กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
ยังไร้เสียงตอบรับจากรัฐบาลกรณีความไม่ชอบธรรมของโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้

Blogpost โดย รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์

จากแผนพีดีพี 2015 ที่กำหนดเป้าหมายในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น 9 โรง กำลังผลิตจำนวน 7,300 เมกะวัตต์ นำไปสู่การดึงดันผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และเทพา ท่ามกลางเสียงคัดค้านของภาคประชาชน และการที่รัฐบาลเพิกเฉยต่อเสียงร้องของประชาชนกรณีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินนี่เอง อาจเป็นชนวนที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมและความไม่ชอบธรรมทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

เครือข่ายภาคประชาชนกำลังเรียกร้องให้ภาครัฐหยุดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลา ที่แฝงไปด้วยความไม่ชอบธรรมและละเมิดสิทธิชุมชน แต่ดูเหมือนว่าขณะนี้ภาครัฐยังคงไม่รับฟังและเร่งรัดเดินหน้าโครงการท่ามกลางเสียงคัดค้านของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องร่างประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจังหวัดกระบี่ที่ถูกแปรเปลี่ยนให้เอื้อต่อการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ยังไม่ได้รับคำตอบจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการที่ เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีในประเด็นความไม่ชอบธรรมของการจัดทำรายงาน EHIA  หลังจากที่ไม่ได้รับคำตอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับใบแดงจากเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน

หลังจากเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559  เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินได้เดินทางมายังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอคืนพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมกระบี่ จากการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เพิกเฉยไม่ต่ออายุพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจังหวัดกระบี่เป็นเวลา 3 ปี และปล่อยให้กระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แก้ไขในร่างประกาศพื้นที่คุ้มครองฯ ฉบับใหม่เพื่อเอื้อต่อโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดย รมว.กระทรวงทรัพย์ฯให้คำมั่นจะให้คำตอบ"เร็วที่สุดเท่าที่มนุษย์จะทำได้" 

แต่เมื่อทางเครือข่ายกลับไปขอฟังคำตอบอีกครั้งในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ หรือ 16 วันหลังจากนั้น แต่ทางกระทรวงทรัพย์ฯ ก็ยังคงไร้คำตอบ เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินจึงมอบใบแดงเป็นเชิงสัญลักษณ์ให้ เนื่องจากได้ทำตามระเบียบขั้นตอนทั้งหมดแล้ว แต่ทางกระทรวงยังไม่มีคำตอบในสิ่งที่เป็นไป ตามเจตนารณ์และภารกิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพึงกระทำเพื่อปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

“ใจไม่เป็นธรรม” อดีตฝ่ายบริหารปตท.นั่งที่ปรึกษากรรมการไตรภาคีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่

ขณะที่ยังไร้คำตอบจากกระทรวงทรัพย์ฯ อีกด้านหนึ่งของกรรมการไตรภาคีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ ได้แต่งตั้งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมการฯ จำนวน 5 ราย โดยหนึ่งในนั้นคือ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตกรรมการประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท. ซึ่ง นายประสิทธิชัย หนูนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน กล่าวว่า หากมีการแต่งตั้งนายประเสริฐเป็นที่ปรึกษาจริง ทั้ง พล.อ.สกนธ์ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องรับผิดชอบ ปตท. เป็น 1 ใน 2 บริษัท ที่ผลิตถ่านหิน และถือเป็นการผิดข้อตกลงกรรมการไตรภาคี เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินจึงยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงพล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมในกรณีนี้

“มีแต่จิตใจที่เป็นธรรมเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาของประเทศชาติได้ จิตใจที่เอนเอียงจะนำมาสู่ปัญหาใหม่อย่างไม่รู้จักจบสิ้น กรณีกรรมการ 3 ฝ่ายหากยังมีชื่อของที่ปรึกษาซึ่งมีประวัติว่าเกี่ยวข้องกับกิจการถ่านหิน จะทำให้การทำงานหลังจากนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก และอาจก่อปัญหาใหม่มาอย่างไม่รู้จบ เราขอเรียกร้องต่อพลเอกสกนธ์ สัจจานิตย์ ว่าเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามบานปลายจงจัดการกับรายชื่อที่ปรึกษาเสียใหม่ให้สะอาดโปร่งใส มิเช่นนั้นเราจะขอเรียกร้องร้องให้กรรมการในส่วนของประชาชนจังหวัดกระบี่ยุติการปฏิบัติหน้าที่ เพราะชาวกระบี่ไม่ควรปฏิบัติงานในกรรมการชุดที่มีเจตนาอันน่าสงสัย” นายประสิทธิชัย หนูนวล กล่าว 

คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

วันนี้ 16 ก.พ.59 เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จ.สงขลาโดย "โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา" จะมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยถึง 2,200 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 3,000 ไร่ เผาไหม้ถ่านหินวันละ 23 ล้านกิโลกรัม และใช้น้ำทะเลในกระบวนการผลิตวันละ 9 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่อย่างมหาศาล ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และความมั่นคงทางเครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนและนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล จึงขอเรียกร้องให้ท่านนายกฯ ได้พิจารณาสั่งการให้หยุดกระบวนการอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาที่ฉ้อฉล ไม่มีหลักวิชาการ และไม่เป็นธรรมในทันที

Posted by Greenpeace Thailand on Monday, February 15, 2016

“ยกเลิก EHIA โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา” เสียงเรียกร้องจากเทพา

ในวันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2559) เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ ได้เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสื่อต่อนายกรัฐมนตรี หลังจากวานนนี้ได้เข้ายื่นหนังสือที่สำนักงานนโยบายและแผน (สผ.) เรื่องประเด็นความไม่ชอบธรรมของกระบวนการจัดทำเวที ค.1 ค.2 และ ค.3 โรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.เทพา จ.สงขลา และการไม่มีส่วนร่วมของคนปัตตานี ข้อเสนอให้มีการศึกษาผลกระทบในรัศมี 100 กิโลเมตร โดยมีนายพันศักดิ์ เจริญ ผอ.ส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล เป็นตัวแทนรับมอบ ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล 

โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยถึง 2,200 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 3,000 ไร่ เผาไหม้ถ่านหินวันละ 23 ล้านกิโลกรัม และใช้น้ำทะเลในกระบวนการผลิตวันละ 9 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่อย่างมหาศาล ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และความมั่นคง

ทางเครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนและนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล จึงขอเรียกร้องให้ท่านนายกฯ ได้พิจารณาสั่งการให้หยุดกระบวนการอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาที่ฉ้อฉล ไม่มีหลักวิชาการ และไม่เป็นธรรมในทันที

“1.) ได้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคมในรัศมีเพียง 5 กิโลเมตร โดยมีเจตนาที่จะไม่ทำการศึกษาเข้าไปในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ทั้งๆ ที่หมู่บ้านแรกของปัตตานีห่างจากโครงการเพียง 7 กิโลเมตรเท่านั้น อันแสดงถึงความไร้หลักวิชาการ ทั้งๆ ที่ผลกระทบนั้นไกลถึง 100 กิโลเมตร จึงควรที่จะตีกลับทั้งหมด เพื่อให้ไปทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพใหม่ให้ครอบคลุมรัศมี 100 กิโลเมตร

2.) กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งการทำ ค.1 ค.2 และ ค.3 มีความฉ้อฉล มีการซื้อเสียงด้วยการแจกสิ่งของในเวที ค.1 ไม่มีการรับฟังกลุ่มเห็นต่างในการทำเวที ค.2 และมีการใช้กำลังปิดกั้นการมีส่วนร่วมในเวที ค.3 รวมทั้งไม่มีการจัดเวทีสร้างการรับรู้ หรือการรับฟังความคิดเห็นใดๆ ในพื้นที่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แม้แต่ครั้งเดียว จึงควรที่จะให้ กฟผ.เริ่มต้นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นใหม่ทั้งหมด” เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ กล่าว

อ่านเหตุผลที่ อ.ดิเรก เหมนคร ตัวแทนเครือข่ายฯ ชี้แจงถึงการลุกขึ้นมาต่อสู้ ที่นี่

เสียงจากประชาชนเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนและยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เป็นมหันตภัยและผลักดันการลงทุนพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืนและมุ่งเน้นระบบกระจายศูนย์พลังงาน อันเป็นความมั่นคงทางพลังงานที่แท้จริง


ที่มา: www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/55568




Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2559 13:37:30 น. 0 comments
Counter : 641 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com