กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
สงครามน้ำของอุตสาหกรรมถ่านหิน

เขียน โดย จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หลังเสร็จสิ้นการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 (COP 21) ซึ่งเป็นการเจรจาระหว่างผู้นำประเทศจากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก วันนี้ผู้นำและประชาชนหลายประเทศกำลังขับเคลื่อนเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และแน่นอนว่าเชื้อเพลิงถ่านหินตกอยู่ในภาวะความขัดแย้งตั้งแต่การวางแผนจัดการพลังงานและการจัดการผลกระทบที่เกินกว่าจะเรียกคืน

พื้นที่แห้งแล้งใน Maharashtra ประเทศอินเดีย

วิกฤตน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนน้ำผลักดันให้รัฐบาลของหลายประเทศจำต้องหันกลับมาทบทวนนโยบายพลังงานและการจัดการพลังงานที่จำเป็นต้องคำนึงทั้งความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน จากรายงานของ World Economic Forum’s Global Risk 2015 ชี้ชัดว่า วิกฤตน้ำเป็นความเสี่ยงสูงสุดที่ประชากรบนโลกต้องเผชิญชะตากรรมร่วมกันในอีก 10 ปีที่จะถึงนี้ ซึ่งความมั่นคงของน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งอันมาจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ

ในขณะที่กรีนพีซสากลเปิดเผยให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาลในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนด้วยการปล่อยให้อุตสาหกรรมถ่านหินดึงน้ำจากแหล่งน้ำหลักโดยปราศจากการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ทั้งๆที่วงจรของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินก่อให้เกิดผลกระทบมหาศาลต่อระบบน้ำจืด ตั้งแต่กระบวนการทำเหมืองถ่านหิน การเผาไหม้ถ่านหิน และการจัดการเถ้าถ่านหิน เป็นที่ทราบกันดีว่าในหลายประเทศอุตสาหกรรมถ่านหินใช้น้ำจากแหล่งน้ำจืดมากที่สุดเป็นอันดับต้นของความตัองการน้ำในประเทศ ทั้งนี้มีการเทียบเคียงการใช้น้ำของโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 500 เมกะวัตต์เพื่อใช้ในการหล่อเย็นนั้น ทุกๆ ราว 3 นาทีต้องดูดน้ำขนาดเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิคมาใช้ให้เพียงพอในระบบหล่อเย็นดังกล่าว ในขณะที่บางประเทศกำลังเผชิญหน้ากับความขัดแย้งและแย่งชิงน้ำ ผู้ที่มีอำนาจของประเทศเหล่านั้นจึงยืนอยู่บนความท้าทายอันแสนเข็ญในการรักษาความสมดุลของแหล่งน้ำที่ต้องจัดการให้มีใช้ในการผลิตอาหาร การผลิตพลังงานและการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคของประชาชนในเมืองใหญ่ รวมทั้งความจำเป็นในการรักษาสิ่งแวดล้อม

รายงานล่าสุดของกรีนพีซว่าด้วยน้ำและถ่านหินจึงเป็นการชี้ให้เห็นถึงวิกฤตน้ำจากอุตสาหกรรมถ่านหิน โดยใช้ข้อมูลจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เดินเครื่องและโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกจนถึงปี 2556 โดยใช้ฐานข้อมูลหลักของ Platts World Electric Power Plant Database ในช่วง 2ปีที่ผ่านมาจนถึงสิ้นปี 2556 ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเดินเครื่องรวมกัน 8,359 โรงและยังอีก 2,668 โรงที่กำลังรอการอนุมัติจากแต่ละรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น

การเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกใช้น้ำจืดราว 19 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีนั่นหมายถึง ทุกปีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เดินเครื่องจำนวน 8,359 โรงใช้น้ำในการผลิตไฟฟ้าเทียบเท่ากับความต้องการใช้น้ำพื้นฐานของประชากรมากกว่า 1 พันล้านคน หากมีการรวมการใช้น้ำของการทำเหมืองถ่านหินความต้องการใช้น้ำอุตสาหกรรมถ่านหินจะเพิ่มขึ้นราว 22.7 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เทียบเท่ากับความต้องการใช้น้ำพื้นฐานของประชากรราว 1.2 พันล้านคน ซึ่งภายใต้เกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก(World Health Organization) ความต้องการใช้น้ำพื้นฐานของประชากร 1 คนจะอยู่ที่ราว 50-100 ลิตรต่อวันหรือราว 18.3 ลูกบาศก์เมตรต่อคนเทียบกับโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกที่ต้องใช้น้ำราว 19 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี นอกจากนี้การขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้นในหลายประเทศพบว่ามีการใช้น้ำเร็วเกินกว่าที่ระบบน้ำจืดจะสามารถฟื้นตัวได้ทันตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กำลังเดินเครื่องและโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะเกิดขึ้นตั้งอยู่ในพื้นที่ที่กำลังเผชิญกับการขาดแคลนน้ำและผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศวิทยา ในทุกปีของการใช้น้ำของโรงไฟฟ้าถ่านหินเกินขีดจำกัดที่ธรรมชาติจะฟื้นตัวทันย่อมหมายถึงอุตสาหกรรมถ่านหินได้แย่งชิงน้ำในอนาคตมาใช้ล่วงหน้าแล้วราว 5 ปี

การขาดแคลนน้ำทำให้เกิดผลกระทบอย่างหนักทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางอาหารและการผลิตพลังงาน การขยายโรงไฟฟ้าถ่านหินในหลายประเทศทั้งแอฟริกาใต้ อินเดีย ตุรกี จีนและโปแลนด์ก่อให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง ในแอฟริกาใต้ต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบร้อยปี ความน่ากังวลของแอฟริกาใต้อยู่ที่การผลิตไฟฟ้าของประเทศมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินมากถึงร้อยละ 85 อีกทั้งการวางแผนลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ก็ยังตั้งอยู่ในพื้นที่ที่กำลังขาดแคลนน้ำ น้ำที่มีจำเป็นต้องใช้ป้อนโรงไฟฟ้าถ่านหินในขณะที่ประชาชนเกือบหนึ่งล้านครัวเรือนในแอฟริกาขาดแคลนน้ำอย่างหนักและไม่มีน้ำใช้เพียงพอตามขั้นต่ำที่กำหนดไว้ 25 ลิตรต่อคนต่อวัน

การขาดแคลนน้ำในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัทเอสคอมของรัฐบาลนั้นส่งผลให้ทางบริษัทอ้างเหตุผลดังกล่าวในการหลีกเลี่ยงการติดตั้งเทคโนโลยีดักจับมลพิษทางอากาศจากปล่องโรงไฟฟ้าและไม่สามารถจะปฎิบัติตามกฎหมายควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศฉบับใหม่ได้ซึ่งคาดการณ์ว่าจะก่อให้ประชาชนตายก่อนวัยอันควรสูงถึง 20,000 รายตลอดการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าแห่งนี้

ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ต้องเผชิญกับวิกฤตบ่อยครั้งจากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินกับน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด จีนเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อป้อนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับถ่านหินและอุตสาหกรรมเคมี โดยโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เดินเครื่องใช้น้ำจืดราว 7.4 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี  แม้ว่าการใช้ถ่านหินในจีนลงลงตั้งแต่ปี 2557 และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จีนได้ประกาศหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่จนถึงปี 2562 เพื่อจัดการการล้นทะลักในอุตสาหกรรมถ่านหิน ทั้งนี้การมีเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่หลายแห่งของจีนทำให้การควบคุมโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ใช่เรื่องง่ายและอำนาจในการอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินของจีนตกอยู่ภายใต้รัฐบาลของแคว้นและโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหลายแห่งของจีนอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งสุดของประเทศ

สิ่งแวดล้อมในบริเวณโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัด Shanxi ประเทศจีนกำลังถูกทำลาย เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในแม่น้ำฮวงโหสายย่อยที่ไหลผ่านพื้นที่นี้ ผลผลิตในบางพื้นที่ลดลง และน้ำในแหล่งเก็บน้ำเหือดแห้ง

ประเทศที่ประกาศมุ่งเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเต็มสูบอย่างประเทศไทยกำลังเผชิญชะตากรรมเดียวกัน โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะที่กำลังเดินเครื่องและที่กำลังเดินหน้าขยายกำลังผลิต การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยออกมายอมรับว่า ปีนี้เป็นปีที่มีน้ำป้อนโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะน้อยสุดในรอบ 20 ปี และสามารถผลิตไฟฟ้าได้จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้เท่านั้น โดยแหล่งน้ำจืดมาจากอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ หากไม่มีน้ำเพียงพอทางโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะก็จะต้องหยุดเดินเครื่องซึ่งขณะนี้การลดลงของแหล่งน้ำดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เกษตรกรรมจำเป็นต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นเช่นกัน

ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงหากรัฐบาลยังคงเพิกเฉยต่อการวางแผนการจัดการน้ำควบคู่กับการวางแผนพลังงานของประเทศ ที่ผ่านมาการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (พีดีพี) ขาดการศึกษาผลกระทบในภาพรวมหากยังเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะก่อให้เกิดความขัดแย้งจากการแย่งชิงน้ำของอุตสาหกรรมถ่านหิน ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาเพิกเฉยต่อการศึกษาเปรียบเทียบการใช้น้ำของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกับการใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีการศึกษาวงจรการใช้น้ำตลอดวงจรชีวิตของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดพบว่าการใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าใช้น้ำน้อยกว่าการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน


ที่มา: Greenpeace Thailand




Create Date : 23 มีนาคม 2559
Last Update : 23 มีนาคม 2559 14:21:39 น. 1 comments
Counter : 1099 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: peepoobakub วันที่: 15 มีนาคม 2560 เวลา:17:27:01 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com