กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
พลังงานนิวเคลียร์ไม่จำเป็น



คูมิ ไนดู ผู้อำนวยการกรีนพีซสากล เขียนความคิดเห็นลงในหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์/อินเตอร์แนชั่นแนล เฮอรัลด์ทริบูน



ระยะเวลาเพียง 12 วันไม่เพียงพอที่จะเข้าใจถึงความเสียหายมหาศาลที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นนับจากวันที่ 11 มีนาคมได้ เด็กๆต้องสูญเสียพ่อแม่ในเหตุการณ์แผ่นดินไหว คนที่รักที่หายสาบสูญไปจากภัยสึนามิ และวีรบุรุษจำนวนมากที่ต้องทำงานเสี่ยงกับผลกระทบต่อสุขภาพในการทำให้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมามีความเสถียรขึ้น – นี่ยังไม่ใช่จุดจบของเรื่องนี้


แต่ในความเศร้าโศกเสียใจและความเห็นใจที่ผมมีต่อประชาชนญี่ปุ่น ผมก็มีความรู้สึกอีกอย่างเกิดขึ้นด้วย นั่นคือความโกรธ ในขณะที่พวกเราเฝ้ารอคอยข่าวความคืบหน้าของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมาอย่างใจจดใจจ่อ หวังให้ปัญหากัมมันตรังสีที่รั่วไหลและถูกปล่อยออกมาถูกจัดการลงได้ หวังให้ความเสี่ยงต่อหายนะที่จะเกิดขึ้นอีกจบลง และหวังให้ประชาชนญี่ปุ่นจะได้มีฝันร้ายน้อยลงไปหนึ่งคืน แต่รัฐบาลจากอีกซีกโลกหนึ่งยังคงมีการส่งเสริมการลงทุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างต่อเนื่อง เช่นรัฐบาลจากประเทศบ้านเกิดของผมในอัฟริกาใต้ ได้ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าจะเพิ่มการผลิตพลังงานนิวเคลียร์อีก 9,600 เมกะวัตต์ลงในแผนพลังงานฉบับใหม่


สมมติฐานที่อันตรายยิ่ง 2 ข้อเกิดเป็นจริงขึ้นมาแล้วท่ามกลางวิกฤตนิวเคลียร์ในขณะนี้คือ พลังงานนิวเคลียร์ปลอดภัย และ นิวเคลียร์เป็นสิ่งจำเป็นในการก้าวไปสู่อนาคตสังคมคาร์บอนต่ำ ที่จะทำให้เรารอดพ้นจากหายนะจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมมติฐานทั้งสองข้อนี้ ไม่จริงแล้ว


ความเสี่ยงของเทคโนโลยีนิวเคลียร์เกิดขึ้นได้เสมอจากความผิดพลาดของมนุษย์ ภัยธรรมชาติ ความผิดพลาดในการออกแบบ และการก่อการร้าย เหตุการณ์ที่ฟูกูชิมาเป็นความล้มเหลวของระบบ เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์นั้นสามารถทนต่อแผ่นดินไหวและสึนามิได้แต่ระบบระบายความร้อนที่สำคัญกลับล้มเหลว และเมื่อระบบไฟฟ้าสำรองก็ล้มเหลว จนทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ร้อนเกินไป ก็ทำให้เกิดการแพร่กระจายของกัมมันตรังสี นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเดียวของความผิดพลาดที่เกิดขึ้น


พลังงานนิวเคลียร์โดยเนื้อแท้แล้วไม่ปลอดภัย อีกทั้งการเจ็บป่วยจากการสัมผัสและรับสารกัมมันตรังสีก็เป็นที่น่าสะพรึงกลัวอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการกลายพันธุ์ทางพันธุ กรรม ความพิการแต่กำเนิด โรคมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว ความผิดปกติของระบบต่างๆ ทั้งระบบสืบพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบหัวใจและหลอดเลือด และต่อมไร้ท่อ


เราเคยได้ยินข่าวที่เกิดขึ้นกับเชอร์โนบิลและทรีไมล์ไอแลนด์มาแล้ว อุตสาหกรรมนิวเคลียร์พยายามที่จะทำให้เราเชื่อว่าสิ่งที่เกิดเป็นเหตุการณ์เฉพาะที่ต่างออกไป ซึ่งไม่จริงเลย มีเหตุการณ์กว่า 800 เหตุการณ์ที่มีการรายงานต่อสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency ) ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่มาแยค โตไกมูระ โบฮุนิส ฟอสมาร์ค เป็นต้น 


ข้อถกเถียงที่ว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เราก้าวไปสู่อนาคตที่ปราศจากคาร์บอนก็เป็นเท็จ


กรีนพีซและสภาพลังงานหมุนเวียนแห่งยุโรป (European Renewable Energy Council) ได้ทำการศึกษาร่วมกันเรื่อง“การปฏิวัติพลังงาน” (Energy [R]evolution) ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าหนทางพลังงานสะอาดนั้นราคาถูกกว่า ทำให้สุขภาพดีกว่า และช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้เร็วกว่าทางเลือกอื่นๆ หนทางดังกล่าวเรียกร้องให้มีการปลดระวางเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั่วโลกและหยุดการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการพาณิชย์


แบบจำลองทางพลังงานขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) ได้ชี้ให้เห็นว่าพลังงานนิวเคลียร์ไม่ใช่ทางเลือกที่จำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แม้จะเพิ่มกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็น 4 เท่าในปีพ.ศ.2593 สัดส่วนพลังงานที่ได้ก็ยังคงต่ำกว่าร้อยละ 10 ของทั่วโลก ซึ่งเท่ากับว่าช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงร้อยละ 4 เท่านั้นเอง แต่ถ้านำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนกับพลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด เช่น ลมและแสงอาทิตย์ กลับจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีมากกว่า


พลังงานนิวเคลียร์มีราคาแพงและกลับจะยิ่งทำให้เราก้าวห่างจากแนวทางการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง แหล่งพลังงานที่ “ปราศจากน้ำมัน” จะต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ (ในขณะที่เขียนนี้ ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงประเทศลิเบีย) จะต้องไม่ “หมดไป” และต้องไม่ส่งผลกระทบ แน่นอนจะต้องมีการลงทุนด้านการเงินมากในระยะแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ราคาของพลังงานหมุนเวียนก็จะถูกลง เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการแข่งขันทางการตลาดจะทำให้ต้นทุนต่ำลง และยิ่งกว่านั้น หากมีการใช้อย่างชาญฉลาด อนาคตโลกสีเขียวของเรา ที่ปราศจากนิวเคลียร์และเชื้อเพลิงฟอสซิล ก็จะสร้างงานใหม่ที่ปลอดภัยขึ้นอย่างมาก


องค์กรระหว่างประเทศ เช่น กรีนพีซได้ร่วมมือกับศูนย์ข้อมูลนิวเคลียร์เพื่อประชาชนญี่ปุ่น ในการร้องเรียนไปยังรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อให้มีการปรับปรุงแผนการอพยพและมาตรการการป้องกันสำหรับประชาชนที่ยังคงอาศัยอยู่ในระยะรัศมี 30 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา เพราะประเด็นเรื่องการปนเปื้อนกัมมันตรังสีในอาหารและน้ำจะยังคงเป็นปัญหาในเอเชีย อีกทั้งยังมีเรื่องการขายไอโอดีนชนิดเม็ดไปทั่วโลก และประชาชนในบริเวณที่ไกลออกไป เช่นในลอสแองเจลลิส จะยังคงต้องเสี่ยงกับ “การแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสี” (radioactive plumes) และนี่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่เราในฐานะประชากรบนโลกนี้จะยังคงออกมาส่งเสียงต่อต้านการลงทุนในพลังงานนิวเคลียร์ต่อไป เราต้องการการปฏิวัติไปสู่พลังงานที่สะอาดอย่างแท้จริง


ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์อินเตอร์แนชั่นแนล เฮอรัลด์ทริบูน วันที่ 21 มีนาคม 2554 //www.nytimes.com/pages/opinion/global/index.html





Free TextEditor


Create Date : 24 มีนาคม 2554
Last Update : 24 มีนาคม 2554 18:58:53 น. 3 comments
Counter : 1113 Pageviews.  
 
 
 
 
ขำดีครับ ประเทศไม่ต้องพัฒนากันพอดี

ได้แค่พูดดีไปงั้นว่าต้องการพลังงานสะอาด แต่ก็ไม่มีปัญญาจะหาอะไรที่สะอาดกว่านิวเคลียร์ได้ แม้กระทั่งก๊าซชีวภาพก็ยังเป็นก๊าซเรือนกระจก พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมก็ยังได้ผลผลิตไม่คุ้มค่าการลงทุน
 
 

โดย: 555+ IP: 202.28.80.28 วันที่: 24 มีนาคม 2554 เวลา:19:42:51 น.  

 
 
 
อะนะ ขนาดประเทศเสี่ยงแผ่นดินไหวกลับมีปัญญาสร้าง แล้วก็เจริญกันมากมาย
ประเทศที่ไม่เสี่ยงกลับไม่มีปัญญา ถูกกดขี่จนยากจนข้าวยังไม่มีจะกินทั้งที่ปลูกข้าวเองได้
 
 

โดย: ยังไงนะ IP: unknown, 124.120.88.219 วันที่: 24 มีนาคม 2554 เวลา:21:34:59 น.  

 
 
 
@555+

Fusionครับ สะอาดพอรึเปล่า และที่สำคัญ การทำ fusion ช่วยลด nuclear waste อีกด้วย ถึงแม้มันยังสร้างไม่เสร็จ

:P
 
 

โดย: Expert IP: 193.47.167.190 วันที่: 25 มีนาคม 2554 เวลา:15:53:42 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com