กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
กรีนพีซเชิญร่วมประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ“วิกฤตน้ำ วิกฤตชีวิต” (UPDATED VERSION)



English version is below.

กรีนพีซ องค์กรรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมรณรงค์แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยส่งภาพถ่ายเข้าประกวดภายใต้หัวข้อ "วิกฤตน้ำ วิกฤตชีวิต"



วัตถุประสงค์



1. ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหามลพิษทางน้ำที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

2. สนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดปัญหามลพิษทางน้ำและผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์

3. กระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกและรับผิดชอบต่อการก่อปัญหามลพิษทางน้ำ

4. เพื่อนำผลงานต่างๆที่ได้รับคัดเลือกไปจัดแสดง รวมถึงกิจกรรมรณรงค์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง



การประกวดภาพถ่าย



ในหัวข้อ “วิกฤตน้ำ วิกฤตชีวิต” ลักษณะของภาพถ่ายจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตปัญหาของแหล่งน้ำกินน้ำใช้หรือแหล่งน้ำธรรมชาติที่ถูกกระทำย่ำยีโดยกิจกรรมมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆที่ขาดความรับผิดชอบ จนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นภาพถ่ายที่นำเสนอยังสามารถขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ถ่ายที่ต้องการถ่ายทอดเรื่องราวในลักษณะอื่นๆ หรือนำเสนอเป็นเชิงสัญลักษณ์ที่สามารถสื่อถึงหัวข้อประกวดได้ โดยทุกเหตุการณ์ที่บันทึกภาพจะต้องเกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น



กลุ่มเป้าหมาย



1. กลุ่มช่างถ่ายภาพ

2. กลุ่มเยาวชนไทย

3. ประชาชนทั่วไป



หน่วยงานที่รับผิดชอบ



1. มูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว (กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

2. สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ภ.ท.)



ประเภทของภาพถ่าย



ภาพถ่ายฟิล์มสี-ฟิล์มขาวดำ, Digital



ผู้มีสิทธิ์ส่งภาพเข้าประกวด

ประชาชนคนไทยทั่วไปและชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทย



เงื่อนไขข้อกำหนดในการส่งภาพภาพถ่ายเข้าประกวด



1. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดสามารถถ่ายภาพโดยใช้ได้ทั้งกล้องบรรจุฟิล์มและกล้องดิจิตอล

2. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดเป็นภาพสี-ขาวดำ ขนาดของภาพ 10x12 นิ้ว บวก-ลบได้ไม่เกิน 2 นิ้ว (ภาพที่เกินกว่าขนาดที่กำหนดจะไม่ได้รับการพิจารณาตัดสิน) พร้อมทั้งส่งฟิล์มหรือ Digital File Jpeg Large ที่มีคุณสมบัติ High Resolution ไม่ต่ำกว่า dpi โดยบันทึกลงแผ่นซีดี มาพร้อมภาพถ่ายผลงานที่เข้าร่วมประกวด และฟิล์มหรือแผ่นซีดีจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรีนพีซ 300

3. ต้องเป็นภาพที่ถ่ายระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550 - 30 พฤศจิกายน 2550

4. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ห้ามตกแต่งภาพจนเกินจากความเป็นจริง

5. ส่งผลงานภาพถ่ายเข้าประกวดได้ท่านละไม่เกิน 10 ภาพ (ไม่ต้องติดการ์ดและกรอบใดๆทั้งสิ้น)

6. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ผู้ส่งจะต้องเขียนชื่อภาพ ชื่อสถานที่ในภาพ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ของผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดอย่างชัดเจนในใบสมัครที่กำหนด และผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดจะต้องเป็นผู้ถ่ายภาพที่ส่งเข้าประกวดด้วยตนเอง

7. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด กรีนพีซมีสิทธิ์คัดเลือกนำไปจัดแสดงในที่ต่างๆ และมีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานในสูจิบัตร เอกสารสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสารสนเทศทุกประเภทและกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ



หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกและตัดสินภาพถ่าย



คณะกรรมการตัดสินภาพจะพิจารณาจากคุณค่าของผลงานเป็นหลัก คณะกรรมการมีสิทธิ์กำหนดวิธีการตัดสิน การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินจะพิจารณาคัดเลือกเฉพาะผลงานที่มีคุณภาพเหมาะสมเข้าร่วมแสดง



คณะกรรมการตัดสิน



1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์

2. อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง

3. ดาว วาสิกศิริ

4. Von Hernandez (Campaign Director, Greenpeace SEA)

5. John Novis (Photo Editor, Greenpeace International)



รางวัล



รางวัลชนะเลิศ

จำนวน 1 รางวัล

เงินรางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร



รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1

จำนวน 1 รางวัล

เงินรางวัล รางวัลละ 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร



รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

จำนวน 1 รางวัล

เงินรางวัล รางวัลละ10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร



รางวัลชมเชย

จำนวน 10 รางวัล

เงินรางวัล รางวัลละ 4,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร



กำหนดการส่งผลงานภาพถ่าย



ทางไปรษณีย์หรือด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 21 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2550 (ตัดสินภาพวันที่ 7 ธันวาคม 2550)

ส่งถึง ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ

มูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว (กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

138/1 ชั้น 2 อาคารทอง ถนนสุทธิสาร

สามเสนใน พญาไท กทม. 10400

โทร. 02-357-1921 โทรสาร 02-357-1929



หมายเหตุ: วันจัดแสดงภาพและสถานที่จะแจ้งให้ทราบหลังประกาศผลตัดสิน


คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดใบสมัคร


------------

Photo Contest: “Endangered Water, Endangered Lives”



Greenpeace Southeast Asia, in collaboration with the Royal Photographic Society of Thailand under the Royal Patronage of H.M. the King, hosts a photo contest to bring people together to celebrate and protect our important freshwater sources. The theme of the photo contest is: “Endangered Water, Endangered Lives” Submission of entries: September 21 to November 31, 2007


The Photo Contest



Under the Title “Endangered Water, Endangered Lives”, the photographs must feature freshwater and freshwater sources in Thailand, taken from January 1, 2007 to November 31, 2007. Examples are lakes, rivers, streams, springs, tap water, etc. Photos should convey how freshwater is important to people / the environment (‘celebrating water’), or how clean water is being threatened by sources of pollution (‘water at threat’). Marine water (seas, oceans) are not considered.

Target Groups


1. Photographers
2. Thai Youths
3. General Public

Responsible Organizations



1. Greenpeace Southeast Asia
2. The Royal Photographic Society of Thailand Under the Royal Patronage of H.M. The King (RPST)

Photo Contest Guidelines



1. Who may join: The competition is open to all photographers, photojournalists, and photo enthusiasts who are residents of Thailand except for staff of Greenpeace Southeast Asia and relatives of up to the 1st degree of consanguinity.
1.1 Entrants under 18 years of age will be required to submit a waiver signed by the entrant’s legal guardian.
2. Theme:
- Celebrating Thailand fresh waters (rivers, lakes, aquifers, springs, and groundwater sources, etc) and looking at the threats
3. All entries should have been taken within Thailand from January 1, 2007 to November 31, 2007.
4. Entries should be taken with any camera using at least 35 mm film or a digital camera.
4.1 For digital photos, entries should be taken with at least a 3 Mega Pixel digital camera at the highest setting. Submitted entries should be in JPEG format (jpg or jpeg), 1200 pixels on the longest side, with at least 300 dpi resolution.

Entrants will be asked to submit the original file for the exhibit after the judges have made their decisions.

Emailed entries should be submitted to greenpeaceth.photocontest@gmail.com

4.1.1 The file name of the entry should follow the following format: Initials of the entrant (first name, middle name, last name) [dash] entry number depending on how many entries are being submitted [dash] date in (ddmmyy format) photo was submitted to contest [dot] jpg

For Example, photos submitted by Ply H. Pirom on September 5, 2007 should have the file names:
Php-1-050907.jpg
Php-2-050907.jpg

4.2 Print entries should be 8R in size and mailed and addressed to:

Greenpeace Project Water Photo Contest
Greenpeace Southeast Asia
138/1 2nd Floor, Thong Building, Suthisarn Road,
Samsennai, Payathai, Bangkok 10400

Not later than the date specified in item 5.

Greenpeace will not be responsible for prints damaged during postage/delivery.

4.3 There should be no markings (names, logo, or any writing) on photo entries.

5. Deadline for submission of all entries is November 31, 2007. All email entries received after midnight of September 28 and all print entries received by the Greenpeace office after 5:00pm of November 31, 2007, will not be accepted.
Greenpeace is not responsible for any postal or technical delay.

6. Only complete entries will be considered.
6.1 A complete entry for a digital photo submitted via email is as follows:
- entry form
- photo entry in the required parameters (see item 3.1)
- waiver for minors, if applicable

6.2 A complete print entry is as follows:
- entry form
- 8R print
- waiver for minors, if applicable

7. Images must not have been altered / enhanced in any way other than simple cropping. Any alteration or enhancement made (aside from cropping) would mean disqualification of the entry.

8. Photographs that include sculptures, statues, paintings, and other works of art will be accepted as long as they do not constitute copyright infringement or fraud; provided that entrants provide a release form as described below in “Releases.” When photographing the work of others, it must be as an object in its environment and not a full-frame close up of another person’s art.

9. Photographs that include other persons will be accepted, provided that entrants submit a release form as described below in “Releases.”

10. Each entrant can send as many as five (10) entries but can only win once.

11. Entries must be exclusive to this contest, unpublished, and must not have been submitted as an entry in previous contests. By entering the contest, entrant represents, acknowledges and warrants that the submitted photograph is an original work created solely by the entrant and that no other party has any right, title, claim or interest in the photograph.

12. The Board of judges will be composed of respected photo journalists, as well as Greenpeace Southeast Asia’s Campaigns Director, and Greenpeace International’s Photo Chief.

13. Criteria for judging is as follows:
Relevance to the theme- 50%
Technical Excellence-25%
Visual Impact and Creativity-25%

14. Prizes are as follows:
First prize: THB 30,000.00 with a certificate
Second prize: THB 20,000.00 with a certificate
Third prize: THB 10,000.00 with a certificate
Consolation Prizes: 10 prizes; THB 4,000 each with a certificate

14.1 Winners will be announced and prizes awarded on December 7, 2007.

14.2 Prizes not claimed within 30 days after the awarding ceremonies shall be forfeited.

15. By participating, the entrant shall grant to Greenpeace SEA Environmental Trust Inc. (Greenpeace)
- right to use the photo in all Greenpeace campaign and organizational materials (captioned (c)photographer).
- right to distribute the photo as part of Greenpeace's media releases (captioned (c)photographer/Greenpeace handout)
- both above rights for the period of three or for the duration of our water project

Entrant further grants Greenpeace the rights to use the photo beyond the period specified above in campaign and organizational materials (but not for distribution) so long as the use of the photo pertains to the water project and the caption shall additionally read "this photo was [an entry/winner] in the Greenpeace water project photo contest held in December 2007.

The rights granted to Greenpeace SEA Environmental Trust, Inc. shall also be granted to its global licensing intermediary Greenpeace International BV.

16. By joining this contest, entrants agree
(a) to be bound by these official rules
(b) that the decisions of the judges are final on all matters relating to the contest. All national and local taxes, fees and surcharges on prizes are the sole responsibility of the prize winners. In the event that the selected winner(s) of any prize are/is ineligible or refuses the prize, the prize will be forfeited and Greenpeace, in its sole discretion, may choose whether to award the prize to another winner.

17. Greenpeace reserves the right to disqualify entries, or to forfeit the prize for a winning entry, that
-have been altered/enhanced in any way other than simple cropping
-are obscene or contain objectionable content as determined by Greenpeace
-are not original
-are illegible, incomplete, damaged, irregular, altered, and/ or counterfeit
-have been produced through fraud
-have been obtained through theft
or entries whose details have been misrepresented in the entry form.

Board of Judges


1. Assistant Professor Thaworn Koudomwit
2. Dow Wasiksiri
3. Anuchai Srijaroonputhong
4. Von Hernandez (Campaign Director, Greenpeace SEA)
5. John Novis (Photo Editor, Greenpeace International)

You can download the registration form here

.




Create Date : 05 ตุลาคม 2550
Last Update : 5 ตุลาคม 2550 11:35:08 น. 0 comments
Counter : 1215 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com