กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ปี 2558 วิกฤตขนาดไหน ถึงเวลาที่เราต้องคว้า “โอกาสแห่งชีวิต”แล้วหรือยัง ?

แม้ว่าปี พ.ศ.2558 เพิ่งจะมาเยือน แต่กล่าวได้ว่า  เป็นปีที่สำคัญที่สุดสำหรับการต่อสู้เพื่อสภาพภูมิอากาศในทศวรรษนี้ และเป็น  “จุดเปลี่ยน” ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทั่วโลก  นาโอมิ ไคลน์ กล่าวว่า ในปีพ.ศ.2558 นี้ จะเป็นการต่อสู้เพื่อสภาพภูมิอากาศ ครั้งหนึ่งในยุค และองค์กรประชาสังคมระดับโลก Avaaz ก็เพิ่งประกาศกับสมาชิกของพวกเขาไปว่า “เราเหลือเวลาอีกเพียง 10 เดือนเท่านั้นที่จะ ปกป้องโลกของเรา ! 

 

Greenpeace activists block the outflow pipe at AKZO in Delfzijl. 03/07/1990 © Greenpeace / Benno Neeleman

ทำไมจึงต้องเป็นปีนี้ เกิดอะไรขึ้นกับโลกของเราอย่างนั้นหรือ?

 

ในเดือนกันยายนที่จะถึงในปีนี้ กลุ่มผู้นำโลกต่างเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับข้อตกลงใหม่ของมนุษยชาติ ซึ่งก็คือ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต่อจากนั้นในเดือนธันวาคม ก็ได้ประชุมถึงความพยายามของแต่ละชาติที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองวาระดังกล่าวต่างก็มีผลกระทบต่อโลกอย่างใหญ่หลวง อีกทั้งสื่อมวลชนก็หันมาให้ความสนใจในประเด็นนี้อย่างล้นหลาม จนพันธมิตรเพื่อสิ่งแวดล้อมบางกลุ่มถึงกับเรียกวาระการประชุมนี้ว่า "โอกาสแห่งชีวิต" รวมถึงคนดังอีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ฟาร์เรล วิลเลี่ยมส์ ศิลปินชื่อดังยังได้เริ่มต้นกิจกรรมเพื่อ ระดมการสนับสนุนจากประชาชนเพื่ออนาคตสีเขียวของสิ่งแวดล้อม

ไม่ต้องสงสัยว่าเหตุใดเราจึงต้องเร่งรีบปกป้องสิ่งแวดล้อมนักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะบอกกับเราว่า ดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงในระบบสุริยะนั้น มีดาวเคราะห์ถึง 4 ดวงที่มนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ สัญญาณของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเริ่มปรากฏขึ้นรอบ ๆ โลก การขุดเจาะน้ำมัน กลายเป็นการลงทุนที่บ้าคลั่ง ไม่คุ้มเสี่ยงและเป็นภัยต่อสภาพภูมิอากาศของโลก ดังเช่น การขุดเจาะน้ำมันบริเวณทวีปอาร์กติก

ถึงเวลาที่เราต้องมีข้อปฏิบัติสากลให้กับมนุษย์ในดาวเคราะห์สีน้ำเงินดวงนี้อย่างจริงจังเสียที  เราไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้มีการประชุมก็ได้ แต่การประชุมจะสามารถกำหนดขีดจำกัดได้ อีกทั้งยังเป็นการกำหนดข้อบังคับให้รัฐบาลในแต่ละประเทศให้มีเวลาถกเถียงกันเพื่อเห็นด้วยกับข้อสรุปของการประชุม  นอกจากนี้ยังโน้มน้าวให้ประชาชนหันมาสนใจกับประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ซึ่งนั่นอาจจะเป็นทางออกให้กับการเมืองได้ เราคงจะไม่ประสบความสำเร็จกับการยอมรับพันธะสัญญาทางกฎหมายในการ ปกป้องสัตว์ทะเลในทะเลที่ไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของประเทศใด จากประเทศกว่าครึ่งโลก ภายใน 1 เดือนได้ (ถึงแม้ว่าจะยอมรับในเวลาที่เหลือน้อยแล้วก็ตาม) ถ้าเราไม่มีวาระการประชุม ‘สหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน’ หรือRio+20 เมื่อปีพ.ศ.2555 เพื่อให้ปัญหานี้เป็นที่ถกเถียงกันถึงระดับสากล

 

นักกิจกรรมกรีนพีซเรียกร้องการปกป้องอาร์กติกจากการขุดเจาะน้ำมัน ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล
ระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
นอกจากนี้ การประชุมยังเป็นที่ที่รัฐบาลจะส่งสัญญาณระยะยาวให้กับตลาดพลังงานยกตัวอย่างเช่น การประชุมภาวะโลกร้อนที่กรุงปารีสเมื่อปลายปีที่แล้วสามารถผลักดันข้อเสนอ การลดการปล่อยมลพิษลงจนหมดภายในปี พ.ศ.2593 และนั่นคือ หนึ่งในตัวเลือกที่รัฐบาลกำลังพิจารณา หากพวกเขานำข้อตกลงนี้มาใช้อย่างจริงจังก็แสดงว่า ยุคของเชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังจะสิ้นสุดลง ซึ่งแน่นอนนักลงทุนเกี่ยวกับเชื้อเพลิงฟอสซิลอาจจะหลับไม่ลงเลยทีเดียว

เรายืนหยัดเพื่อพลังงานหมุนเวียน และจะใช้การประชุมทั้งสองวาระที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นโอกาสในการเรียกร้องถึงอนาคตของโลกที่ไร้คาร์บอน อนาคตที่เราทุก ๆ คนเข้าถึง พลังงานหมุนเวียน 100%

“โอกาสแห่งชีวิต”สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ และนั่นคือเป้าหมายของเราภายในปีนี้ ถ้าเราทำได้จริงก็ยิ่งเป็นข่าวดีในการเพิ่มโอกาสผลักดันให้กลายเป็นวาระระดับโลก!

 

สถานีพลังงานแสงอาทิตย์ในมณฑล ซูโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน
 

การปฏิวัติพลังงานเริ่มเป็นกระแสไปทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2557 ทางมหาอำนาจฝั่งเอเชียหรือจีนก็ตอบรับนโยบายนี้  โดยเป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษที่ประเทศนี้ลดการใช้ถ่านหินลง และหันมาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมากกว่าปริมาณที่สหรัฐฯติดตั้งและเสร็จสิ้นภายในเวลา 1 ปี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศนี้ได้ทำให้จีนเริ่มนำแนวคิดพลังงานหมุนเวียนไปใช้ เพื่อหยุดภัยคุกคามจากมลพิษทางอากาศให้หมดไปภายในปี พ.ศ.2573 แต่เท่านี้ยังไม่พอสำหรับการสร้างอนาคตสีเขียว หากจีนสามารถถอยห่างจากถ่านหินรวมถึงสลายมลพิษในประเทศภายในปีนี้  และ หยุดมหามลพิษในเมืองสำเร็จ จะไม่เป็นเพียงการยุติมหามลพิษควันที่ทำให้ประชากรกว่าล้านคนต้องลำบาก แต่การเดินหน้าลดปริมาณการใช้ถ่านหินของจีนจะทำให้จีนก้าวขึ้นอยู่ในระดับแนวหน้าของโลกอีกด้วย

สำหรับเรื่องเร่งด่วนที่เราต้องช่วยกันในปีนี้ คือการต่อสู้กับอุตสาหกรรมถ่านหินที่ เป็นผู้เร่งให้สภาวะอากาศเลวร้ายลงเรื่อย ๆ

 

เหมืองถ่านหิน Niederaussem ประเทศเยอรมนี

หากไม่อยากให้ลูกหลานของเราต้องผจญกับสภาพอากาศที่เลวร้ายในอนาคต เราจะต้องต่อสู้หยุดยั้งโครงการคาร์บอน และต้องเดินหน้าหยุดการขุดเจาะน้ำมันในทวีปอาร์กติกต่อไป

ร่วมเรียกร้องให้ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ปกป้องอาร์กติกจากการขุดเจาะน้ำมัน

นี่คือเหตุผลที่กรีนพีซทั่วโลกสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนและต่อต้านอุตสาหกรรมถ่านหิน ตั้งแต่อินเดีย จีน ไปจนถึงเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา รวมถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรมถ่านหินในออสเตรเลีย และของประเทศไทย

ถ้าคุณคิดว่าผลประโยชน์จากถ่านหินในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่คุ้มค่ากับการสูญเสีย “เกรตแบร์ริเออร์” แหล่งปะการังอันสวยงามและมีความยาวที่สุดในโลกแล้วล่ะก็ ร่วมเป็นอีก 1 เสียงกับเราเพื่อปกป้องปะการังอันสวยงามนี้ได้

เราจะ “เปลี่ยน” ปี 2558 ไปด้วยกัน เราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง จากอาร์กติกสู่ออสเตรเลีย เราทำได้ อย่างที่เราเคยทำมาแล้วในงานรณรงค์ก่อน ๆ ฉะนั้น “อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่า”

ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในการประชุมสุดยอดของปีนี้ เพราะโลกของเราไม่ปลอดภัยแน่ ๆ ด้วยการประชุมแค่เพียง 1 ครั้ง ใน 10 เดือน  เราต้องปกป้องโลกอย่างเร่งด่วน และเราสามารถทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้จริง ด้วยการหยุดยั้งผู้ที่จ้องจะทำลายดาวเคราะห์สีน้ำเงินของเราและหันมาร่วมมือกันปฏิวัติพลังงาน อย่าลืมว่าเราสามารถผลักดันการประชุมให้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้ได้

ร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงกับเรา หยุดการขุดเจาะน้ำมันในภูมิภาคอาร์กติก


 

Blogpost โดย Daniel Mittler -- กุมภาพันธ์ 17, 2558 ที่ 13:14


ที่มา : //www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/2558/blog/52131




Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2558 16:58:26 น. 0 comments
Counter : 1229 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com