบว่าแมคบุ๊คโปรและไอพอตนาโน มีสารประกอบของพบสารทนไฟประเภทโบรมีน (BFRs) และพีวีซี (PVC) เช่นเดียวกัน

แอปเปิ้ลนำไอโฟนออกขายในตลาดสหรัฐตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา การที่พบสารเคมีอันตรายดังกล่าวในส่วนประกอบของไอโฟนแสดงให้เห็นถึงความหวังอันริบหรี่ที่จะเห็นผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในปี 2551 ตามคำมั่นสัญญาที่ สตีฟ จ๊อบส์ ให้ไว้

พลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ผลิตภัณฑ์แอปเปิ้ลควรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มจากการเลิกใช้ส่วนประกอบและวัสดุที่มีสารพิษในผลิตภัณฑ์เพราะการไม่ใช้สารพิษจะช่วยลดอันตรายต่างๆที่เกิดจากการรีไซเคิลและการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลที่กำลังเพิ่มขึ้นให้เหลือน้อยที่สุด แต่ดูเหมือนว่าแอปเปิ้ลจะยังคงห่างไกลจากความเป็นผู้นำด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่างจากคู่แข่งอย่างโนเกีย หรือโซนี- อิริคสัน ที่ได้ผลิตโทรศัพท์มือถือและมีนโยบายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า”

ดร. เดวิด ซานทีโล นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของห้องวิจัยของกรีนพีซ กล่าวว่า สารเคมีประกอบอันตรายประเภท พลาทเลทเอสเตอร์ เป็นสารเคมีที่จัดอยู่ในประเภทสารมลพิษที่เป็นอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์กลุ่มที่สองในกฎหมายของยุโรป เนื่องจากมีผลรบกวนต่อฮอร์โมนเพศของสัตว์เลือดอุ่น ในขณะที่สารเคมีนี้ไม่อนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ของเล่นหรือผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ขายในยุโรป แต่อย่างไรก็ตามยังไม่รวมถึงโทรศัพท์มือถือ

ดูวีดิโอการแยกชิ้นส่วนและการทดสอบไอโฟนได้ที่นี่

เว็บไซต์งานรณรงค์ด้านสารพิษของกรีนพีซ:
//www.greenpeace.org/international/campaigns/toxics/electronics

หมายเหตุ

(1) โบรมีน: หากผลิตภัณฑ์ใด ๆ มีสารโบรมีนอยู่ในปริมาณที่สูงจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อผลิตภัณฑ์หมดอายุการใช้งานเมื่อนำไปเผาทำลายหรือนำไปริไซเคิลหรือนำไปฝังกลบจากการที่โบรมีนจะทำปฎิกิริยากลายเป็นสารพิษที่คงค้างในสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

(2) พลาทเลท: ตามระเบียบสหพันธ์ยุโรป 2005/84/EC ผลิตภัณฑ์ของเล่นหรือผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ขายในสหพันธ์ยุโรปจะต้องไม่มีส่วนประกอบของสารเคมีดังกล่าวมากกว่า 0.1% ของน้ำหนัก

(3) “มิสคอล: สารเคมีอันตรายในไอโฟน (Missed call: the iPhone´s hazardous chemicals)
//www.greenpeace.org/iphonereport

.........


1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

.........

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้




Create Date : 17 ตุลาคม 2550
Last Update : 17 ตุลาคม 2550 15:04:24 น. 0 comments
Counter : 983 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com