กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
13 สัตว์ ที่เราอาจต้องบอกลาตลอดกาลในปี 2558

ครั้งหนึ่ง เซอร์เดวิด แอทเดนเบอโรว์ นักข่าวและนักอนุรักษ์เคยตั้งคำถามเอาไว้ว่า “เราจะมีความสุขหรือ ถ้าหลาน ๆ ของเรารู้จักช้างเพียงแค่รูปในหนังสือ ?”

ปีนี้เป็นปีครบรอบ 100 ปี การจากไปของ มาร์ธา นกพิราบนักเดินทาง พันธุ์เก่าแก่ของทวีปอเมริกา มาร์ธา มีชีวิตอยู่ในสวนสัตว์ได้เพียง 14 ปี  หลังจากพี่น้องของมันที่อาศัยอยู่ในป่าเริ่มสูญพันธุ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ แรดสีขาวอายุ 44 ปีก็เพิ่งตายในสวนสัตว์ที่ซานดิเอโก  โลกของเราจึงเหลือแรดสีขาวจำนวนเพียง 5 ตัวเท่านั้น และแน่นอน ทั้งหมดไม่ได้อาศัยอยู่ในป่า มีโอกาสสูงที่ลูกหลานของเราจะไม่มีโอกาสได้เห็นสิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่งนี้อีก

ความจริงแล้ว โลกของเรากำลังจะสูญเสียพันธุ์สัตว์ จำนวนมากไปจากโลก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเป็น การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่รอบที่ 6 ในประวัติศาสตร์ ร้อยละ 30-50 ของสัตว์ทุกชนิด มีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อย ๆ และอาจสูญพันธ์ภายในอีก 50 ปี หากถามว่าเป็นความผิดใคร ก็ต้องโทษพวกเราเอง

“การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย การปล่อยมลพิษ หรือการทำประมงเกินขนาด เป็นการฆ่าสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยของมัน หรือไม่ก็เป็นการทำให้พวกมันใกล้ตาย” ดีเร็ก ทิตเทนเซอร์ นักนิเวศวิทยาทางทะเลประจำศูนย์อนุรักษ์และตรวจสอบสิ่งแวดล้อมโลก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์  กล่าว “ปัญหาดังกล่าวกำลังจะเป็นเรื่องใหญ่ของยุค เพราะสภาวะโลกร้อนยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นและเป็นสาเหตุบ่อนทำลายสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้”

ในเดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2557 องค์การสหประชาชาติได้จัดการประชุมเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนขึ้นโดยมี 190 ประเทศเข้าร่วม ณ เมืองลิมา ประเทศเปรู เพื่อหาทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีต่อไปให้มากที่สุด การประชุมจบลงด้วยข้อตกลงประเด็นการลดการปล่อยคาร์บอน แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยต่อสู้กับสภาวะโลกร้อนได้เท่าไหร่นัก

นอกจากนี้การคอร์รัปชั่นและการค้าออนไลน์แบบผิดกฎหมายยังเป็นภัยคุกคามต่อความพยายามในการอนุรักษ์สัตว์อีกด้วย  มีการประมาณมูลค่าจากอุตสาหกรรมการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายได้ประมาณ 1 หมื่นล้านดอลล่าสหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งเป็นการค้าแบบผิดกฎหมายที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 รองจากการค้ายาเสพติด เหตุเพราะความต้องการนำสัตว์ป่าไปเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ของที่ระลึก ส่วนผสมในยา หรือแม้กระทั่งอาหารและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ

ไม่ต้องสงสัยว่าเรากำลังต่อกรกับความโลภของมนุษย์ที่ไม่มีวันจบสิ้น แต่การปกป้องและอนุรักษ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้ก็เป็นการต่อสู้ที่เรายอมแพ้ไม่ได้

และสัตว์ป่าต่อไปนี้คือสัตว์ป่าที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไปในปี พ.ศ.2558

เสือดาวอามัวร์


(SEBASTIEN BOZON/AFP/Getty Images)

เสือดาวอามัวร์ถูกล่าเพราะรูปร่างที่สวยงาม ขนด่าง ซึ่งในตระกูลแมวป่านั้น เสือดาวอามัวร์เป็นสัตว์หายากมากที่สุดและใกล้สูญพันธุ์ไปจากโลกเต็มที พวกมันอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างฝั่งตะวันออกที่ไกลในรัสเซียกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ปัจจุบัน มีเสือดาวอามัวร์ประมาณ 30 ตัวหลงเหลืออยู่ในป่าแถบนั้น เพราะสัตว์ชนิดนี้กำลังเผชิญกับการรุกล้ำและถูกทำลายที่อยู่อาศัย อีกทั้งยังไม่มีอาหารมากพอ

ช้างสุมาตรา


(Wikimedia Commons)

ช้างสุมาตราคือช้างที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชีย ปัจจุบันมีช้างสุมาตราอาศัยอยู่ในป่าอยู่ประมาณ  2,400 ถึง 2,800 ตัว แต่สิ่งที่น่าตกใจคือจำนวนประชากรของช้างชนิดนี้ลดลงกว่าร้อยละ 80 ในเวลาไม่ถึง 25 ปีเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ไม่มีแหล่งที่อยู่อาศัย และความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับช้างบนเกาะสุมาตรา

อีกปัจจัยหนึ่งก็คืองาช้าง แม้ว่าช้างสุมาตราตัวผู้มีขนาดงาที่ค่อนข้างเล็ก แต่เหล่านักบุรุกยังคงลอบฆ่าสัตว์ชนิดนี้เพื่อนำงาช้างไปขายในตลาดมืด ทำการบิดเบือนอัตราส่วนเพศของช้างป่าและทำให้ในอนาคตช้างชนิดนี้ก็จะสูญพันธุ์ไป

กอริลลาตะวันตก


(GREG WOOD/AFP/Getty Images)

ถึงแม้ว่าการล่าและฆ่าสัตว์ชนิดนี้จะผิดกฎหมาย แต่เนื้อกอริลลาตะวันตกก็ยังเป็นที่ต้องการเพื่อนำไปเป็นอาหาร ดังนั้น พวกมันจึงถูกไล่ล่าต่อไปเรื่อย ๆ  ในขณะที่ลูกกอริลลาไร้แม่ก็จะถูกจับไปเป็นสัตว์เลี้ยง

นอกจากนี้ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กอริลลาตะวันตกใกล้สูญพันธุ์นั่นก็คือเชื้อไวรัสมรณะอีโบลาที่คร่าชีวิตประชากรลิงป่าเฉพาะในอุทยาน Gabon's Minkébé ก็มีกอริลลาและชิมแปนซีตายไปมากกว่า ร้อยละ90 แล้ว

เสือไซบีเรียน

(Justin Sullivan/AFP/Getty Images)

เสือไซบีเรียนก็เป็นสัตว์ชนิดเดียวกับเสืออามัวร์ แต่พวกมันมีขนาดใหญ่และเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งถูกล่าไปขายเพื่อเป็นยาแผนโบราณในประเทศจีน หรือแม้กระทั่งเป็นกีฬาการฆ่าเพื่อความสนุกสนานของมนุษย์

ส่วนการล่าสัตว์ การทำเหมืองแร่ การเผาป่า การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ได้คุณภาพและการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ก็เป็นภัยคุกคามต่อเสือไซบีเรียนอยู่ ซึ่งในปัจจุบันมีประชากรเสือไซบีเรียนอยู่ในป่าประมาณ 400-500 ตัว

กอริลลาภูเขา


(Brent Stirton/AFP/Getty Images)

กอริลลาชนิดนี้พบได้ในเทือกเขาวีรูงกา แถบชายแดนประเทศยูกันดา รวันดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและในเขตหวงห้ามของอุทยานแห่งชาติ บวินดี ปัจจุบันเหลือกอริลลาภูเขาประมาณ 880 ตัวที่ต้องดิ้นรนสู้ชีวิตและเผชิญกับภัยคุกคาม เช่น การถูกล่าโดยพราน โรคร้าย และเหมืองถ่านหิน ก็ได้ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของกอริลลา 

ลิงอุรังอุตังสุมาตรา


(Sutanta Aditya/AFP/Getty Images)

ในช่วงที่มีการเผาป่าเพื่อนำพื้นที่ไปพัฒนาเป็นสวนปาล์ม ทำให้อุรังอุตังถูกรุกล้ำแหล่งที่อยู่อาศัยอยู่บนเกาะสุมาตราและมีอัตราลดลงเป็นที่น่าตกใจ ซึ่งการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและการนำพื้นที่ป่าไปพัฒนาเป็นพื้นที่เกษตรนั้น ทำให้สัตว์สายพันธุ์นี้อยู่ในสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในขั้นวิกฤติ

นอกจากนี้ลิงอุรังอุตังยังถูกล่าเพื่อกินเนื้อ และถูกจับมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อแสดงฐานะทางสังคม อุรังอุตังกำลังเผชิญหน้าอยู่กับอัตราการลดจำนวนลงของประชากรอย่างต่อเนื่อง เพราะการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ได้ผล และการลักลอบค้าสัตว์ผิดกฎหมายที่มีมากขึ้น ขณะนี้จึงเหลือลิงอุรุงอุตังเพียง 7,300 ตัวในป่า

แต่เราสามารถร่วมกันปกป้องพวกสัตว์ป่าบนเกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของทั้งช้างสุมาตรา อุรังอุตัง เสือและสัตว์ป่าอีกหลากหลายพันธุ์ที่กำลังใกล้สูญพันธุ์ จากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย และการบุกรุกผืนป่าเพื่อทำอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มได้

แรดชวา


ขอบคุณภาพจาก wikipedia.org

สัตว์ชนิดนี้เป็นสัตว์ที่ถูกคุกคามมากที่สุดในแรดทั้ง 5 ชนิด ตลอดเวลาที่อินโดนีเซียตกเป็นอาณานิคม แรดชวาถูกฆ่าตายโดยนักล่ารางวัล และการล่าก็มีเพิ่มขึ้นขึ้นเรื่อย ๆ เพราะนอแรดนั้นมีราคาสูง เนื่องจากในสมัยนั้นนอแรดถูกเชื่อว่าเป็นวัตถุในการปรุงยารักษาตามแบบโบราณ ปัจจุบันแรดชวาเหลือเพียง 35 ตัวในอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลน ชวา ประเทศอินโดนิเซีย

แรดสายพันธุ์นี้มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์เนื่องจากภัยธรรมชาติ ถูกพรานไล่ล่า โรคร้าย และความไม่หลากหลายทางพันธุกรรม 

เต่ามะเฟือง


(Cameron Spencer/AFP/Getty Images)

เต่ามะเฟืองเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นสายพันธุ์ที่มีการอพยพมากที่สุด ประชากรของเต่ามะเฟืองลดลงจนน่าเป็นห่วงในหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากการประมงแบบทำลายล้าง การกินขยะพลาสติก การขโมยไข่ และการสูญเสียที่อยู่อาศัยเนื่องจากการขยายตัวของชายฝั่งทะเลเพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งนั่นรบกวนและทำลายสถานที่วางไข่ของเต่า

ซาวลา หรือ วัวหวูกว่าง


(World Wildlife Fund/Courtesy)

ซาวลาเป็นที่รู้จักในอีกชื่อคือ ยูนิคอร์นแห่งเอเชีย ปัจจุบันไม่มีค่อยมีใครพบมันในป่าแล้ว และก็ไม่มีสัตว์ชนิดนี้อาศัยในสวนสัตว์อีกด้วย (ภาพถ่ายซาวลาในภาพนี้นั้นเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปีที่ช่างภาพพบซาวลาและสามารถจับภาพมันได้) ประชากรซาวลาปัจจุบันน่าจะอยู่ระหว่าง 10-100 ตัว เจ้ายูนิคอร์นแห่งเอเชียนี้ถูกล่าเพื่อนำไปทำเป็นยาแผนโบราณในประเทศจีน ส่วนประเทศเวียดนามและลาวก็ชอบบริโภคซาวลาเป็นอาหาร

นอกจากนี้ มันยังสูญเสียแหล่งอยู่อาศัยและความไม่หลากหลายทางพันธุกรรม ทั้งสองสิ่งนี้ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดลงของประชากรซาวลาด้วย

วากีตา


(Wikimedia Commons)

ในฐานะที่เป็นสัตว์ทะเลที่หายากที่สุดในโลก วากีตาใกล้จะสูญพันธุ์แล้วด้วยจำนวนประชากรที่มีไม่ถึง 100 ตัวทั่วโลก

วากีตาพบได้ในบริเวณอ่าวแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ  น่าเศร้าที่วากีต้าทุก ๆ 5 ตัวจะมี 1 ตัวที่   จมน้ำตายเพราะตัวของมันพันกับอวน เพราะการใช้อวนล่าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่งซึ่งก็คือ ปลาจวดเม็กซิกัน ปลาชนิดนี้ถูกล่าอย่างผิดกฎหมายเพียงเพื่อเอากระเพาะของมันไปทำเป็นอาหารที่ขายได้ราคาสูงมาก

ตราบใดที่การค้าปลาจวดเม็กซิกันอย่างผิดกฏหมายนี้ยังดำเนินต่อไป จำนวนประชากรของวากีตาก็คงลดลงไปอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าการกระทำต่อปลาจวดเม็กซิกันจะผิดต่อกฎหมายการค้าอย่างยั่งยืนของสากลก็ตาม แต่ประชากรของวากีตาก็ยังคงลดลง

ร่วมกับเราเพื่ออนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์นี้ได้ ด้วยการยุติการประมงแบบทำลายล้างและผิดกฏหมาย เพื่อปกป้องวากีตาที่ใกล้สูญพันธุ์จากภัยคุกคาม

ลีเมอร์ไม้ไผ่

เราพบลีเมอร์ไม้ไผ่ได้ในป่าทางตะวันออกเฉียงใต้ของมาดากัสการ์ ลีเมอร์ไม้ไผ่เป็นสายพันธุ์เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ที่สุดในบรรดาพันธุ์ลีเมอร์บนมาดากัสการ์ ขณะนี้เชื่อว่ามีลีเมอร์ไม้ไผ่หลงเหลืออยู่ในป่าเพียง 60 ตัวเท่านั้น และกระจายอยู่ตามสวนสัตว์ไม่เกิน 150 ตัว

และสาเหตุที่ทำให้เจ้าลีเมอรืไม้ไผ่มีแนวโน้มที่จะหายไปจากโลกก็เพราะสภาวะโลกร้อน การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูญเสียไม้ไผ่นั้นหมายถึงความตายของสัตว์ชนิดนี้

แรดดำ

(Horst Ossinger/Getty Images)

ในยุคแห่งการล่าอาณานิคมนั้น แรดดำถูกฆ่าทุก ๆ วัน เพื่อราคาของนอ หรือถูกฆ่าเป็นอาหาร แม้กระทั่งการฆ่าเป็นกีฬาเพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งแรดสายพันธุ์นี้ได้รับการพิจารณาให้เป็นสัตว์สำคัญต่อการท่องเที่ยวของประเทศในทวีปแอฟริกาเพื่ออนุรักษ์พวกมันไว้

แต่น่าเศร้าที่แม้ว่าจะมีความพยายามอย่างยิ่งในการอนุรักษ์แรดชนิดนี้เอาไว้ แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะยังมีการรุกล้ำถิ่นที่อยู่อาศัย เนื่องจากความต้องการนอแรดเพิ่มขึ้นในตลาดมืด และการและการเปลี่ยนแปลงแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เนื่องจากปัญหาความยากจน โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย ปัจจุบันแรดดำมีประชากรอยู่เพียง 4,848 ตัวในโลก

โลมาหัวบาตรหลังเรียบ แม่น้ำแยงซีเกียง

(Wikimedia Commons)

โลมาชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ แพนด้ายักษ์แห่งลุ่มน้ำ เจ้าสิ่งมีชีวิตสุดแสนฉลาดนี้พบมากที่สุดในแม่น้ำแยงซีเกียง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย

แพราะการทำประมงเกินขนาด แหล่งอาหารที่ลดลง มลพิษและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเนื่องจากการสร้างเขื่อน  ทำให้ปัจจุบันเหลือโลมาหัวบาตรหลังเรียบอยู่เพียง 1,000-1,800 ตัว และมีแนวโน้มจะสูญพันธุ์เหมือนกับ เรื่องราวน่าเศร้าของโลมาไป๋จี้ ญาติสนิทของโลมาหัวบาตรหลังเรียบ ซึ่งถูกประกาศให้สูญพันธุ์เนื่องจากการกระทำของมนุษย์

นอกจากการล่าอย่างไม่ใส่ใจกับกฎหมายและศีลธรรมแล้ว อีกสาเหตุสำคัญที่เร่งให้สัตว์เหล่านี้สูญพันธุ์ คือ พฤติกรรมของมนุษย์ที่สร้างรอยเท้าคาร์บอนให้กับโลกของเรา นำไปสู่ความต้องการใช้ทรัพยากรของโลกอย่างเกินความจำเป็น เป็นต้นตอของการทำประมงเกินขนาด การบุกรุกผืนป่าเพื่อผลิตปาล์มน้ำมัน การสร้างมลพิษและขยะ และท้ายที่สุดคือการเสพติดพลังงานฟอสซิลที่สร้างภาวะเรือนกระจก ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศของทั่วโลก ผู้ที่ได้รับเคราะห์กรรมมากที่สุดและเห็นผลที่ชัดเจนมากที่สุดคือ สัตว์ที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง ยากแก่การปรับตัว ทำให้สัตว์ที่แสนมหัศจรรย์จะต้องสูญพันธุ์ไป

“ในความคิดผม เสือที่เด็ก ๆ อยากเห็น คือเสือซึ่งอาศัยอยู่ในป่าใหญ่ แต่ทุกวันนี้เรากลับปล่อยให้สัตว์เหล่านี้ตายไปด้วยเหตุผลที่ว่าเรากำลังยุ่งอยู่กับงานและไม่ว่างพอที่จะปกป้องพวกมัน ต่อไปลูกหลานของเราคงจะไม่เห็นมันในป่าอีกแล้ว และการอธิบายเรื่องเสือคงแย่พอ ๆ กับการที่จะต้องอธิบายเรื่องผู้พิทักษ์ฟันน้ำนมให้เด็ก ๆ ฟัง เพราะเสือได้กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง” –ไซมอน อีวานส์ นักแสดงตลกชาวอังกฤษ

ขอขอบคุณบทความโดย Hyacinth Mascarenhas จาก GlobalPost.com

Blogpost โดย Supang Chatuchinda แปลและเรียบเรียง -- กุมภาพันธ์ 9, 2558 ที่ 15:28

ที่มา : //www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/13-2558/blog/52065/




Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2558 18:10:58 น. 0 comments
Counter : 1699 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com