กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
พลังงานหมุนเวียนเป็นเรื่อง "ขี้ๆ"

งานเสวนา ดมขี้ คลุกคลีกากพืชกับกฏหมายพลังงานหมุนเวียน

จากงานเสวนาที่ผ่านมา  เราคงได้เห็นกันแล้วว่าพลังงานจากแดด ลม และน้ำไม่ใช่เพียงแค่ความฝันลมๆ แล้งๆ สำหรับคนไทยแต่อย่างไร นอกจากนี้พลังงานหมุนเวียนไม่ได้มีแค่เพียงพลังงานแสงแดด พลังงานลม และพลังงานน้ำเท่านั้น แต่ยังมีอีกหนึ่งแหล่งพลังงานทางธรรมชาติที่สามารถหาได้ง่าย และทุกคนทุกครัวเรือนต้องมีกันอย่างแน่นอน คือ พลังงานก๊าซชีวภาพจากของเสียในบ้านของตนเอง

ในงานเสวนา “ดมขี้ คลุกคลีกากพืช กับ กฎหมายพลังงานหมุนเวียน” ที่จัดขึ้นโดยกรีนพีซ ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา ได้ต่อยอดถึงพลังงานชีวภาพและชีวมวลอันเป็นผลผลิตจากมูลและกากพีช หรือเศษขยะอินทรีย์ ที่สามารถประยุกต์มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ หลายคนอาจมองว่าสิ่งปฏิกูลเหล่านี้เป็นสิ่งสกปรก แล้วจะเป็นพลังงานสะอาดได้อย่างไร แต่พลังงานจากชีวภาพเหล่านี้นี่แหละที่ตัวแทนประชาชนทั้งสี่ท่านมองว่าสามารถใช้ได้จริง เป็นเรื่อง "ขี้ๆ" ที่ทุกคนสามารถทำได้ ไม่ใช่เรื่องสกปรก แต่กลับเป็นการเปลี่ยนสิ่งปฏิกูลที่มีอยู่แล้วให้กลายเป็นพลังงานที่ช่วยให้โลกสะอาดขึ้น และสามารถเปลี่ยนของเสียเป็นเงินได้อย่างไม่รู้จบ

คุณยุทธการ มากพันธุ์ เริ่มคลุกคลีกับพลังงานจาก “ขี้” กับผู้ที่คลุกคลีกับพลังงานงานหมุนเวียนมาตั้งแต่วัยเยาว์อย่างคุณยุทธการ มากพันธุ์ จากศูนย์กสิกรรมท่ามะขาม จังหวัดกาญจนบุรี โดยคุณยุทธการมองเห็นความสำคัญของการปลูกฝังการใช้พลังงานจากชุมชนเล็กๆ ด้วยการส่งเสริมชาวบ้านต่อยอดพัฒนาจากไบโอก๊าซ ก๊าซชีวมวล อาทิ เตาซุปเปอร์อั่งโล่ที่มีการพัฒนากว่าสิบปี หรือไบโอก๊าซจากฟาร์มหมูที่พัฒนามากว่า 20 ปี ให้ชาวบ้านรู้สึกใกล้ชิดกับพลังงานทดแทน ใช้ประโยชน์จากของเสียในบ้าน โดยที่อุปกรณ์มีราคาเพียงหนึ่งพันหรือสองพันบาท เมื่อมีการปลูกฝังความรู้ในการใช้พลังงานหมุนเวียนให้กับชาวบ้าน คุณยุทธการเชื่อว่า "วันหนึ่งเมื่อชาวบ้านรู้จักใช้ก๊าซภายในบ้านได้ คาดว่าอีกสิบปีชาวบ้านจะรู้จักใช้ไบโอก๊าซจนสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ ขยายเป็นหนึ่งร้อยเมกะวัตต์ หรือหนึ่งพันเมกะวัตต์ในอนาคตได้ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากในประเทศเรา เพราะปัจจุบันก๊าซหุงตุ้มเริ่มขาดแคลนแล้ว"

พ.อ.เยี่ยมชัย บุตรดาวษ์จากการที่ก๊าซหุงต้มเริ่มหาได้ยากขึ้นนี้ หน่วยงานหนึ่งที่เข้ามาปฏิวัติเรื่องพลังงานอย่างเข้มแข็ง คือ ทหาร นำโดย พ.อ. เยี่ยมชัย บุตรดาวษ์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี  เป็นตัวอย่างที่ดีในการนำองค์ความรู้ไปดำเนินการต่อ สร้างสรรค์ "ส้วมมหัศจรรย์" รวบรวมสิ่งปฏิกูลจากสุขาในศูนย์ทหารผลิตเป็นก๊าซหุงต้ม เกิดจากการที่หน่วยของค่ายมีพื้นที่ 350 ไร่ เป็นที่รองรับแหล่งขยะจากคนและครอบครัวในค่าย จนได้คุณยุทธการ มากพันธุ์ มาแนะนำเพิ่มเติม พร้อมทั้งช่วยออกแบบส้วมมหัศจรรย์นี้ โดยมีรูปแบบเป็นโรงลักษณะตัววี บ่อเกรอะที่รองรับอึจะอยู่ด้านหน้าตัวอาคารมีลักษณะเป็นโดมโค้งลึก 2 เมตร ทุกลำสายจากโถอุจจาระ 12 ห้องจะมีการเจาะท่อพุ่งตรงมายังบ่อไหลเพื่อให้อึไหลมารวมกัน ผ่านการหมักเกิดก๊าซมีเทน ก๊าซลอยเข้าสู่ถังเก็บ (พลาสติก 200 ลิตร ถัง 150 ลิตรเป็นถังคว่ำต่อท่อพ่วงกัน) จากนั้นสามารถนำก๊าซมาหุงต้มได้ สามารถใช้ได้เหมือนกับก๊าซทั่วไปไม่มีกลิ่นเหม็น โดยถังเก็บ 8 ถังสามารถหุงข้าวได้ 1 หม้อ ต้มน้ำ ทำอาหารได้ถึง 4-5 อย่าง คิดว่าสามารถปรับใช้เข้ากับโรงเรียนหรือชุมชนได้ เป็นการประหยัด ลดปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มได้ด้วย เรื่องขี้ๆ ที่ไม่สกปรกน่ารังเกียจอย่างที่คิด

คุณสมชาย นิติกาญจนาไม่ใช่เพียงแค่สิ่งปฏิกูลจากคนเท่านั้น แต่ขี้หมูเองก็สามารถเป็นพลังงานไฟฟ้าได้เช่นกัน  คุณสมชาย นิติกาญจนา เจ้าของฟาร์มหมู บริษัทเอส พี เอ็ม  จังหวัดนครปฐม ได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติเรื่องความเหม็นของขี้หมูในฟาร์มของเขา และตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างฟาร์มที่ไม่สร้างปัญหากับชุมชน แต่ก่อเกิดเป็นพลังงานหมุนเวียน สร้างเงินทุนต่อยอดยิ่งขึ้นไป สำหรับคุณสมชายแล้ว ขี้หมูเป็นเงินเป็นทอง เพราะขี้หมูมีจำนวนมาก ปริมาณขี้หมู 1 ตัว เท่ากับคน 3 คน จึงมีการให้ถ่ายลงส้วมหมู เพื่อทำเป็นบ่อไบโอก๊าซ หมักย่อยสลายด้วยสารอินทรีย์ซึ่งสามารถย่อยได้ 90% นำไปปลูกกล้วย ผักสวนครัวปลอดสารพิษ นำไปทำอาหารหมูต่อ เหลือน้ำนำไปเลี้ยงไรแดง ไรแดงเลี้ยงลูกปลา จากนั้นไปปลูกปาล์มซึ่งใช้น้ำมหาศาล นำปาล์มมาทำไบโอก๊าซต่อ สุดท้ายหากน้ำยังเหลือก็นำไปล้างคอกหมูต่อ ดังนั้นทุกอย่างในโครงการจึงไม่มีของเสียแต่เป็นการใช้พลังงานหมุนเวียน สร้างเงินได้ไร้ที่สิ้นสุด

คุณกรณ์กณิศ แสงดีอีกหนึ่งแนวคิดทางธุรกิจที่เปลี่ยนกากและของเสียเป็นพลังงานมาจากโรงงานอุตสาหกรรมที่บำบัดของเสียให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพ คือที่โรงงานกะทิ อำพลฟู๊ด  โดยคุณกรณ์กณิศ แสงดี ผู้จัดการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของอำพลฟู๊ด กล่าวว่าที่โรงงานไม่มีการปล่อยให้เกิดของเสียอย่างไร้ประโยชน์ เป็นการลดของเสียที่ต้นเหตุไม่ใช่ปลายเหตุ โดยโรงงานปฏิบัติตามแนวคิดของคุณสมชายจนสามารถผลิตไฟฟ้าทดแทนได้ถึง 6 พันครัวเรือนจากการน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนของเสียเช่นกากมะพร้าว จะนำไปบีบเพื่อผลิตน้ำมันมะพร้าวอีกครั้งหนึ่ง มีการเผาเป็นพลังงานโดยตรง ผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ส่วนกากมีการเพิ่มคุณค่าเป็นถ่าน  Activated Carbon เป็นการอาศัยเทคโนโลยีมาประยุกต์เพื่อสร้างพลังงานทดแทนอย่างเหมาะสมกับกิจการของแต่ละหน่วยงาน

จากการสร้างพลังงานหมุนเวียนในชุมชน สู่ค่ายทหารและโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เห็นได้ชัดว่าเรื่องใกล้ตัวอย่างกากของเสียจากพืช สัตว์ และของคนเองก็สามารถเเปรเปลี่ยนกลับมาเป็นพลังงานได้ ทุกอย่างเป็นเรื่องง่ายๆ "ขี้ๆ" ที่เป็นไปได้จริง ซึ่งกฎหมายพลังงานหมุนเวียนจะเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประชาชนต้องการลงทุนเพื่อการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยรัฐควรมีการให้การสนับสนุนอย่างทั่วถึงแท้จริง มีความมุ่งมั่น กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน กฎหมายพลังงานหมุนเวียนฉบับนี้จะเกิดประโยชน์จริงหากภาครัฐเดินหน้าอย่างมั่นคงยั่งยืน แต่ท้ายที่สุดแล้วต้องอาศัยการร่วมมือจากภาคประชาชนทุกคน เพราะพลังงานสกปรกส่งผลร้ายต่อคนและสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่คุณคาดคิด (สามารถติดตามได้ในบล็อกต่อไป)ในเมื่อเราเองเป็นผู้ผลิตของเสียออกมา หากเราไม่ใช่ผู้ที่ลงมือทำ แล้วใครจะเป็นคนผลิตพลังงานทดแทนให้เราใช้

ทุกเสียงของคุณมีความหมาย เพียง 55,555 พลังเสียงเท่านั้นในการผลักดันให้เกิดกฏหมายพลังงานหมุนเวียนเพื่อชาวไทยทุก คน สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่โดมกู้วิกฤตโลกร้อน หรือลงชื่อออนไลน์ที่ www.greenpeace.or.th/GoRenewable




Create Date : 16 สิงหาคม 2555
Last Update : 16 สิงหาคม 2555 10:24:34 น. 0 comments
Counter : 3462 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com