อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ยังคงเดินหน้าสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าเตาปฏิกรณ์นั้นมีความปลอดภัย แต่ จากข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่ยังคงมีการเปิดเผยออกมา หลักฐานต่างๆที่เกิดขึ้นกลับทำให้การสร้างความมั่นใจกับประชาชนนั้นบ่อย ครั้งขาดความน่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อ เท็จจริงที่ทั้งอุตสาหกรรมนิวเคลียร์และรัฐบาลญี่ปุ่นประสบความล้มเหลวที่จะ ดำเนินการเพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชนชาวญี่ปุ่น




การรายงานของสื่อเกี่ยวกับ เอกสารคู่มือการดำเนินการของบริษัทเทปโก้ที่ออกมาสัปดาห์นี้ กล่าวว่า เอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง “การ ขาดการเตรียมการและความพร้อมของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ในการจัดการกับ เหตุการณ์ฉุกเฉินนั้น นับเป็นปัจจัยหลักที่นำไปสู่การหลอมละลายและความล้มเหลวของเหตุการณ์ภายหลัง จากสึนามิ-แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม” ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่า ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้พยายามปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดต่อสาธารณะ ทั้งนี้ทางองค์การเพื่อความปลอดภัยด้านอุตสาหกรรมและนิวเคลียร์ได้พยายามเรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวด้วย


และนี่ก็เป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี…


ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 เหตุแผ่นดินไหวนอกชายฝั่ง Chūetsu ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ-คาริว่าของบริษัท เทปโก้ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของญี่ปุ่นต้องปิดตัวลง แผ่นดินไหวครั้งนั้นทำให้ตู้ที่เก็บกากนิวเคลียร์พลิกคว่ำลง ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีสู่อากาศ เกิดการรั่วไหลของน้ำที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีภายในอาคารเตา ปฏิกรณ์หลายแห่ง อีกทั้งบางส่วนยังไหลออกสู่ทะเลของญี่ปุ่นอีกด้วย


จากข้อมูลของสือพิมพ์รายวันโยมิอุริ “มี การค้นพบว่าทางเทปโก้เองไม่ได้ทำการสำรวจการรั่วไหลอย่างละเอียดถี่ถ้วนใน บริเวณรอบๆโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (คาชิวาซากิ-คาริว่า) อีกทั้งมาตรการการรับมือกับเหตุแผ่นดินไหวก็ไม่เพียงพอ” และนี่ก็เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทฯได้ยอมรับในปีพ.ศ. 2545 ว่า มีการจัดทำรายงานด้านความปลอดภัยที่เป็นเท็จอย่างจงใจเพื่อปกปิดอุบัติเหตุจำนวนมากที่เกิดขึ้นกับเตาปฏิกรณ์ เรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นย้อนกลับไปเมื่อช่วงทศวรรษ 1980 จนถึง 1990 นั้น แสดงให้เห็นถึง ความล้มเหลวของเทปโก้ในการดำเนินการติดตามตรวจสอบด้านความปลอดภัยที่สำคัญในบริเวณเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์


และนี่ก็ทำให้เราได้เห็นว่า เทปโก้มีประวัติที่ยาวนานในเรื่องการขาดการเตรียมความพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินและไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความปลอดภัย ไม่ เพียงเท่านั้น หน่วยงานที่ดูแลและกำกับอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นเองก็ล้วนแต่ประสบ ความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าในการควบคุมดูแลให้เทปโก้มีมาตรฐานการดำเนิน การด้านความปลอดภัยที่สำคัญและรัดกุม และขณะนี้ สื่อก็กำลังรายงานถึงหลักฐานที่หน่วยงานรัฐที่ควรจะปฏิบัติหน้าที่ควบคุม ดูแลอุตสาหกรรมนิวเคลียร์นั้น กลับมีความพยายาม ที่จะบิดเบือนความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องนิวเคลียร์ให้เป็นไปในทิศทางที่ตนต้องการ


และที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น “ยังไม่มีกฎหมายในการเข้าตรวจประเมินประเด็นด้านความปลอดภัยในพื้นที่เป็นระยะๆ” ตามที่เจ้าหน้าที่รัฐกล่าวกับองค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2551 และในเดือนตุลาคม ปีนี้ ก็มีรายงานที่แสดงให้เห็นว่า เทปโก้นั้นรู้มาก่อนแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่า ไดอิจิ นี้ มีความเสี่ยงต่อสึนามิ แต่กลับปกปิดข้อมูลดังกล่าวไว้ และไม่ดำเนินการปรับปรุงแผนการรับมือและแผนฉุกเฉินของโรงไฟฟ้า ซึ่งนี่ก็เป็นเพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ด้วย..


ความล้มเหลวด้านความปลอดภัยต่อเหตุหายนะที่ฟูกูชิม่านี้ ก่อให้เกิดความสูญเสียโดยตรงต่อเทปโก้และเป็นความล้มเหลวที่น่าละอายของรัฐบาลที่ ไม่สามารถดูแลควบคุมการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพได้ และนี่ก็ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความล้มเหลวด้านระบบของกลุ่มอุตสาหกรรม นิวเคลียร์และรัฐบาลต่างๆทั่วโลกที่จะรับประกันว่าการดำเนินการจะเป็นไปตาม ระดับความปลอดภัยที่เหมาะสมอย่างเคร่งครัด และเมื่อพิจารณาถึงขอบเขตและระดับของอันตรายและความสูญเสียของอุบัติเหตุ นิวเคลียร์แล้ว สิ่งที่เราได้เห็นที่ญี่ปุ่นก็นับเป็นความล้มเหลวด้านการเป็นผู้นำ ด้านความรับผิดชอบ และความหน้าเชื่อถือ ที่จะปกป้องคุ้มครองประชาชน


และขณะนี้ เราก็ได้รับรู้ว่า ปริมาณสารกัมมันตภาพรังสีที่ปล่อยออกมาเตาปฏิกรณ์ฟูกูชิม่านั้นเป็นสองเท่าของปริมาณที่รัฐประกาศ นายก รัฐมนตรีโนดะ ควรจะต้องประกาศออกมาว่าอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นประสบความล้มเหลวโดย สิ้นเชิง และยกเลิกแผนที่จะเปิดดำเนินการเตาปฏิกรณ์เครื่องเก่าหรือสร้างเตาปฏิกรณ์ เครื่องใหม่โดยทันที


เราจะต้องไม่ลืมว่า ขณะที่เทปโก้กับรัฐบาลมีความสัมพันธ์กันอยู่และไม่ให้ความสำคัญกับประเด็น ด้านความปลอดภัย การที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่าตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะประสบอุบัติเหตุหรือภัยพิบัติที่จะสร้างความสูญเสียต่อ ชีวิตประชาชนจำนวนมาก และญี่ปุ่นก็จะต้องอยู่กับผลที่เลวร้ายไปอีกยาวนานทีเดียว