กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ตุ๊กตาบาร์บี้ห่อหุ้มด้วยบรรจุภัณฑ์ที่มาจากการทำลายป่าฝนเขตร้อน



จาการ์ตา, มะนิลา, กรุงเทพฯ, 8 มิถุนายน 2554- กรีนพีซเปิดเผยรายงานล่าสุด ระบุ ตุ๊กตาบาร์บี้ ของเล่นยอดฮิตทั่วโลก มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่ากล่องบรรจุภัณฑ์ตุ๊กตาบาร์บี้ผลิตจากไม้ที่ถูกตัดทำลายในป่าฝนเขตร้อนของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ อย่างเช่น เสือสุมาตรา



นักกิจกรรมกรีนพีซในชุดทักซิโด้เลียนแบบ “เคน” ตัวละครแฟนหนุ่มของบาร์บี้ ได้แขวนป้ายผ้าขนาดใหญ่ที่มีข้อความว่า “บาร์บี้ เราเลิกกันเถอะ ผมไม่อยากเดทกับสาวที่ทำลายป่า” ณ หน้าสำนักงานใหญ่ของบริษัทแมทเทล (Mattel) นครลอสแอนเจลิส


กิจกรรมดังกล่าวถือเป็นการเปิดตัวงานรณรงค์ของกรีนพีซทั่วโลกที่เรียกร้องให้บริษัทผลิตของเล่นหยุดทำลายป่าในอินโดนีเซีย


นักวิจัยของกรีนพีซใช้วิธีการสืบค้นหลักฐานเพื่อเปิดเผยว่ากล่องบรรจุภัณฑ์ของตุ๊กตาบาร์บี้นั้นมาจากป่าฝนเขตร้อนในประเทศอินโดนีเซีย โดยผนวกเข้ากับการสืบค้นภาคสนาม ข้อมูลแผนที่ และตามรอยหลักฐาน(ใบประกาศ)ของบริษัทเพื่อแสดงให้เห็นว่าแมทเทล ผู้ผลิตบาร์บี้และบริษัทของเล่นอื่นๆ อย่างเช่น ดิสนีย์ (Disney) ใช้บรรจุภัณฑ์ที่มาจากบริษัท Asia Pulp and Paper หรือ APP
ที่ถูกเปิดโปงหลายครั้งว่าเป็นผู้ทำลายป่าฝนเขตร้อนในอินโดนีเซียเพื่อนำมา
ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ


บุสตาร์ ไมทาร์ หัวหน้าฝ่ายรณรงค์ของกรีนพีซเพื่อปกป้องผืนป่าอินโดนีเซียกล่าวว่า


“บาร์บี้กำลังทำลายป่าฝนเขตร้อนและทำให้สัตว์ป่าที่มีความสำคัญ
อย่างเช่นเสือ ตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ทั้งนี้เพราะบรรจุภัณฑ์ของบาร์บี้นั้น มาจากการตัดไม้ทำลายป่าในอินโดนีเซียซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของเสือสุมาตรา


“แมทเทลผู้ผลิตบาร์บี้จะต้องหยุดใช้บรรจุภัณฑ์ที่มาจากการทำลายป่า โดยแมทเทลต้องหยุดซื้อวัสดุที่ใช้ทำหีบห่อจาก APP ซึ่งเป็นผู้ทำลายผืนป่าขนาดใหญ่ และถูกเปิดโปงหลายครั้งว่าทำลายป่าในอินโดนีเซียเพื่อนำมาทำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง


“APP คือข่าวร้ายของผืนป่าในอินโดนีเซีย APP ปฏิบัติต่ออินโดนีเซียเหมือนกับสิ่งของที่ใช้แล้วทิ้ง โดยช่วงชิงทรัพยากรป่าที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชุมชนรอบผืนป่า แมทเทลและบริษัทผลิตของเล่นอย่างเช่น ดิสนีย์ จะต้องมีความรับผิดชอบในการสนับสนุนการพัฒนาที่สะอาดและก่อให้เกิดคาร์บอนต่ำ พวกเขาควรหันหลังให้ APP และสนับสนุนผู้ผลิตในอินโดนีเซียที่มีความรับผิดชอบ”


อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีอัตราการทำลายป่าเร็วที่สุดในโลก รัฐบาลอินโดนีเซียประเมินว่าผืนป่าในอินโดนีเซียถูกทำลายมากกว่าหนึ่งล้านเฮกเตอร์ต่อปี ถึงแม้ว่ารัฐบาลได้ประกาศให้ยุติการทำลายและการแปลงผืนป่าไว้ชั่วคราว
แต่ข้อมูลได้ระบุว่านโยบายดังกล่าวไม่สามารถปกป้องผืนป่าธรรมชาติและป่าพรุ
เป็นพื้นที่รวมกัน 45 ล้านเฮกเตอร์ การประกาศยุติการทำลายป่านี้ล้มเหลวในการปกป้องผืนป่าปริมาณมหาศาลให้รรอดพ้นจากการทำลาย และยากที่จะทำให้อินโดนีเซียบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 41


“กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียออกมาตรการที่เข้มแข็งในการปกป้องผืนป่าธรรมชาติและป่าพรุที่หลงเหลืออยู่ รวมถึงป่าที่อยู่ในแปลงสัมปทาน
โดยการทบทวนสัมปทานป่าไม้ที่มีอยู่ว่าได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องภายใต้กฎหมายอินโดนีเซียหรือไม่ ปัจจุบัน ป่าไม้ ป่าพรุและสัตว์ป่าทั้งหมดในพื้นที่ต่างได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่าของบริษัทต่างๆ อย่างเช่น APP” ซูลฟามิ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านป่าไม้ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว



เอกสารเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าฝนเขตร้อนของ APP และบาร์บี้สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.greenpeace.org/app-toying-with-extinction







Free TextEditor


Create Date : 09 มิถุนายน 2554
Last Update : 9 มิถุนายน 2554 17:35:20 น. 0 comments
Counter : 1065 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com